การพัฒนารูปแบบการจัดการสุขภาพชุมชน จังหวัดสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • วารุณี เสี่ยงบุญ พย.บ., สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร

คำสำคัญ:

การพัฒนา, รูปแบบ, การจัดการสุขภาพชุมชน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการสุขภาพชุมชน จังหวัดสมุทรสาคร

วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงปริมาณ ดำเนินการใน 290 หมู่บ้าน โดยใช้แบบประเมินหมู่บ้านจัดการสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างคือ อสม. และแกนนำ หมู่บ้านละ 8–10 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่และร้อยละ การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ใช้กระบวนการศึกษาเชิงคุณภาพในตำบลที่ไม่ผ่านเกณฑ์ตำบลจัดการสุขภาพ อำเภอละ 1 ตำบล โดยจัดประชุมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ จัดเวทีสัมมนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์และระดมสมอง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้มีบทบาทและหน้าที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสุขภาพชุมชน ตำบลละ 6–8 คน ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหาตามประเด็นที่กำหนด ศึกษาระหว่างมีนาคม ถึงพฤศจิกายน 2565

ผลการศึกษา: หมู่บ้านร้อยละ 41.03 ผ่านเกณฑ์หมู่บ้านจัดการสุขภาพโดยรวม ส่วนใหญ่ร้อยละ 98.97 ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัดหมวดที่ 3 ส่วนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ พบว่า ทุกตำบลมีการจัดการสุขภาพโดยมีการวางแผน สนับสนุนงบประมาณ ควบคุมกำกับ และติดตามประเมินผล กิจกรรมส่วนใหญ่เน้นเรื่องการควบคุมป้องกันโรค กลุ่มคน/องค์กรต่างๆ มีการประสานงานกันน้อย ต่างคนต่างทำไม่เชื่อมโยงเป็นเครือข่าย ขาดการรับรู้ถึงบทบาทหน้าที่ การมีส่วนร่วมของประชาชนยังเป็นเพียงการถูกชักชวนหรือขอร้องให้เข้ามาร่วมมือมากกว่าการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง

สรุป: รูปแบบการจัดการสุขภาพที่เอื้อต่อการบริหารจัดการสุขภาพที่เหมาะสมของจังหวัดสมุทรสาคร คือ “3 อ. (อบต., อนามัย/องค์กรภาครัฐ, และ อสม./องค์กรภาคประชาชน) ร่วมบริหารจัดการ ภายใต้แนวคิดการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา” โดยกำหนดบทบาทในลักษณะ อบต. เป็นผู้สนับสนุน อนามัยเป็นผู้ชี้แนะ อสม./องค์กรภาคประชาชน เป็นผู้ปฏิบัติ

References

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560–2564. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี; 2560.

สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. แผนกระจายอำนาจ

ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. (เอกสารอัดสำเนา); 2542.

กองสนับสนุนบริการภาคประชาชน กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานของภาคีเครือข่ายสุขภาพในชุมชน. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2550: หน้า 4.

พิสมัย จันทวิมล. นิยามศัพท์ส่งเสริมสุขภาพ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2541. กรุงเทพฯ: ดี ไซร์; 2541.

ทวีทอง หงส์วิวัฒน์. การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา. กรุงเทพฯ: ศักดิ์โสภาการพิมพ์; 2527:

หน้า 2.

สิน สื่อสวน. กระบวนการสนับสนุนการสร้างและพัฒนาเครือข่ายองค์กรชุมชน. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน; 2545: หน้า 1.

ปุสตี มอนซอน, สกรรจ์ พรหมศิริ, ญาณีกรณ์ ธรรมโชติ, และคณะ. กรอบแนวคิดในการประเมินศักยภาพเครือข่ายสังคม. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ; 2546: หน้า 2.

เสรี พงศ์พิศ. เครือข่ายชุมชนและประชาสังคม: แนวคิด ประสบการณ์ตัวอย่าง. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2545.

วิฑูรย์ อึ้งประพันธ์, อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล, นวลอนันต์ ตันติเกตุ, และคณะ. นโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2541.

เผยแพร่แล้ว

2023-09-30