เวชปฏิบัติด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูของบัณฑิตแพทย์ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์

ผู้แต่ง

  • วราวุธ ธีรลีกุล แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู. กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟู โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี

คำสำคัญ:

เวชศาสตร์ฟื้นฟู หลักสูตรวิชา บัณฑิตแพทย

บทคัดย่อ

          การศึกษาเชิงสำารวจภาคตัดขวางเพื่อศึกษาเวชปฏิบัติด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูและความคิดเห็นที่เกี่ยวกับการเรียนการสอนของบัณฑิตแพทย์ศูนย์แพทย์ศาสตร์ศึกษา โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ ที่จบการศึกษาในปี พ.ศ. 2553 - 2556 ซึ่งมีจำานวน 187 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามทางจดหมายระหว่างเดือนสิงหาคม 2555 ถึง มิถุนายน 2557 โดยส่งเป็นจดหมายพร้อมปิดแสตมป์ไปที่บ้าน หากไม่ตอบกลับมีการติดตามโดยใช้โทรศัพท์และส่ง แบบสอบถามซำ้าอีกครั้ง ซึ่งแบบสอบถามมีทั้งหมด 3 ส่วนใหญ่ ประกอบด้วยข้อมูลทั่วไป การทำาเวชปฏิบัติ และการจัดการเรียนการสอน โดยได้รับแบบสอบถามกลับร้อยละ 16.0 ผลการศึกษาพบว่า บัณฑิตร้อยละ 56.7 ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน วิธีทางเวชศาสตร์ฟื้นฟูที่นำาไปใช้เดือนละอย่างน้อย 1 ครั้ง มากที่สุดเรียงตามลำาดับ ได้แก่ การบริหารเพื่อป้องกันข้อยึดติด การจัดท่านอนเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ และการบริหารยืดกล้ามเนื้อหรือข้อต่อสำหรับกลุ่มผู้ป่วยที่รักษาเดือนละอย่างน้อย 1 ครั้ง มากที่สุด ได้แก่ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง/สมองบาดเจ็บจากสาเหตุอื่นๆ กลุ่มอาการปวดจากระบบกล้ามเนื้อข้อต่อ/กระดูก และผู้ป่วยกระดูกแขนขาหัก บัณฑิตร้อยละ 73.3 ต้องการให้ปรับระยะเวลาการศึกษาเวชศาสตร์ฟื้นฟูจาก 2 สัปดาห์ เป็น 4 สัปดาห์ และร้อยละ 60.0 ต้องการให้จัดการเรียนในชั้นปีที่ 5 รูปแบบการเรียนการสอนที่บัณฑิตเห็นว่ามีประโยชน์ต่อเวชปฏิบัติมากที่สุดคือ การฝึกปฏิบัติกับผู้ป่วย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-01