ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคโควิด - 19 อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย

ผู้แต่ง

  • สรวุฒิ เอี่ยมนุ้ย สำนักงานสาธารณสุขอำเภอกงไกรลาศ

คำสำคัญ:

การปฏิบัติงาน, โรคโควิด-19, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, เฝ้าระวังและป้องกันโรค

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาท อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) ในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคโควิด  - 19 อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย กลุ่มตัวอย่างคือ อสม. ในอำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย จำนวน 329 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบสอบถามความรู้ใช้ KR-20 ได้ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.76 ความเชื่อมั่นของแบบสอบถามด้าน การรับรู้บทบาท อสม. แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน การได้รับแรงสนับสนุนทางสังคม และการปฏิบัติงานตามบทบาท อสม. ใช้ค่าสัมประสิทธิ์ อัลฟาของครอนบาค  ได้ค่ามีค่าความเชื่อมั่น 0.84, 0.86, 0.90 และ 0.80 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย      ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง ร้อยละ 89.4 มีอายุเฉลี่ย 49.20 ± 10.89 ปี มีระยะเวลาในการทำงานเป็น อสม. เฉลี่ย 13.61 ± 9.40 ปี         ผ่านการอบรมหลักสูตร อสม.หมอประจำบ้าน ร้อยละ 86.0 และมีจำนวนครัวเรือนที่รับผิดชอบเฉลี่ย 12.18 ครัวเรือน ส่วนใหญ่ อสม. มีการปฏิบัติตามบทบาทอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 85.7) ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาท อสม. ในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคโควิด - 19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ การรับรู้บทบาท อสม.  (β = 0.387, p < 0.001) การได้รับแรงสนับสนุนทางสังคม (β = 0.360, p < 0.001) แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน (β = 0.168, p < 0.001) สามารถสร้างสมการการปฏิบัติงานตามบทบาท อสม. ในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคโควิด – 19 = 4.965 + 0.402 (การรับรู้บทบาท อสม.) + 0.508 (การได้รับแรงสนับสนุนทางสังคม) + 0.083 (แรงจูงใจในการปฏิบัติงาน) โดยสามารถร่วมทํานายการปฏิบัติงานตามบทบาทได้ร้อยละ 63.8 (Adjusted R2 = 0.638) ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำข้อมูลไปใช้เป็นกรอบในพัฒนาโปรแกรมการปฏิบัติงานตามบทบาท อสม. ในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคโควิด - 19 เพื่อให้มีผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

References

กรมควบคุมโรค. (2564). สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย. สืบค้น 23 มิถุนายน 2564, จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2563). ความรู้เรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับเจ้าหน้าที่ และ อสม. นนทบุรี: กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ.

กองสุขภาพภาคประชาชน. (2564). ระบบสารสนเทศงานสุขภาพภาคประชาชน กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน. สืบค้น 23 มิถุนายน 2564, จากhttp://www.thaiphc.net/phc/phcadmin/administrator/Report/OSMRP00013.php.

ธีระ วรธนารัตน์. (2563). โคโรน่าไวรัส 2019 (covid-19): ตอนนี้เรารู้อะไรบ้าง?. สืบค้น 23 มิถุนายน 2564,จาก https://www.isranews.org/isranews-article/85871-covid.html.

ยุทธนา แยบคาย และปราโมทย์ วงศ์สวัสดิ์. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานสมรรถนะของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดสุโขทัย. วารสารโรงพยาบาลชลบุรี 2560; 42(2): 179-186.

วิชัย ศิริวรวัจน์ชัย. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามบทบาทของ อสม. ในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคโควิด 19 อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน. มหาราชนครศรีธรรมราชเวชสาร 2564; 4(2): 63-75.

วิทยา ชินบุตร และนภัทร ภักดีสรวิชญ์. บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการป้องกันการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามนโยบายรัฐบาล อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ 2564; 6(2): 304-318.

ศุทธินี สาครวาสี. (2554). แรงจูงในการปฏิบัติงาน ความสามารถของตนเอง การสนับสนุนทางสังคมกับผลการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของ ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย. (2564). รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดสุโขทัย. สุโขทัย : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุโขทัย.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอกงไกรลาศ. (2564). รายงานการดำเนินงานสถานการณ์โรคโควิด-19 ของอสม.อำเภอกงไกรลาศ. กงไกรลาศ สุโขทัย.

สิทธ์ชัย ชูจีน. (2554). แรงจูงใจในการทำหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

สุวัฒนะ วงศ์ปฏิมาพร และผู้แต่งคนอื่นๆ. (2553). แรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตามโครงการส่งเสริมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเชิงรุก จังหวัดชัยภูมิ. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Daniel, W. (1995). Biostatistics: A foundation for analysis in the health sciences. New York: John Wiley & Sons.

Worldmeter Covid. (2021). Covid live update. Retrieved June 23, 2021, from https://www.worldometers.info/coronavirus/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-27