ความสัมพันธ์ระหว่างระดับน้ำตาลสะสมและความรุนแรงของโรค ในผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในโรงพยาบาลนครปฐม

ผู้แต่ง

  • ศศิพิมพ์ จิระศิริรักษ์ พ.บ., โรงพยาบาลนครปฐม

คำสำคัญ:

โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, เบาหวาน, อัตราการเสียชีวิต, น้ำตาลสะสม, ระดับน้ำตาล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: ตั้งแต่ธันวาคม 2564 โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) มีการแพร่กระจายทั่วโลก โดยผู้ป่วยส่วนมากมีอาการน้อยหรือไม่มีอาการ ในขณะที่บางส่วนอาการรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิต หลายการศึกษาพบว่าการคุมน้ำตาลไม่ดีและน้ำตาลสะสมสูง มีผลต่อความรุนแรงของโรค การศึกษานี้จึงทำเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับน้ำตาลสะสมและความรุนแรงของโรค ในผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในโรงพยาบาลนครปฐม

วิธีการศึกษา: ศึกษาย้อนหลังในผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลนครปฐมด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่เป็นเบาหวาน โดยเก็บข้อมูลทั่วไป ผลเลือด เช่น ระดับน้ำตาล น้ำตาลสะสม และปัจจัยที่บ่งชี้ความรุนแรงของโรค เช่น ระดับออกซิเจนในเลือด เอกซเรย์ปอด และผลการรักษา

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยจำนวน 595 คน ที่ได้รับการรักษาในโรงพยาบาลนครปฐม ตั้งแต่พฤษภาคมถึงกันยายน 2565 พบผู้ป่วยเบาหวานเพิ่งได้รับการวินิจฉัยใหม่ร้อยละ 29.3 เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มโรครุนแรง (ผู้ป่วยที่ต้องได้รับออกซิเจน, ออกซิเจนปลายนิ้ว ≤ ร้อยละ 94, หรือการดำเนินโรคแย่ลงหรือเสียชีวิต) และกลุ่มโรคไม่รุนแรง พบว่า น้ำหนักตัวที่มากขึ้นมีความสัมพันธ์กับโรคที่รุนแรง (ค่าเฉลี่ย ± ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 69.97 ± 17.54 vs 75.06 ± 20.75; p = .03) แต่ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างระดับน้ำตาล, น้ำตาลสะสม, และดัชนีมวลกาย (BMI) กับความรุนแรงของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

สรุป: จากข้อมูลปัจจุบันเรื่องความสัมพันธ์ของระดับน้ำตาลในเลือดและความรุนแรงของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ยังมีข้อมูลที่ไม่แน่นอน เนื่องจากมีทั้งการศึกษาที่พบและไม่พบความเกี่ยวข้องระหว่างระดับน้ำตาลและความรุนแรงของโรค โดยการศึกษานี้เป็นหนึ่งในการศึกษาที่ยังไม่พบความสัมพันธ์ดังกล่าว

References

Fadini GP, Morieri ML, Longato E, et al. Prevalence and impact of diabetes among people infected with SARS-CoV-2. J Endocrinol Invest 2020;43(6): 867–9. DOI: 10.1007/s40618-020-01236-2

Vijayam B, Balaji M, Balaji T, et al. To Predict the COVID-19 Severity in Patients with Diabetes Using Hemoglobin A1C. NT J REGENR MED 2021;10(3).

Windham S, Wilson MP, Fling C, et al. Elevated glycohemoglobin is linked to critical illness in COVID-19: a retrospective analysis. Ther Adv Infect Dis 2021;8:20499361211027390. DOI: 20499361211027390.

Zhu N, Zhang D, Wang W, et al. A Novel Coronavirus from Patients with Pneumonia in China, 2019. N Engl J Med 2020;382(8):727–33. doi: 10.1056/NEJMoa2001017.

Bhimraj A, Morgan RL, Shumaker AH, et al. Infectious Diseases Society of America Guidelines on the Treatment and Management of Patients with COVID-19. Clin Infect Dis 2022;ciac724. doi: 10.1093/cid/ciac724.

Pinto LC, Bertoluci MC. Type 2 diabetes as a major risk factor for COVID-19 severity: a meta-analysis. Arch Endocrinol Metab 2020;64(3):199–200. DOI: 10.20945/2359-3997000000256

Liu Y, LU R, Wang J, et al. Diabetes, even newly defined by HbA1c testing, is associated with an increased risk of in-hospital death in adults with COVID-19. BMC Endocr Disord. 2021;21(1):56. DOI: 10.1186/s12902-021-00717-6

Simonnet A, Chetboun M, Poissy J, et al. High Prevalence of Obesity in Severe Acute Respiratory Syndrome Coronavirus-2 (SARS-CoV-2) Requiring Invasive Mechanical Ventilation. Obesity (Silver Spring) 2020;28(7):1195–9. DOI: 10.1002/oby.22831

Zhang Y, Wang J, Tan N, et al. Risk Factors in Patients with Diabetes Hospitalized for COVID-19: Findings from a Multicenter Retrospective Study. J Diabetes Res 2021;2021:3170190. doi: 10.1155/2021/3170190.

Zhou F, Yu T, Du R, et al. Clinical course and risk factors for mortality of adult inpatients with COVID-19 in Wuhan. China: a retrospective cohort study. The Lancet 2020;395(10229): 1054–1062. DOI: 10.1155/2021/3170190

Classification and Diagnosis of Diabetes: Standards of Care in Diabetes—2023. Diabetes Care 2023;46(Suppl. 1):S19–S40

The world bank. Diabetes prevalence (% of population ages 20 to 79) - Thailand. [internet]. 2021 [cited 2023 March 1]; Available from: https://data.worldbank.org/indicator/SH.STA.DIAB.ZS?end=2021&locations=TH&start=2021.

Bhatti JM, Raza SA, Shahid MO, et al. Association between glycemic control and the outcome in hospitalized patients with COVID-19. Endocrine 2022;77(2): 213–20. DOI: 10.1007/s12020-022-03078-9

Mehta PB, Kohn MA, Koliwad SK, et al. Lack of association between either outpatient or inpatient glycemic control and COVID-19 illness severity or mortality in patients with diabetes. BMJ Open Diabetes Res Care. 2021;9(1):e002203. DOI: 10.1136/bmjdrc-2021-002203

เผยแพร่แล้ว

2023-09-30