การพัฒนารูปแบบการให้คำปรึกษาครอบครัวที่มีต่อความคิดฆ่าตัวตาย ของผู้ที่พยายามฆ่าตัวตาย

ผู้แต่ง

  • อนงค์ อรุณรุ่ง โรงพยาบาลลาดบัวหลวง

คำสำคัญ:

ความคิดฆ่าตัวตาย, ผู้ที่พยายามฆ่าตัวตาย, การให้คำปรึกษาครอบครัว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (quasi-experimental research) แบบ static group comparison design มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการให้คำปรึกษาครอบครัวที่มีต่อความคิดฆ่าตัวตายของผู้ที่พยายามฆ่าตัวตาย ประชากร คือ ผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายที่มีอายุ 15-60 ปีที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลลาดบัวหลวง 65 ครอบครัว กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีสุ่มแบบง่าย จำนวน 40 ครอบครัว แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 20 คน กลุ่มควบคุม จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แบบสอบถามรูปแบบการฆ่าตัวของผู้ที่พยายามฆ่าตัวตาย จำนวน 9 ข้อ ค่า IOC เท่ากับ 1.00 2) แบบประเมิน Beck Scale for Suicidal Ideation จำนวน 19 ข้อ ค่า IOC เท่ากับ 1.00    ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ 1) ค่าเฉลี่ย ร้อยละ 2) สถิติทดสอบที Paired t-test และ Independent t-test

               ผลการวิจัยพบว่า

  1. รูปแบบการฆ่าตัวของผู้ที่พยายามฆ่าตัวตาย ส่วนใหญ่ใช้วิธีการรับประทานยาเกินขนาด รองลงมาคือ ผูกคอและรูปแบบการฆ่าตัวตายน้อยที่สุดคือ รับประทานยากำจัดแมลง
  2. คะแนนเฉลี่ยความคิดฆ่าตัวตายของผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายก่อนการทดลองของกลุ่มทดลอง เท่ากับ 0.98  และหลังการทดลองของกลุ่มทดลองเท่ากับ 0.70 และคะแนนเฉลี่ยความคิดฆ่าตัวตายของผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายก่อนการทดลองของกลุ่มควบคุม เท่ากับ 0.92 และหลังการทดลองของกลุ่มควบคุมเท่ากับ 0.94  
  3. คะแนนเฉลี่ยความคิดฆ่าตัวตายในผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จะเห็นได้ว่ากลุ่มทดลองที่ได้รับการให้คำปรึกษาครอบครัวมีความคิดฆ่าตัวตายของผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายจะลดลงภายหลังได้รับการให้คำปรึกษาครอบครัว

References

กรรณิการ์ ผ่องโต, อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย. (2559). การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กาญจนา ไชยพันธ์. (2558). การให้คำปรึกษากลุ่ม. กรุเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

กรมสุขภาพจิต. (2662). คู่มือการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการฆ่าตัวตาย. นนทบุรี : กระทรวงสาธารณสุข.

โรงพยาบาลลาดบัวหลวง. (2562). รายงานประจำปี 2562. พระนครศรีอยุธยา: โรงพยาบาลลาดบัวหลวง.

เพ็ญนภา กุลนภาดล. (2559). การศึกษาและพัฒนาการปฎิบัติหน้าที่ของสมาชิกครอบครัวของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าการศึกษาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศุภรัตน์ เอกอัศวิน. การนำเทคโนโลยีการป้องกันและช่วยเหลือพฤติกรรมฆ่าตัวตายลงใช้ในชุมชน.วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 11(8), 55-68.

Beck, A.T. (2016). Scale for suicidal ideation: Psychometric properties of self-report version. Journal of clinical Psychol, 44(2), 499–505.

Bruno, F.J. (2019). Prevention of AIDS and HIV infection: Needs and priority for epidemiology research. American Journal of public Health, 7(9), 381-386.

Carlson, D.A. (2019). Recited Classification for HIV infection MMWR. New York : Mc Grew Hill.

Levin, R.S, (2018). Stress Appraisal and Coping. New York : Springer Publishing Company.

Tashman. (2019). HIV/AIDS Counseling and Testing. Genevar: Joint United Nation.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-14