การประเมินการดำเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ กรณีศึกษาอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • นัจรินทร์ เนืองเฉลิม วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
  • ภคิน ไชยช่วย วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
  • กันติยา ศรีนิล วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
  • กุลจิรา สิงห์ขิต วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การประเมินการดำเนินงาน, คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การดำเนินงานและประเมินการดำเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่าง 192 คน สุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 3 ส่วน ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามระดับความคิดเห็นของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ 2) แบบสอบถามระดับความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอและอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านต่อ การดําเนินงานของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ และ 3) แบบสอบถามระดับความคิดเห็นของประชาชนต่อคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติการพรรณนา ประกอบด้วย แจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการศึกษา พบว่า พบว่า มีการแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ จำนวน 21 คนประกอบด้วย ภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนโดยมีเป้าหมายเพิ่มคุณภาพชีวิตในเรื่องการดูแล เพื่อการบรรลุเป้าหมายสุขภาวะและคุณภาพชีวิต การประเมินโดยใช้ CIPP model พบว่าระดับความคิดเห็นของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอ และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (mean 3.73, SD = 0.90) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านบริบทมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (mean = 3.95, SD = 0.73) ด้านปัจจัยนำเข้ามีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (mean = 3.60, SD = 0.79) ด้านกระบวนการมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (mean = 3.79, SD = 0.82) ด้านผลผลิตมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (mean = 3.92, SD = 1.25)

References

กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ ๒๐ ปี ด้านสาธารณสุข. (ออนไลน์) 2560 (อ้างเมื่อ 20 มกราคม 2561). จาก

https://waa.inter.nstda.or.th

กิตติ ประพิศไพศาล. การศึกษาคุณภาพชีวิตของกำลังพลนายทหารชั้นประทวน กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์จังหวัดปราจีนบุรี.

ปัญหาพิเศษรัฐประศาสนศาสตร มหาบัณฑิต. สาขาวิชานโยบายสาธารณะ. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยบูรพา. 2550.

พวงทอง ไกรพิบูลย์.ความหมายของคุณภาพชีวิต. (ออนไลน์) 2560. (อ้างเมื่อ 9 สิงหาคม 2561). จาก

www2.tsu.ac.th/org/lic/uploads/images/life.docx.

โสภณ เมฆธน. กระทรวงสาธารณสุขพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอร่วมกับคลินิกหมอครอบครัว และรพ.สต.ติดดาว. (ออนไลน์) 2560.

(อ้างเมื่อ 20 มกราคม 2561) จาก https://www.hfocus.org.

สำนักงานบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย. คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ. (ออนไลน์) 2559. (อ้างเมื่อ 20

มกราคม 2561) จากhttp://thlp.ops.moph.go.th/dhbinformation.php.

สำนักงานบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพ. เอกสารประกอบการอธิบาย (ร่าง) ระเบียบสำนักงานนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการพัฒนา

คุณภาพชีวิตระดับอำเภอ พ.ศ. 2560. สำนักพิมพ์ : บริษัท เดอะกราฟิโกซิสเต็มส์ จำกัด. 2560.

Cambel. ความหมายของคุณภาพชีวิต. (ออนไลน์) 2017. (อ้างเมื่อ 9 สิงหาคม 2561) จาก

www.tsu.ac.th/org/lic/uploads/images/life.docx.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-08