การทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมเพื่อศึกษาประสิทธิผลของการให้ยาเดกซาเมทาโซนทางหลอดเลือดดำก่อนการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ในการลดความปวดและอาการคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัด

ผู้แต่ง

  • เชิญพร พยอมแย้ม พ.บ., โรงพยาบาลหัวหิน

คำสำคัญ:

ความปวดหลังผ่าตัด, เดกซาเมทาโซน, ประสิทธิผล, อาการคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัด

บทคัดย่อ

          หลังการผ่าตัดต่อมไทรอยด์อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยคืออาการคลื่นไส้อาเจียนและความปวด

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้ยาเดกซาเมทาโซน 8 มิลลิกรัม ทางหลอดเลือดดำก่อนการผ่าตัดเปรียบเทียบกับยาหลอกในการลดความปวดและอาการคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัด

วิธีการศึกษา: เป็นงานวิจัยแบบการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วย 100 ราย แบ่งเป็นกลุ่มที่ได้รับยาเดกซาเมทาโซน 8 มิลลิกรัม และกลุ่มที่ได้รับยาหลอก กลุ่มละ 50 คน ประเมินความปวดด้วยมาตรวัดความปวดแบบตัวเลข และประเมินอาการคลื่นไส้อาเจียนด้วย nausea and vomiting score เมื่อแรกรับที่ห้องพักฟื้นและที่ 1 และ 8 ชั่วโมงหลังการผ่าตัด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ผลลัพธ์คือ ระดับความปวดวิเคราะห์ด้วย independent t test และ nausea and vomiting score วิเคราะห์ด้วย Fisher’s exact test

ผลการศึกษา: กลุ่มที่ได้รับยาเดกซาเมทาโซนมีระดับความปวดน้อยกว่า mean ± SD (3.45 ± 1.50 กับ 3.77 ± 1.64) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p = .04 เมื่อแรกรับที่ห้องพักฟื้น และมีจำนวนผู้ป่วยที่มีอาการคลื่นไส้อาเจียนน้อยกว่า ( ร้อยละ 1 กับ ร้อยละ 9) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p = .04 ที่ 1 ชั่วโมงหลังผ่าตัดเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก แต่ไม่มีผลลดความปวดและอาการคลื่นไส้อาเจียนที่ 8 ชั่วโมงหลังผ่าตัด

สรุป: การให้ยาเดกซาเมทาโซน 8 มิลลิกรัมทางหลอดเลือดดำก่อนการผ่าตัดต่อมไทรอยด์มีประสิทธิผลในการลดความปวดหลังผ่าตัดเมื่อแรกรับที่ห้องพักฟื้น และช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียนที่ 1 ชั่วโมงหลังผ่าตัด

References

Ahmad R, Changeez M, Tameez A, et al. Role of prophylactic dexamethasone before thyroidectomy in reducing postoperative pain, nausea and vomiting. Cureus 2019;11(5):e4735. doi: 10.7759/cureus.4735.

Shaikh SI, Nagarekha D, Hegade G, et al. Postoperative nausea and vomiting: A simple yet complex problem. Anesth Essays Res 2016;10(3):388–96. doi: 10.4103/0259-1162.179310.

Wolters Kluwer Health. Dexamethasone (systemic): dosage, mechanism/onset of action, half-life [Internet]. 2020 [cited 2022 Jun 10]; Available from: URL:

https://www.medicine.com/drug/dexamethasone-systemic/hcp.

จินต์ โสธรวิทย์. การดูแลรักษาภาวะน้ำตาลในเลือดสูงจากยากลูโคคอร์ติคอยด์. KKU Journal of medicine 2020;6(2):1–5.

De Oliveira Jr GS, Almeida MD, Benzon HT, et al. Perioperative single dose systemic dexamethasone for postoperative pain, a meta-analysis of randomized controlled trials. Anesthesiology 2011;115(3):575–88. doi: 10.1097/ALN.0b013e31822a24c2.

De Oliveira Jr GS, Castro-Alves LJS, Ahmad S, et al. Dexamethasone to prevent postoperative nausea and vomiting: an updated meta-analysis of randomized controlled trials. Anesth Analg 2013;116(1):58–74. doi: 10.1213/ANE.0b013e31826f0a0a.

Farrar JT, Young JP Jr, LaMoreaux L, et al. Clinical importance of changes in chronic pain intensity measured on an 11-point numerical pain rating scale. Pain 2001; 94(2):149–158. doi: 10.1016/S0304-3959(01)00349-9.

Anekar AA, Hendrix JM, Cascella M. WHO analgesic ladder [Internet]. 2022 [cited 2022 Jun 10]; Available from: URL: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK554435/.

Honarmand A, Safavi M, Chegeni M, et al. Prophylactic Antiemetic effects of Midazolam, Ondansetron, and their combination after middle ear surgery. J Res Pharm Pract 2016;5(1):16–21. doi: 10.4103/2279-042X.176556.

Cho YJ, Choi GJ, Ahn EJ, et al. Pharmacologic interventions for postoperative nausea and vomiting after thyroidectomy: A systematic review and network meta-analysis. PLoS One 2021;16(1):e0243865. doi.org/10.1371/journal.pone.0243865.

Tien M, Gan TJ, Dhagal I, et al. The effect of anti-emetic doses of dexamethasone on postoperative blood glucose levels in non-diabetic and diabetic patients: a prospective randomized controlled study. Anaesthesia 2016;71(9):1037–43. doi: 10.1111/anae.13544.

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30