ความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อการลาออกหรือเปลี่ยนงานของบุคลากรสาธารณสุข จังหวัดยโสธร

ผู้แต่ง

  • นริศรา อารีรักษ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
  • รักชนก น้อยอาษา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
  • ถนอม นามวงศ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร
  • ณัฐทฌาย์ จรรยา สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร

คำสำคัญ:

การเปลี่ยนงาน, ปัจจัยการเปลี่ยนงาน, บุคลากรสาธารณสุข

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนงานของบุคลากรสาธารณสุข จังหวัดยโสธร เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์ (Cross-sectional analytical study) โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) กลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในจังหวัดยโสธร ซึ่งเป็นข้อมูลที่ได้จากการประเมินความสุข (Happinometer) ด้วยตนเอง ของกระทรวงสาธารณสุข ในปี 2561 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและ วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนงาน ด้วย Multiple logistic regression

ผลการศึกษา  พบว่ากลุ่มตัวอย่าง  2,534 คน  ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 74.03 เป็นข้าราชการ ร้อยละ 54.70 กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 39.60  ปี (SD± 10.30 ) ความชุกในการเปลี่ยนงาน ร้อยละ 38.83 (95%CI  36.9 to 40.7 ) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนงานคือ 1) รายได้ และ 2) การศึกษา กล่าวคือ คนที่มีรายได้ 20,000 – 40,000 บาท (ORadj 0.71 95% CI 0.56 to 0.91) มีโอกาสในการเปลี่ยนงานน้อยกว่าส่วนคนที่รายได้ 40,000 บาทขึ้นไป มีโอกาสในการเปลี่ยนงานมากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับคนที่มีรายได้ ต่ำกว่า 20,000 บาท (ORadj  1.25 95% CI 1.01 to 1.56) ปัจจัยด้านการศึกษาพบว่าคนจบการศึกษา ปวช./ปวส./อนุปริญญา (ORadj  0.31 95% CI 0.21 to 0.46), จบปริญญาตรี (ORadj 0.57 95% CI 0.40 to 0.83) และ จบสูงกว่าปริญญาตรี (ORadj 0.63 95% CI 0.48 to 0.82) มีโอกาสในการเปลี่ยนงานน้อยกว่าคนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

References

ชูเกียรติ จากใจชน.(2560). ปัจจัยส่วนบุคคลและความพึงพอใจในงานที่มีผลต่อการลาออกของพนักงานบริษัทข้ามชาติแห่งหนึ่ง. ปีที่ 12 ฉบับที่ 42 (2017): ตุลาคม - ธันวาคม 2560 วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฎเลย.

บุญพิชชา จิตต์ภักดีและคณะ.(2556). ความสัมพันธ์ระหว่างความสุขในการทำงานและความตั้งใจคงอยู่ในงานของพยาบาลวิชาชีพ. พยาบาลสาร 2556; 40 (ฉบับพิเศษ): 33-44.

บุญยืน สุขแสงทอง.(2555) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตการทำงานของพยาบาลลูกจ้างชั่วคราว โรงพยาบาลสังกัดกองทัพบก. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย 2555; 6(1): 133-9.

“รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560”, ราชกิจจานุเบิกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 64 ก, 14 มิถุนายน 2560, หน้า 5.

ศุภาพิชญ์ (มณีสาคร) โฟน โบร์แมนน์, วรรณวิไล ภู่ตระกูล และนิรนาท วิทยโชคกิติคุณ.(2556). “โปรดดูแลเราก่อนที่พวกเราจะลาออก”สถานการณ์กำลังคนด้านสุขภาพจิตและจิตเวชที่ปฏิบัติงานนอกสังกัดกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2556; 7(2): 37-46.

สมพร ชูเชิด.(2552). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการปรับเปลี่ยนสายงานของพยาบาลประจำการในโรงพยาบาลสุรินทร์. วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2552; 24(2): 1-11.

โสภณ เมฆธน.(2560). ยุทธศาสตร์บุคลากรเป็นเลิศ People Excellence Strategy. ม.ป.ท.; 2560.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร. (2560). รายงานประจำปี 2560. ยโสร : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร. (2561). รายงานประจำปี 2561. ยโสร : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยโสธร.

อรุณรัตน์ คันธา. การย้ายงานของพยาบาลวิชาชีพในประเทศไทย. วารสารสภาการพยาบาล 2556; 28(3): 19-31.

Hosmer, D. W. , and Lemeshow, S. 2000. Applied Logistic Regression. 2nd ed. New York: Wiley.

Hsieh FY, Block DA, Larsen MD.(1998). A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Stat Med 1998; 77 : 7623- 34.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-14