การประเมินผลโครงการเฝ้าระวังและส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษาภายใต้กองทุนหลักประกันสุขภาพ ตำบลสระสมิง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • วุฒิฌาน ห้วยทราย วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
  • นันทพร อุ้มรัมย์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหนองแวง อำเภอละหารทราย จังหวัดบุรีรัมย์
  • ธนวัชชีวิน พิริยรัตนชัย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลยายแย้มพัฒนา อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสุรินทร์
  • สมพร แก้วทอง วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การประเมินผล, โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ, ซิปป์ โมเดล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการเฝ้าระวังและส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษาภายใต้กองทุนหลักประกันสุขภาพ ตำบลสระสมิง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี โดยใช้รูปแบบซิปป์ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 385 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน, คุณครูอนามัย, ครูประจำชั้น, เจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลสระสมิง, เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกเซบูรณ์, นักศึกษา วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร อุบลราชธานี ปีการศึกษา 2560 และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2-6 ปีการศึกษา 2561 เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ชนิดเลือกตอบ และชนิดปลายเปิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษาพบว่า 1) ความเหมาะสมด้านสภาพแวดล้อม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ความเหมาะสมด้านปัจจัยนำเข้าอยู่ในระดับมาก 3) ความเหมาะสมด้านกระบวนการ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง 4) ผลการประเมินด้านผลผลิตของโครงการ เมื่อเปรียบเทียบก่อนดำเนินโครงการ และหลังดำเนินโครงการ พบว่า นักเรียนมีความรู้ระดับสูง เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.19 มีทัศนคติในระดับสูงเพิ่มขึ้นร้อยละ 53.48 และมีการปฏิบัติในระดับสูง เพิ่มขึ้น ร้อยละ 14.88 ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความพึงพอใจด้านสภาพแวดล้อมในระดับมาก ร้อยละ 70.37 ปัจจัยนำเข้าระดับมาก ร้อยละ 71.29 กระบวนการระดับมาก ร้อยละ 63.89 และผลผลิตระดับมาก ร้อยละ 68.52 ความพึงพอใจโดยรวมระดับมาก ร้อยละ 79.63

ข้อเสนอแนะ ควรมีการวิจัยเชิงสำรวจ เปรียบเทียบสภาวะโรคในช่องปากก่อนและหลังดำเนินโครงการฯและควรดำเนินการวิจัยในต้นปีการศึกษาของนักเรียนให้สอดคล้องกับเวลาเรียนของนักเรียน รวมทั้งการมีส่วนร่วมในการติมตามผลของทุกภาคส่วน

References

ทาริกา ประเสริฐสันเทียะ. (2556). การประเมินโครงการส่งเสริมและป้องกันโรคด้านทันตกรรมสำหรับเด็กภายใต้โครงการหลักประกัน

สุขภาพถ้วนหน้า ยิ้มสดใส เด็กไทยฟันดี ในเขตอำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา. นครราชสีมา : มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา.

ภาควิชาทันตสาธารณสุข. (2560). รายงานโครงการประถมวัยในเขตสระสมิงสุขภาพฟันดีด้วยทันตกรรมป้องกัน.วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี, สาขาวิชาทันตสาธารณสุข. อุบลราชธานี: ณัฐธิดา ประเสริฐรัมย์ และคณะ.

มารุต ภู่เพนียด และสุวิทย์ คุณาวิศรุต. (2562). ปัจจัยทางสังคมและพฤติกรรมที่มีความสัมพันธ์กับสภาวะ สุขภาพช่องปากของเด็กวัย เรียน. Ratchaphruek Journal, 17(3), 75-82.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2545). สถิติและระเบียบวิธีวิจัยในงานสาธารณสุข. (พรรณราย อมรพินิจ, บ.ก.) นนทบุรี: โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วัลธินี ปิงแก้ว. (2549). สภาวะฟันผุและพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพโดยผู้ปกครองเด็กอายุ 2 – 5ปีอำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง.

วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตสาขาสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สำนักทันตสาธาณสุข กรมอนามัย. (2561). สถานการณ์วัยเรียน. แนวทางการดำเนินงาน ทันต สาธารณสุขประจำปี 2561, 10.

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย. (2560). คู่มือการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพละปัจจัยเสี่ยง. ปทุมธานี: ห้างหุ้นส่วน จำกัด มโนพลัส.

Best, J. W. (2013). Research in education (Vol. 2). Englewood Cliffs,New Jersey : Prentice Hall, Inc.

World Health Organization. (1986). The Ottawa Charter for. Copenhagen: WHO Regional

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-14