การพัฒนากระบวนการเพิ่มศักยภาพในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตจังหวัดเพชรบุรี

ผู้แต่ง

  • สำราญ เจริญผล ส.ม., สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี

คำสำคัญ:

มูลฝอยติดเชื้อ, การพัฒนากระบวนการเพิ่มศักยภาพ, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

บทคัดย่อ

            วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสภาพปัญหาในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ เพื่อพัฒนากระบวนการเพิ่มศักยภาพในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ และเพื่อศึกษาประสิทธิผลของกระบวนการเพิ่มศักยภาพในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตจังหวัดเพชรบุรี

             วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยและพัฒนา ใช้การวิจัยแบบผสานวิธีโดยใช้ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ 1) ระยะที่ 1 เป็นการวิจัยเชิงสำรวจเพื่อสำรวจสภาพปัญหา อุปสรรค และข้อจำกัดในการดำเนินงานจัดการมูลฝอยติดเชื้อโดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากบุคลากรสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 234 คน 2) ระยะที่ 2 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อพัฒนากระบวนการเพิ่มศักยภาพในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 13 คน และ 3) ระยะที่ 3 เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อน-หลัง เพื่อศึกษาประสิทธิผลของกระบวนการเพิ่มศักยภาพในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและแบบสำรวจจากบุคลากรสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 35 คน

   วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด ทดสอบสมมติฐานด้วยค่าสถิติ independent sample t test, one-way ANOVA และ paired t test กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

             ผลการศึกษา: 1) ปัญหาอุปสรรคในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 48.7 (mean = 69.23, SD = 15.37)

              2) การพัฒนากระบวนการตามรูปแบบ PROCESS เพื่อนำมาใช้เพิ่มศักยภาพในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ ได้แก่ การพัฒนากระบวนการวางแผนและการออกแบบ กระบวนการปรับปรุงแก้ไข กระบวนการปฏิบัติตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. 2545 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2564 กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กระบวนการเสริมสร้างพลังอำนาจ กระบวนการสนับสนุน และกระบวนการนิเทศติดตาม

              3) ประสิทธิผลของกระบวนการเพิ่มศักยภาพในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อหลังการพัฒนา พบว่า ความรู้เกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยติดเชื้อจากคะแนนเฉลี่ย 7.085 (SD = 1.336) เพิ่มขึ้นเป็น 10.314 (SD = 1.323) ทัศนคติต่อการจัดการมูลฝอยติดเชื้อจากคะแนนเฉลี่ย 40.114 (SD = 3.462) เพิ่มขึ้นเป็น 46.942 (SD = 2.711) ความสามารถในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อจากคะแนนเฉลี่ย 79.914 (SD = 6.079) เพิ่มขึ้นเป็น 93.257 (SD = 5.106) และผลการดำเนินงานตามข้อกำหนดในกฎกระทรวงว่าด้วยการกำจัดมูลฝอย    ติดเชื้อ พ.ศ. 2545 มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยก่อนการพัฒนามีคะแนนเฉลี่ย 16.514 (SD = 1.686) หลังการพัฒนามีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 23.171 (SD = 1.097)

              สรุป: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ควรประสานการดำเนินงานร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และโรงพยาบาลแม่ข่ายพัฒนากระบวนการเพิ่มศักยภาพบุคลากรสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถจัดการมูลฝอยติดเชื้อให้เป็นไปตามข้อกำหนดในกฎกระทรวงว่าด้วยการกำจัด   มูลฝอยติดเชื้อ พ.ศ. 2545 ได้อย่างยั่งยืน

References

กรมอนามัย. แผนขับเคลื่อนการจัดการมูลฝอยติดเชื้อระยะที่ 1: 2565 – 2570 [อินเทอร์เน็ต]. 2565

[เข้าถึงเมื่อ วันที่ 11 พฤศจิกายน 2565]; เข้าถึงได้จาก URL: https://env.anamai.moph.go.th/ th/infectious-waste

ไทยรัฐออนไลน์. “ขยะติดเชื้อ” ปัญหารอระบายยุคสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2565]; เข้าถึงได้จาก URL: https://www.thairath.co.th/ lifestyle/life/2086603

กรมอนามัย. คู่มือการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานมูลฝอยติดเชื้อ หลักสูตรการป้องกันและระงับการแพร่เชื้อหรืออันตรายที่เกิดจากมูลฝอยติดเชื้อ. กรุงเทพมหานคร: สามเจริญพาณิชย์; 2563.

Nadler L. The handbook of human resource development. Toronto: John Wiley & Sons; 1990.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี. รายงานผลการดำเนินจัดการมูลฝอยติดเชื้อของสถานบริการสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ 2565. เอกสารอัดสำเนา; 2565.

Krejcie RV, Morgan DW. Determining Sample Size for Research Activities. Educ Psychol Meas 1970;30(3):607–610.

อัจศรา ประเสริฐสิน. เครื่องมือการวิจัยทางการศึกษาและสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ; 2563.

Best JW, Kahn JV. Research in Education. 3rd ed. New Jersey: Prentice hall; 1986.

Bloom BS. Human characteristics and school learning. New York: Mc Graw - Hill; 1976.

อนุ เอี่ยมทอง, เสน่ห์ แสงเงิน. การพัฒนากระบวนการเพิ่มศักยภาพในการจัดการขยะติดเชื้อของบุคลากรสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตจังหวัดสุโขทัย. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและ การสาธารณสุขชุมชน 2562;2(2):1–14.

พันธนิต จันทา. การพัฒนาแนวทางการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก. [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. เอก การจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์. กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2560.

วิริยะภูมิ จันทร์สุภาเสน. ผลของโปรแกรมอบรม “Cleaners Safety” ต่อความรู้และพฤติกรรม ความปลอดภัยในการจัดการขยะมูลฝอยติดเชื้อในพนักงานทําความสะอาด โรงพยาบาลพะเยา. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุข และการศึกษา 2560;18(1):113–122.

ประสาท รุจิรัตน์. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการขยะติดเชื้อของบุคลากรโรงพยาบาลวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ 2561;5(2):35–52.

กัลยาณี อาษาพันธ์. การจัดการมูลฝอยติดเชื้อของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดนครพนม. [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต] บัณฑิตวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2561.

โสมศิริ เดชารัตน์ และพิริยะลักษณ์ เพชรห้วยลึก. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการจัดการมูลฝอยติดเชื้อของบุคลากรในสถานศึกษา. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 2565;16(1):127–139.

ยศวรีย์ ชัยศรี, เยาวนิจ กิตติธรกุล, ธันวดี สุขสาโรจน์. การจัดการมูลฝอยติดเชื้อในโรงพยาบาลหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช. นครศรีธรมราช: โรงพยาบาลหัวไทร; 2557.

กาญจนา โทหา. การพัฒนารูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพสวนพยอม สาขาโรงพยาบาลร้อยเอ็ด. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน 2563;2(1):42–54.

เวียงคำ แสงสุรีย์จัน. รูปแบบการบริหารจัดการขยะมูลฝอยที่มีประสิทธิผลของนครไกสอนพมวิหาน แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 2563;7(1):343–56.

ประจวบ แสงดาว, วิสาขา ภู่จินดา. การพัฒนารูปแบบการจัดการมูลฝอยติดเชื้อในชุมชน เขตสุขภาพที่ 4. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2565;9(2):193–207.

สายัณห์ แสวงสุข. รูปแบบการจัดการมูลฝอยติดเชื้อโควิดของโรงพยาบาลสนามและศูนย์พักคอยกรณีศึกษาจังหวัดสุรินทร์. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน 2565;8(3):155–71.

เผยแพร่แล้ว

2023-09-30