การศึกษาลักษณะทางคลินิกและปัจจัยเสี่ยง ของโรคหลอดเลือดดำาสมองอุดตัน ในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • กษิตทัช ดลประสิทธิ์ กลุ่มงานอายุรกรรม รพ.สรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี
  • อาคม อารยาวิชานนท์

คำสำคัญ:

ภาวะหลอดเลือดดำาสมองอุดตัน อาการและอาการแสดง ผลทางห้องปฏิบัติการ การรักษาโรค การติดตามผลการรักษาโรค

บทคัดย่อ

          การศึกษาแบบย้อนหลังเพื่อศึกษาอาการและอาการแสดง ปัจจัยเสี่ยงของโรค ผลทางห้องปฏิบัติการทางคลินิกและผลตำาแหน่งหลอดเลือดดำาสมองอุดตัน การรักษาและผลการรักษา และการติดตามการรักษา 6 เดือน โดยรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยในที่ได้รับการยืนยันว่าเป็นโรคหลอดเลือดสมองดำาอุดตัน จากผลเอกเรย์คอมพิวเตอร์สมองหรือเอกเรย์คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าโดยรังสีแพทย์ ในผู้ป่วยอายุมากกว่า 15 ปี เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี ระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2555 ถึง 31
ธันวาคม พ.ศ.2557 พบว่ามีผู้ป่วยที่เข้าเกณฑ์การศึกษา 48 คน เป็นชาย 22 คน หญิง 26 คน อาการสำาคัญ ที่ผู้ป่วยมาเข้ารับการรักษาคือ ปวดศรีษะ แขนขาอ่อนแรง ชัก และไม่รู้สติ ปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์ทาง คลินิกกับโรค คือ อุบัติเหตุทางศีรษะ และ mastoiditis/otitis media ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ ที่สำาคัญ พบ D-dimer สูงกว่าค่าปกติ ร้อยละ 91.6 ค่า ESR สูงกว่าค่าปกติ ร้อยละ 87.5 ภาวะ leukocytosis ร้อยละ 60 ภาวะพร่องโปรตีนซี ร้อยละ 5 และภาวะพร่องโปรตีนเอส ร้อยละ 5 ส่วนสาเหตุของการเกิดโรคนั้น
พบว่าส่วนใหญ่ไม่ทราบสาเหตุ การใช้ยาคุมกำาเนิดชนิดกิน และอุบัติเหตุที่ศรีษะ ด้านตำาแหน่งหลอดเลือด ดำอุดตันที่พบมากสุดคือ superior saggital sinus, transverse sinus, cortical vein, และ sigmoid sinus ตามลำาดับ หลังให้การรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดพบว่าอาการดีขึ้นเกือบทั้งหมด โดยมีผู้เสียชีวิต 1 ราย เมื่อติดตามหลังให้การรักษา 6 เดือน พบว่าอาการปกติ ร้อยละ 66.67 มีอาการอ่อนแรงหลงเหลือ ร้อยละ 12.5 ปวดศรีษะ ร้อยละ 16.67 ชัก ร้อยละ 2.08 และกลับมาเป็นซำ้า ร้อยละ 2.08 โดยสรุปแล้ว ภาวะหลอดเลือดดำาในสมองอุดตันพบมากในเพศหญิง วัยกลางคน และมีอาการทางคลิกนิกได้หลายอย่าง โดยมี อาการปวดศรีษะ อ่อนแรง และชัก เป็นอาการเด่น ปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะโรคที่สำาคัญ คือ อุบัติเหตุทางสมองและหูชั้นกลางอักเสบ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ตอบสนองต่อการรักษาค่อนข้างดี เมื่อสามารถให้การ วินิจฉัยโรคได้ถูกต้องและได้รับการรักษาที่เหมาะสม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-01