ประสิทธิผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
โปรแกรมทันตสุขศึกษา, พฤติกรรมการป้องกันโรคฟันผุ, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านบทคัดย่อ
การวิจัยแบบกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาต่อพฤติกรรมการป้องกันฟันผุของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 45 คน เลือกแบบแบบเฉพาะเจาะจงจากอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลเมืองศรีไค อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มควบคุมจำนวน 45 คน จากอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลห้วยขยุง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เครื่องมือที่ใช้ คือ โปรแกรมทันตสุขศึกษา 4 กิจกรรม เก็บข้อมูลด้วยแบบทดสอบความรู้ ทัศนคติ การดูแลสุขภาพช่องปากและแบบบันทึกคราบจุลินทรีย์ เครื่องมือวิเคราะห์ความตรงเชิงเนื้อหา ค่า IOC = 0.70 ค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบความรู้ KR - 20 เท่ากับ 0.70 แบบสอบถามทัศนคติและพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก หาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ 0.70 และ 0.73 ตามลำดับวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Paired t – testและ Independent t-test
ผลการศึกษาหลังจากได้รับโปรแกรมทันตสุขศึกษา กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมด้านการดูแลสุขภาพช่องปากสูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คะแนนเฉลี่ยค่าดัชนีคราบจุลินทรีย์ลดลงกว่าก่อนการทดลองและลดลงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โปรแกรมทันตสุขศึกษานี้มีประสิทธิผลต่อพฤติกรรมการป้องกันฟันผุของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน สามารถนำไปส่งเสริมพัฒนาด้านความรู้ ปรับเปลี่ยนทัศนคติและปรับพฤติกรรมด้านการดูแลสุขภาพช่องปากเพื่อป้องกันโรคฟันผุให้กับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านได้
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2555). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยExcel. พิมพ์ครั้งที่ 4 กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จุมพล แสงเพชร และคณะ. (2559). ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาแบบประยุกต์ต่อพฤติกรรมการป้องกันฟันผุของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนประชารัฐสามัคคี (ธนาคารกรุงเทพ 13) จังหวัดอุบลราชธานี.
แจ่มนภา ไขคำและคณะ. (2561). ปัจจัยทีมีความสัมพันธ์กับบทบาทของอสม.ในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ต.ธาตุ อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี. วารสารวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 61
ชาลินี พสุนนท์ และคณะ. (2561). ความรู้ เจตคติ พฤติกรรมในการดูแลสุขภาพช่องปากและสภาวะโรคฟันของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี.
พรพรรธน์ มันตะสูตร.(2562).คู่มือและแบบประเมินทักษะการทำหัตถการ วิชาทันตกรรมคลินิกผสมผสาน 2. เอกสารประกอบการสอน วิชาทันตกรรมคลินิกผสมผสาน.
วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2551). วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพ:สุวิริยาสาส์น.
ศตวรรษ ศรีสมบัติ. (2559). ผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาเพื่อแก้ปัญหาทันตสาธารณสุขในชุมชนของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลโพธิ์ใหญ่ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของ ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สิทธิพร เกษจ้อย. (2560). บทบาทการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)โรงพยาบาลส่งเสริมตำบลโนนท่อน อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม. 4(1) ม.ค.-มิ.ย. 2560.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา (Thai Journal of Public Health and Health Education) เป็นลิขสิทธิ์ของ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี