การเปรียบเทียบประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยาฟีนิโทอินชนิดฉีดเข้าหลอดเลือด ระหว่างยาชื่อสามัญและยาต้นแบบ ในการรักษาและป้องกันอาการชัก
คำสำคัญ:
ประสิทธิภาพ, ความปลอดภัย, ยาฟีนิโทอิน, ยาชื่อสามัญ, ยาต้นแบบ, ป้องกันอาการชักบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการใช้ยาฟีนิโทอินทางหลอดเลือดในการควบคุมอาการชัก ระหว่างยาชื่อสามัญกับยาต้นแบบ
วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงพรรณนา โดยการสังเกตจากเหตุไปผลแบบย้อนหลัง จากเวชระเบียนผู้ป่วยใน ในผู้ป่วยอายุ 18 ปีขึ้นไป ไม่เป็นผู้ป่วยระยะวิกฤต ให้ยาฟีนิโทอินทางหลอดเลือด เก็บข้อมูลเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เป็นกลุ่มที่ได้ยาต้นแบบ ระหว่างกรกฎาคม–พฤศจิกายน 2565 และระยะที่ 2 เป็นกลุ่มที่ได้ยาชื่อสามัญ ระหว่าง มกราคม–พฤษภาคม 2566 ประเมินผลการรักษาจากการควบคุมอาการชัก และอาการไม่พึงประสงค์
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยเข้าเกณฑ์ได้รับยาต้นแบบ 84 ราย และได้รับยาชื่อสามัญ 84 ราย พบว่า ยาชื่อสามัญมีประสิทธิภาพในการควบคุมอาการชัก และป้องกันอาการชักใน post-traumatic brain injury และ post-stroke ไม่แตกต่างกับยาต้นแบบ ทั้งระยะเวลาที่ควบคุมอาการชัก จำนวนวันนอน ค่าใช้จ่ายการใช้ยาฟีนิโทอินและสภาวะผู้ป่วยเมื่อจำหน่าย แต่ยาชื่อสามัญมีแนวโน้มใช้ยากันชักเพื่อร่วมรักษามากกว่า ปัจจัยที่เพิ่มระยะเวลาการใช้ยาฟีนิโทอินและยากันชักร่วมรักษา ในกลุ่มที่ได้ยาต้นแบบ ได้แก่ ประวัติโรคลมชักเดิมและการติดเชื้อ และในกลุ่มที่ได้ยาชื่อสามัญ ได้แก่ การติดเชื้อและการไม่ได้รับยา loading dose ผลการติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาในทั้ง 2 กลุ่มไม่แตกต่างกัน
สรุป: ในผู้ป่วยที่ไม่อยู่ในระยะวิกฤต ประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยากันชักฟีนิโทอินชนิดฉีดเข้าทางหลอดเลือด ไม่แตกต่างกันระหว่างยาชื่อสามัญและยาต้นแบบ
References
Center for Drug Evaluation and Research, United States Food and Drug Administration. Draft Guidance for Industry: Bioequivalence studies with pharmacokinetic endpoints for drugs submitted under an ANDA, 2013. https://www.fda.gov/media/87219/download. Accessed December 14, 2019.
Committee for Medicinal Products for Human Use, European Medicine Agency. Guideline on the investigation of bioequivalence. CPMP/EWP/QWP/1401/98 Rev.1/Corr**,2010. https://www.ema.europa.eu/en/documents/scientific-guideline/guideline-investigation bioequivalence-rev1_en.pdf. Accessed December 10, 2019.
ASEAN Guidelines for the Conduct of Bioequivalence Studies, Revision 1, 2015. http://www.fda.moph.go.th/sites/drug/Shared%20Documents/Law04-NotificationThFDA/ASEAN-Guideline-Conduct-Bioequivalence-1.PDF. Accessed December 8, 2019.
รายการผลิตภัณฑ์ยาสามัญใหม่ที่มีความเท่าเทียมในการบําบัดรักษากับยาต้นแบบ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2552– 2558). สํานักยา สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข. 2557.
สํานักยา สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข.https://website.bdn.go.th/th/service/ detail/ nGW4ZDWewEb3QWewEb3Q
สงวนสิน รัตนเลิศ, ศักดิ์ชัย แซ่เฮ้ง, ฐากูร เอี้ยวสกุล. ระดับยาฟีไนทอย (Phenytoin) ณ 24 ชั่วโมงแรกหลังได้รับยาในผู้ป่วยบาดเจ็บที่ศีรษะ. วารสารประสาทศัลยศาสตร์. ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 มกราคม–มีนาคม 2553; 8–11.
สมศักดิ์ เทียมเก่า, พิมพร พรหมคำตัน, ศิริพร เทียมเก่า: ประสิทธิภาพการรักษาผู้ป่วยโรคลมชักด้วยยา levetiracetam ชื่อสามัญ : Thai journal of Neurology 2022;38(2):39–47.
Fisher RS, Acevedo C, Arzimanoglou A, et al. ILAE official report: a practical clinical definition of epilepsy. Epilepsia 2014;55:475–82.
ราชวิทยาลัยประสาทศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย, กรมการแพทย์, สถาบันประสาทวิทยา และคณะ. แนวทางเวชปฏิบัติกรณีสมองบาดเจ็บ (clinical practice guidelines for traumatic brain injury) พ.ศ. 2562 นนทบุรี :)
Chang BS, Lowenstein HD :Practice parameter: antiepileptic drug prophylaxis in severe traumatic brain injury: Neurology 2003;60:10–6.
Rebecca M Verellen ,Jose E Cavazos : Post- traumatic epilepsy :an overview. Therapy 2010;7(5):527–31
Chen JW, Ruff RL, Eavey R, Wasterlain CG: Posttraumatic epilepsy and treatment. J. Rehabil. Res. Dev. 2009;46(6): 685–96.
Hesdorffer DC, Benn EK, Cascino GD, Hauser WA. Is a first acute symptomatic seizure epilepsy? Mortality and risk for recurrent seizure. Epilepsia 2009; 50: 1102–8.
Connolly ES Jr, Rabinstein AA, Carhuapoma JR, et al. Guidelines for the management of aneurysmal subarachnoid hemorrhage: a guideline for healthcare professionals from the American Heart Association/American Stroke Association. Stroke 2012; 43: 1711–37.
Krittika Siritanan. Poststroke seizure and poststroke epilepsy. J Thai Stroke Soc. 2020; Vol 19 (1): 33–42.
Medicines & Healthcare products Regulatory Agency. Antiepileptic drugs: updated advice on switching between different manufacturers’ products. https://www.gov.uk/drug-safety-update/antiepileptic-drugs-updated-advice-on-switching-between-different-manufacturers-products
Aaron S, Margaret R, Ellen J, et al. Seizure Outcomes Following Use of Generic vs. Brand-Name Antiepileptic Drugs: A Systematic Review and Meta-Analysis. Drugs. 2010 Mar 26; 70(5): 605–21.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์