รูปแบบการส่งเสริมสุขภาพในการป้องกันปัญหาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในชุมชน

ผู้แต่ง

  • นรินทิพย์ ฤทธิ์ฐิติ โรงพยาบาลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย

คำสำคัญ:

การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ, ปัญหาสุขภาพจิต, ภาวะสมองเสื่อม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research design) ศึกษาแบบสองกลุ่มวัดซ้ำในระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลองและติดตามผล 3 เดือน (Two group pre-post tests and follow-up design) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพในการป้องกันปัญหาสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในชุมชน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60-80 ปี คัดเลือกตามเกณฑ์กำหนด จำนวน 24 คน เป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 12 คน  กลุ่มทดลองได้รับกิจกรรมตามรูปแบบที่กำหนด จำนวน 7 ครั้ง ในระยะเวลา 12 สัปดาห์  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามเกี่ยวกับการมองเห็นคุณค่าในตนเอง แบบประเมินความเครียด (ST-5) แบบประเมินสุขภาพจิต (T-GMHA-15) แบบทดสอบสภาพสมองเบื้องต้นฉบับภาษาไทย (MMSE-T 2002) และรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired sample’s t-test และ Independent t-test

ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุภายในกลุ่มทดลองหลังเข้าร่วมกิจกรรม มีระดับการมองคุณค่าในตนเองสูงขึ้น มีความเคียดลดลง  สุขภาพจิตดีขึ้นและสภาพสมองเบื้องต้นดีกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ.05 และเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยคะแนนของการมองเห็นคุณค่าในตนเอง ความเครียด สุขภาพจิตและสภาพสมองเบื้องของผู้สูงอายุระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<.05) สรุปว่า โดยเนื้อหาและวิธีการนำมาใช้ของกิจกรรมทั้ง 12 สัปดาห์ที่จัดขึ้นนั้นมีความเหมาะสมกับผู้สูงอายุในชุมชนของพื้นที่ เมื่อนำกิจกรรมมาใช้แล้วสามารถช่วยเสริมสร้างให้ผู้สูงอายุรับรู้ถึงคุณค่าในตนเอง มีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น และกระตุ้นความจำให้มีมากขึ้น สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงซึ่งก่อให้เกิดผลในการป้องกันปัญหาสุขภาพจิต รวมทั้งช่วยในการป้องกันภาวะสมองเสื่อมของผู้สูงอายุได้ดียิ่งขึ้น

References

กรัยรัชช์ นาคขำ. (2560). ผลของโปรแกรมการสร้างพลังอำนาจ และการออกกำลังกายแบบแรงต้านต่อภาวะเปราะบางของผู้สูงอายุใน

ชุมชน (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2562). มาตรการขับเคลื่อนระเบียบวาระแห่งชาติ เรื่อง

สังคมสูงอายุ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บริษัทอัมรินทร์พรินติ้งแอนพับลิชชิ่งจำกัด (มหาชน).

กรมสุขภาพจิต. (2558). คู่มือความสุข 5 มิติสำหรับผู้สูงอายุ (ฉบับปรับปรุง) (พิมพ์ครั้งที่ 6). นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์

การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กรมสุขภาพจิต. (2559). แผนยุทธศาสตร์กรมสุขภาพจิตในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับ 12 (พ.ศ. 2560-2564).

กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข.

กรมสุขภาพจิต. (2563). ก้าวย่างของประเทศไทย สู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์แบบ. สืบค้น 12 มกราคม 2563,

จาก https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30476

เกรียงศักดิ์ ธรรมอภิพล และคณะ. (2557). การวิจัยอย่างมีส่วนร่วมในการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้สูงอายุแบบองค์รวม. นนทบุรี:

กระทรวงสาธารณสุข.

จิตติยา สมบัติบูรณ์ และคณะ. (2562).ความสุขของผู้สูงอายุไทยในยุค Thailand 4.0.วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี

,30(2), 222-223.

ชนันท์วัลย์ วุฒิธนโภคิน, ปาริชาติ อ้นองอาจ, และพนิดา ไชยมิ่ง. (2563). ผลการฝึก Brain Gym ต่อการทรงตัวการประสานสัมพันธ์

การรับรู้และคุณภาพชีวิตในผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม. วารสารมหาวิทยาลัย คริสเตียน, 26(1), 70-73.

ชลธิชา จันทคีรี. (2559). การส่งเสริมพฤติกรรมการออกกำลังกายในผู้สูงอายุที่เปราะบาง.วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัย

บูรพา, 24(2), 11-12.

