ลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยในที่มีโรคจิตเวชร่วมกับโรคทางกาย ที่เข้ารับบริการในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์

ผู้แต่ง

  • วิวัฒน์ สารพัฒน์ กลุ่มงานจิตเวช โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี

คำสำคัญ:

โรคจิตเวช ภาวะโรคร่วม ผู้ป่วยใน โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์

บทคัดย่อ

          การศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนาจากฐานข้อมูลของโรงพยาบาล เพื่อศึกษาลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคทางจิตเวชและมีโรคร่วมทางกายที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ โดยทบทวนข้อมูลผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ระหว่าง 1 มกราคม 2556 ถึง 30 ธันวาคม 2558 และได้รับการวินิจฉัยในใบสรุปการจำาหน่ายด้วยรหัส F ตาม ICD-10 ผลการศึกษาพบว่ามีผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคจิตเวชอยู่ทั้งหมด 2,202 คน และเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในจำานวน 3,409 ครั้ง หรือคิดเป็นร้อยละ 1.49 ของจำานวนราย ผู้ป่วยในทั้งหมด ส่วนมากเป็นเพศชาย (ร้อยละ 62.26) มีอายุระหว่าง 18-60 ปี (ร้อยละ 71.53) ความชุกของโรคที่พบบ่อยสามอันดับแรก คือ โรคในกลุ่ม Schizophrenia, schizotypal and delusional disorders (F20-F29) กลุ่ม Mental and behavioral disorders due to psychoactive substance use (F10-F19) และกลุ่ม Neurotic, stress-related and somatoform disorders (F40-F48) จำานวนวันนอนโรงพยาบาล เฉลี่ย 4.74±7.04 วัน อัตราการนอนโรงพยาบาลซำ้าในช่วงเวลาที่ศึกษาอยู่ที่ร้อยละ 13.41 และพบมากที่สุด ในกลุ่ม F20-F29 สำาหรับผู้ป่วยในที่ถูกส่งมาปรึกษาที่แผนกจิตเวชมีทั้งสิ้น 2,253 ราย แต่มีบันทึกการวินิจฉัย โรคจิตเวชในใบสรุปจำาหน่ายเพียง 571 ราย โดยแผนกที่ส่งมาขอรับการปรึกษามากที่สุด คือ แผนกอายุรกรรม โดยผู้ป่วยที่ส่งมารับการปรึกษามากสุดคือ กลุ่ม Schizophrenia, Schizotypal and Delusional Disorders ในภาพรวมแล้วผู้ป่วยกลุ่ม Schizophrenia, Schizotypal and Delusional Disorders เป็นกลุ่มโรคที่พบได้บ่อยที่สุด ทั้งจากฐานข้อมูลโรงพยาบาลและจากบันทึกของแผนกจิตเวชเอง แต่ข้อมูลทั้งสองแหล่งก็มีความแตกต่างกันมาก ซึ่งอาจเกิดจากความไม่ครบถ้วนของการสรุปเวชระเบียน และ/หรือการลงบันทึกในฐานข้อมูลโรงพยาบาล

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-02