ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะระดับวาร์ฟารินเกินขนาด ของคลินิกวาร์ฟาริน โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์

ผู้แต่ง

  • ทิพย์สุมล รักศิลธรรม พ.บ., โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์

คำสำคัญ:

วาร์ฟาริน, ยาต้านการแข็งตัวของเลือด, ภาวะเลือดออก, ปัญหาการบำบัดทางยา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อหาความชุกและปัจจัยทางคลินิกที่ส่งผลต่อระดับยาวาร์ฟารินเกินขนาด ในคลินิกวาร์ฟาริน โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์

วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลัง โดยเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยนอก ตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2561 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ทั้งหมด 211 ราย โดยเก็บข้อมูลทั่วไป ได้แก่ อายุ เพศ ข้อบ่งชี้การใช้ยาวาร์ฟาริน ภาวะโรคร่วม ยาและอาหารที่ใช้ร่วม ปัญหาจากการบำบัดทางยา ระดับ INR ภาวะเลือดออก และความรุนแรงของภาวะเลือดออก

ผลการศึกษา: พบความชุกระดับยาวาร์ฟารินเกินระดับของการรักษาร้อยละ 45.5 ระดับ INR ที่พบบ่อยที่สุดมีค่า INR 5–9 คิดเป็นร้อยละ 23.2 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะระดับวาร์ฟารินเกินขนาดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ภาวะโลหิตจาง ประวัติเลือดออกในอดีต ปัญหาการบำบัดทางยา การเกิดอัตรกริยาของยา (NSAIDs, antibiotics, fluoroquinolone) การใช้สมุนไพร ขิง และการไม่ได้ใช้ยาตามแพทย์สั่ง ส่วนระยะเวลาของการกินยาวาร์ฟารินที่มากกว่า 36 สัปดาห์ และการได้รับยากลุ่มต้านการแข็งตัวของเกล็ดเลือด มีโอกาสเกิดระดับวาร์ฟารินเกินขนาดได้น้อยกว่าผู้ป่วยที่ไม่มีปัจจัยนี้

สรุป: ผู้ป่วยที่รับยาวาร์ฟารินภายใน 6 สัปดาห์แรก ควรมีการเฝ้าระวังในกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะซีด ประวัติเลือดออกในอดีต และติดตามอย่างเหมาะหลังปรับปริมาณยา โดยประเมินปัญหาจาการบำบัดทางยา การใช้ยาหรืออาหารที่ผลต่อการเพิ่มฤทธิ์ของวาร์ฟาริน

References

Hirsh J, Dalen J, Anderson DR, et al. Oral anticoagulants: Mechanism of action, clinical effectiveness, and Optimal Therapeutic Range. Chest 2001;119(1):8s–21s. doi: 10.1378/chest.119.1_suppl.8s.

สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. แนวทางการรักษาผู้ป่วย ด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือดชนิดรับประทาน [อินเตอร์เน็ต]. 2011 [เข้าถึงเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2566] เข้าถึงได้จาก: URL: http://www.thaiheart.org/images/column_1292154183/warfarin_Guideline%281%29.pdf

Snipelisky D, Kusumoto F. Current strategies to minimize the bleeding risk of warfarin. J Blood Med 2013;4:89–99. doi: 10.2147/JBM.S41404.

Davis NJ, Billett HH, Cohen HW, et al. Impact of adherence, knowledge, and quality of life on anticoagulation control. Ann Pharmacother 2005;39(4):632–6. doi: 10.1345/aph.1E464.

Oral A, Basci S, Kostek O, et al. Clinical characteristics and overdose risk factors of patients hospitalized due to warfarin overdose. DBU Florence Nightingale J Med 2019;5(2):63–71. doi: 10.5606/fng.btd.2019.012.

Ngamjarus C, Chongsuvivatwong V, Mcneil E. n4Studies: Sample size Calculation for an Epidemiological Study on a Smart Device. Siriraj Med J 68(3):160–170.

สาวิตรี ทองอาภรณ์. ความชุกการเกิดอาการไม่พึงประสงค์และปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะเลือดออกจากการใช้ยาวาร์ฟารินในผู้ป่วยภาคใต้ของไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญาเภสัชศาสตร์มหาบัณฑิต]. สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2555.

ธันย์ชนก ไทยชนะ, อรินทยา พรหมินธิกุล, ชิดชนก เรือนก้อน. ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะเลือดออกรุนแรงในผู้ป่วยไทยที่ได้รับยา warfarin. วารสารเภสัชกรรมไทย 2563;12(4):954–68.

DeRemer CE, McMichael B, Young HN. Warfarin patients with anemia show trend of out-of-range international normalized ratio frequency with point-of-care testing in an anticoagulation clinic. J Pharm Pract 2019;32(5):499–502. doi: 10.1177/0897190018768114.

Johannsdottir GA, Onundarson PT, Gudmundsdottir BR, et al. Screening for anemia in patients on warfarin facilitates diagnosis of gastrointestinal malignancies and pre-malignant lesions. Thromb Res 2012;130(3):e20–5. doi: 10.1016/j.thromres.2012.05.005.

Tatro DS, editors. Drug interaction facts 2007: The Authority on Drug Interactions. St. Louis: Wolters Kluwer Health; 2007.

สุวิมล ยี่ภู่. ปฏิกิริยาระหว่าง Warfarin กับผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรือสมุนไพร. ศรีนครินทรวิโรฒเภสัชสาร 2004;9(1):105–115.

เผยแพร่แล้ว

2023-09-30