ผลของการให้ความรู้ด้านคุ้มครองผู้บริโภคโดยใช้หอกระจายข่าวหมู่บ้านในเขตพื้นที่อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร

ผู้แต่ง

  • ชาญชัย บุญเชิด กลุ่มงานเภสัชกรรมและคุ้มครองผู้บริโภค โรงพยาบาลกุดชุม อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร
  • โสธรา อนุกูลประชา กลุ่มงานเภสัชกรรมและคุ้มครองผู้บริโภค โรงพยาบาลไทยเจริญ อำเภอไทยเจริญ จังหวัดยโสธร

คำสำคัญ:

หอกระจายข่าวชุมชน, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, คุ้มครองผู้บริโภคและผลิตภัณฑ์สุขภาพ

บทคัดย่อ

หอกระจายข่าวชุมชน เป็นสิ่งที่ชุมชนมีอยู่แล้วในทุกชุมชน แต่ยังขาดชุดความรู้และการนำเสนอเพื่อให้เกิดชุมชนเข้มแข็ง ต่อเนื่อง ยั่งยืน ยิ่งในด้านสุขภาพและการคุ้มครองผู้บริโภคแล้ว มีการให้ความรู้ผ่านสื่อหอกระจายข่าวน้อยมาก วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อประเมินความรู้ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม) ในด้านคุ้มครองผู้บริโภค 5 ด้าน คือ 1) ยาชุดสุดอันตราย 2) เครื่องสำอางไม่ปลอดภัย 3) การใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล 4) อาหารปลอดภัย 5) สารเคมีกำจัดศัตรูพืช หลังรับความรู้ผ่านหอกระจายข่าวและเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลของอสม.และความรู้หลังจากได้รับความรู้ผ่านหอกระจายข่าว รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) กลุ่มตัวอย่างเป็น อสม.จำนวน 77 คน สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ใน 5 ตำบล อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติ pair t-test และ One way ANOVA ผลการศึกษา พบว่า ความรู้ในภาพรวมราย ค่าเฉลี่ยของคะแนนหลังการให้ความรู้ผ่านหอกระจายข่าวชุมชน (gif.latex?\bar{x}= 3.63, S.D. = 1.05) สูงกว่า ก่อนการให้ความรู้ผ่านหอกระจายข่าวชุมชน (gif.latex?\bar{x}= 2.90, S.D. = 1.05) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล หลังให้ความรู้ผ่านหอกระจายข่าว พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ระดับการศึกษาต่างกัน มีระดับความรู้ในด้านเครื่องสำอางและด้านสารเคมีกำจัดศัตรูพืชหลังจากให้ความรู้ผ่านหอกระจายข่าวแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนรายได้ของกลุ่มตัวอย่างที่ต่างกัน มีระดับความรู้ด้านเครื่องสำอาง สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและการใช้ยาอย่างสมเหตุผลที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สรุป การให้ความรู้โดยใช้หอกระจายข่าวชุมชน เป็นเทคโนโลยีด้านเสียงที่มีประสิทธิภาพ ทำให้อสม.มีความรู้ด้านคุ้มครองผู้บริโภคและผลิตภัณฑ์สุขภาพเพิ่มขึ้น

 

References

กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สสจ.ยโสธร. (2559). รายงานสอบสวนโรค.สืบค้นจากเว็บไซต์กลุ่มงานควบคุมโรคติดต่อ สสจ.ยโสธร.

สืบค้นเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2561, จาก http://203.157.181.13/cdyaso.

จิตติพัฒน์ สืบสิมมา, ทัศนีย์ ศิลาวรรณและณิชชาภัทร ขันสาคร . (2560). พฤติกรรมการใช้และการป้องกันตนเองจากสารเคมีกำจัดศัตรู

พืช และผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตรกร เพาะปลูกพริกผู้ฉีดพ่นสารเคมีกำจัดศัตรูพืช: กรณีศึกษา ตำบลสวนกล้วย อำเภอ

กันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารพิษวิทยาไทย.; 32(1) : 9-25

ชะอรสิน สุขศรีวงศ์, วราวุธ เสริมสินสิริ, สัญชัย จันทร์โต, วัชรินี เกิดเยี่ยม และสุธาทิพย์ ธนภาคย์(2555). รายงานการทบทวนวรรณกรรม

และสถานการณ์การคุ้มครอง ผู้บริโภคในระบบสุขภาพ. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

ทิชากร สำราญชลารักษ์. (2555). ความหมายของการคุ้มครองผู้บริโภค. สืบค้นเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2563,

จาก https://sites.google.com/site/kruticha/bth-reiyn/ngan-thurkic/hnwy-thi-3-ngein thxng-khxng-

mi-kha/kar-khumkhrxng-phu-briphokh.

ราตรี จุลคีรี. (2560) เครือข่ายผู้บริโภค : การมีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งและรู้จักสิทธิในกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์. สำนักงานคณะ

กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรศัทน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ.

วิยดา เจียมเจือจันทร์และคณะ. (2554). ผลของโปรแกรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมต่อความรู้และพฤติกรรมสุขภาพในการใช้ยาต้านการ

อักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ของผู้ใช้แรงงาน. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ. Vol 5 (No.2), 34-44 .

สิริลักษณ์ รื่นรวย และสุรศักดิ์ เสาแก้ว. (2560). สถานการณ์ยาและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในเขตสุขภาพที่ 3. วารสารเภสัชกรรมไทย.

สิริลักษณ์ รื่นรวย. (2555). การสร้างเครือข่ายงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านเครื่องสำอางในชุมชน : กรณีศึกษาตำบลบ้านไร่ อำเภอบ้านไร่

จังหวัดอุทัยธานี. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สมจิต อสิพงษ์. (2558). พฤติกรรมการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่มีบ่งใช้ทางการแพทย์ของผู้ป่วยโรคเรื้อรังใน อำเภอราศีไศล จังหวัด

ศรีสะเกษ. วารสารเภสัชกรรมไทย. Vol 7 (No.2), 105-113.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-10-19