ธัญญ์นรี วรางค์จารุรัตน์. (2559). ผลของศิลปะบำบัดต่อศักยภาพสมอง ด้านกระบวนการทาสติปัญญาในผู้สูงอายุ (วิทยาศาสตร์มหา

บัณฑิต ). เชียงราย: มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.

นริสา วงศ์พนารักษ์ และสายสมร เฉลยกิตติ. (2557). ภาวะซึมเศร้า : ปัญหาสุขภาพจิตสำคัญในผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลทหารบก,

(3), 25-26.

นวรัตน์ ไวชมภู, รัตติภรณ์ บุญทัศน์ และ นภชา สิงห์วีรธรรม. (2562). การส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุตามหลัก 3 อ. วารสารเครือข่าย

วิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 6(2), 265-266.

ประภาส อุครานันท์. (2558). การพัฒนาและทดสอบแบบประเมินสุขภาพจิตผู้สูงอาย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย,

(1), 35-48.

พรรณี ภาณุวัฒน์สุข, นันท์นภัส ประสานทอง. (2558). คู่มือวิทยากรในการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตผู้

สูงอายุในสถานบริการสุขภาพ. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

วาสนา วรรณเกษมและรังสิมันต์ สุนทรไชยา. (2554). ผลของโปรแกรมการพยาบาลที่เน้นการปรับตัวและการระลึกถึงความหลังต่อ

อาการซึมเศร้าของผู้ป่วยสูงที่เป็นโรคซึมเศร้า. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 25(3), 82-96.

ศิริกุล การุณเจริญพาณิชย์. (2558). ผู้สูงอายุด้วยภาวะสมองเสื่อมและการพยาบาล: บทบาทที่ท้าทายสำหรับพยาบาล.วารสาร

พยาบาลกระทรวงสาธารณสุข ,26(2), 99-110.

สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. (2547). การดูแลรักษาโรคผู้สูงอายุด้วยการแพทย์ทางเลือกสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และ

สาธารณสุข. นนทบุรี: กรมการแพทย์.

สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. (2551). การประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ เรื่องการเปรียบเทียบความสัมพันธ์แบบทดสอบสภาพสมอง

เสื่อมเบื้องต้น ฉบับภาษาไทย (MMSE-Thai2002) และแบบทดสอบสมรรถภาพสมองไทย ในการคัดกรองผู้สูงอายุภาวะ

สมองเสื่อม. กรุงเทพฯ: บริษัทซีจีทูล จำกัด.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2560). เทคนิคการจัดการอารมณ์และความคิด. สืบค้น 8 มีนาคม 2563, จาก

https://www.thaihealth.or.th/Conte.html)

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2561). เรียนรู้และเข้าใจวันสูงอายุ (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: บริษัทยืนยงการพิมพ์

จำกัด.

สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2560). เอกสารประกอบพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการบูรณการความร่วมมือการ

พัฒนาคนตลอดช่วงชีวิต (กลุ่มเด็กและผู้สูงอายุ) . สืบค้น 23 มกราคม 2563, จาก

http://bps.moph.go.th/new_bps/node/183

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2561). สังคมผู้สูงอายุกับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ. สืบค้น 23 มกราคม 2563, จาก

https://library2.parliament.go.th/ejournal/content_af/2561/jul2561-1.pdf

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย. (2563). รายงานประจำปีงบประมาณ 2562. สืบค้น 2 กุมภาพันธ์ 2563,

จาก http://wwwnko2.moph.go.th/plan/index.php?plan=w5-year report

สำนักพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ. (2562). สุขภาพคนไทย 2562 : สื่อสังคม สื่อสองคม สุขภาวะคนไทยในโลกโซเชียล (พิมพ์

ครั้งที่ 1). นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

อรวรรณ ศิลปกิจ. (2551). แบบวัดความเครียดฉบับศรีธัญญา. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 16(3),177-185.

Belkofer, C. M. & Konopka, L. M. (2008). Conducting Art Therapy Research Using Quantitative EEG Measures. Art

Therapy. Journal of the American Art Therapy Association, 25(2), 56-63.

Fagundes, T. A., Danielle, A. G. P., Kátia, M. P., Bueno, & Assis, M. G. (2017). Functional disability in elderly with

dementia. Cadernos de Terapia Occupational, 25(1), 159-169. doi: 10.4322/0104-4931. ctoAO0818

Lawrence C.Katz. & Manning Rubin (1999) Keep Your Brain Alive, Workman Publishing Company, New York.

Randall, W. Aging, irony, and wisdom. (2013). On the narrative psychology of late life Theory &Psychology, 23(2),

-183.

Spector, A. (2003). Efficacy of an evidence-based cognitive stimulation therapy Programmer for People with

dementia: Randomize controlled trial. The British Journal of Psychiatry, 18(3),248-254.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-08