ปัจจัยที่มีผลต่อความล่าช้าในการให้ยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลันที่มารับบริการที่โรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • พิมพ์กมล เสียงวัฒนะ พ.บ., โรงพยาบาลโพธาราม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความล่าช้าในการให้ยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลันที่โรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี

วิธีการศึกษา: การศึกษาแบบพรรณนาย้อนหลังโดยเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลันที่ได้รับการรักษาผ่านช่องทางเร่งด่วนโรคหลอดเลือดสมอง ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2557–28 กุมภาพันธ์ 2566 นำเสนอข้อมูลเป็นจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความล่าช้าในการให้ยาละลายลิ่มเลือดด้วยการวิเคราะห์ t test independent, chi-square test

ผลการศึกษา: จากผู้ป่วย 156 ราย พบว่าระยะเวลาตั้งแต่เริ่มมีอาการจนมาถึงโรงพยาบาล ระยะเวลาในการวินิจฉัย ระยะเวลาที่ปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง ระยะเวลาที่เจาะเลือด อาการปากเบี้ยว ช่วงเวลาที่เกิดโรคหลอดเลือดสมอง ระบบการนำส่งผู้ป่วย ระยะเวลาที่ตัดสินใจให้ยาและเตรียมยาละลายลิ่มเลือด ระยะเวลาที่ส่งตรวจ ระยะเวลาที่ได้ทำและอ่านผลเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง มีผลต่อความล่าช้าในการให้ยาละลายลิ่มเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ส่วนระยะเวลาออกผลเลือด อายุ เพศ ปัจจัยเสี่ยง ระดับความรุนแรงของการเจ็บป่วย และช่วงเวลาที่ผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาล ไม่มีผลต่อความล่าช้าในการให้ยาละลายลิ่มเลือด

สรุป: ปัจจัยที่มีผลต่อความล่าช้าในการให้ยาละลายลิ่มเลือดเป็นบทบาทของบุคลากรการแพทย์ในการจัดการ โรงพยาบาลควรพัฒนาช่องทางเร่งด่วนโรคหลอดเลือดสมองและประกันเวลาในทุกขั้นตอน เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับยาละลายลิ่มเลือดอย่างรวดเร็ว

References

Lees KR, Bluhmki E, von Kummer R, et al. Time to treatment with intravenous alteplase and outcome in stroke: an updated pooled analysis of ECASS, ATLANTIS, NINDS, and EPITHET trials. Lancet 2010;375(9727):1675–703. doi: 10.1016/S0140-6736(10)60491–6.

Powers WJ, Rabinstein AA, Ackerson T, et al. Guidelines for the early management of patients with acute ischemic stroke: 2019 update to the 2018 guidelines for the early management of acute ischemic stroke: a guideline for healthcare professionals from the american heart association/american stroke association. Stroke 2019;50(2):344–418. doi:10.1161/STR.0000000000000211.

Strbian D, Ringleb P, Michel P, et al. Ultra-early intravenous stroke thrombolysis: Do all patients benefit similarly?. Stroke 2013;44(10):2913–6. doi:10.1161/STROKEAHA.111.000819.

GBD 2019 Stroke Collaborators. Global, regional, and national burden if stroke and its risk factors, 1990-2019: a systemic analysis for the Global Burden of Disease Study 2019. Lancet Neurol 2021;20(10):795–820. doi:10.1136/bmj-2021-068208.

สำนักงานสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. กรมควบคุมโรค รณรงค์วันโรคหลอดเลือดสมองโลก หรือวันอัมพาตโลก 2565 เน้นสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับสัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมองให้กับประชาชน [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 11 ธันวาคม 2565]; เข้าถึงได้จาก: URL: https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/9/iid/130588.

สมศักดิ์ เทียมเก่า. สถานการณ์โรคหลอดเลือดสมอง. วารสารประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย 2564;37(4):54–60.

งานเวชระเบียนและสถิติ. รายงานสถิติประจำปี 2563. โรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี.

งานเวชระเบียนและสถิติ. รายงานสถิติประจำปี 2564. โรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี.

Lachkhem Y, Rican S, Minvielle E. Understanding delays in acute stroke care: a systemic review of reviews. Eur J Public Health. 2018;28(3):426–33. doi:10.1093/eurpub/cky066.

Kamal N, Sheng S, Xian Y, et al. Delays in door-to-needle times and their impact on treatment time and outcomes in get with the guidelines-stroke. Stroke 2017;48(4):946–54. doi:10.1161/STROKEAHA.116.015712.

Mikulik R, Kadlecova P, Czlonkowska A, et al. Factors influencing in-hospital delay in treatment with intravenous thrombolysis. Stroke. 2012;43(6):1578–83. doi:10.1161/STROKEAHA.111.644120.

โรงพยาบาลประสาทเชียงใหม่. รูปแบบที่เหมาะสมในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันก่อนถึงโรงพยาบาลเพื่อรับยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ [อินเทอร์เน็ต]. 2554 [เข้าถึงเมื่อ วันที่ 5 พฤษภาคม 2566]; เข้าถึงได้จาก: URL: https://www.cmneuro.go.th/TH/load/งานวิจัย/r57-1.pdf

Sauser K, Levine D, Nickles AV, et al. Hospital variation in thrombolysis times among patients with acute ischemic stroke: the contributions of door-to-imaging time and imaging-to-needle time. JAMA Neurol 2014;71(9):1155–61. doi: 10.1001/jamaneurol.2014.1528.

Zhou Y, Hong C, Chang J, et al. Intravenous thrombolysis for acute ischemic stroke during COVID-19 pandemic in Wuhan, China: a multicenter retrospective cohort study. J Neurol Neurosurg Psychiatry 2021;92(2):226–8. doi:10.1136/jnnp-2020-324014.

ทิพย์มาศ พบสุข. ปัจจัยที่มีผลต่อระยะเวลาการให้ยาละลายลิ่มเลือดในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลันในโรงพยาบาลชลบุรี. วารสารโรงพยาบาลชลบุรี 2563;45(3):192–8.

Huang Q, Ma Q, Feng J, et al. Factors associated with in-hospital delay in intravenous thrombolysis for acute ischemic stroke: Lessons from China. PLoS One 2015;10(11):1–9. doi:10.1371/journal.pone.0143145.

Chai E, Li C, Jiang L. Factors affecting in-hospital delay of intravenous thrombolysis for acute ischemic stroke: A retrospective cohort. Medicine (Baltimore) 2019;98(19):e15422. doi:10.1097/MD.0000000000015422.

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30