การศึกษาการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อในผู้ป่วยที่ถูกสัตว์กัด โรงพยาบาลโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร
คำสำคัญ:
ยาปฏิชีวนะ, แผล, สัตว์กัดบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อกรณีที่ถูกสัตว์กัด 2) เปรียบเทียบสัดส่วนจำนวนผู้ถูกสั่งใช้ยาระหว่างก่อนและหลังมีแนวทางการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อในแผลที่ถูกสัตว์กัด และ 3) เปรียบเทียบผลการรักษาระหว่างก่อนและหลังมีแนวทางการสั่งใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย ใช้รูปแบบวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลังโดยศึกษาเวชระเบียนผู้ป่วยที่ถูกสัตว์กัดหรือต่อยที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลโคกศรีสุพรรณจังหวัดสกลนครจำนวน 171 คน เก็บข้อมูลระหว่าง เมษายน 2562 – เมษายน 2563 จำนวนเวชระเบียนผู้ป่วยก่อนมีแนวทางการรักษาจำนวน 120 คน หลังมีแนวทางการรักษามีจำนวน 51 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ความแตกต่างสัดส่วนเวชระเบียนผู้ป่วย ที่ใช้ใช้ยาปฏิชีวนะ และผลการรักษาระหว่างก่อนและหลังการมีแนวทางการใช้ยาปฏิชีวนะ โดยใช้ไคว์สแควร์และฟิเชอร์ ผลการศึกษาวิจัยพบว่าผู้ป่วยเป็นเพศหญิง ร้อยละ 59.06 อายุเฉลี่ย 40 ปี ไม่มีโรคประจำตัวร้อยละ 86.55 ถูกตะขาบกัดมากที่สุดร้อยละ 42.69 บริเวณที่กัดมากที่สุดคือมือ ร้อยละ 41.52 เมื่อวิเคราะห์ความแตกต่างการใช้ยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อในแผลที่ถูกสัตว์กัดมีสัดส่วนลดลงทั้งตะขาบแมงป่อง ผึ้ง ต่อ แตน และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) แต่ผลการรักษาไม่แตกต่างกัน
References
กฤษณ์ แก้วโรจน์. (2561). Bite and string. สืบค้น 5 มกราคม 2562 ,จาก http://sirirajemergencymedicine.org/wp/wp-content/uploads/2018/05/Bite-and-sting-final.pdf
ดิสวิน ภู่วุฒิกุล. (2551). Scorpion envenomation (พิษจากแมงป่อง). สืบค้น 10 ธันวาคม 2561 , จาก http://www.errama.com/system/spaw2/uploads/files/Scorpion%20envenomation.pdf
นิสรา ศรีสุระ. (2558). ถอดรหัสกุญแจสำคัญ 6 ประการ “PLEASE”. สืบค้น 12 ธันวาคม 2561, จาก http://www.thaidrugwatch. org/download/series/series28.pdf
พิสนธิ์ จงตระกูล. (2558). ใช้ยาทุกครั้งต้องใช้อย่างสมเหตุผล. สืบค้น 12 ธันวาคม 2561, จาก http://www.thaidrugwatch.org/download/series/series28.pdf
มนสิชา นนทคุปต์, กมลวรรณ เอี้ยงฮง, แพรว โคตรุฉิน, ฐปนวงศ์ มิตรสูงเนิน. (2560). ระบาดวิทยา อาการแสดง และผลลัพธ์ของการรักษาภาวะตะขาบกัดในภาค ตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วารสารอายุรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 3(1), 37-45.
รุ่งทิวา หมื่นปา. (2559). การใช้ยาอย่างสมเหตุผล. สืบค้น 20 ธันวาคม 2561, จาก https://ccpe. pharmacycouncil.org/index.php?option=article_detail&subpage=article_detail&id=209
ศูนย์วิชาการเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา(กพย). รายงานสถานการณ์ระบบยาพศ 2555-2559. พิมพ์ครั้งที่ 1.พ.ศ. 2561
สุชัย สุเทพารักษ์. (2555). คลินิกพิษจากสัตว์ แมงป่อง. สืบค้น 3 มกราคม 2561, จาก https://saovabha.com /download/saovabha_y5_v1_3.pdf
สุรเกียรติ อาชานุภาพ. (2550). ผึ้งต่อย ต่อต่อย(BEE stings wasp stings). (2550). สืบค้น 20 ธันวาคม 2561, จาก https://www.doctor.or.th/article/detail/1100
สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. (2560). แผนยุทธศาสตร์การจัดการดื้อยาต้านจุลชีพแห่งประเทศไทย. สืบค้น 25 ธันวาคม 2561, จาก http://kbphpp.nationalhealth.or.th/bitstream/handle/123456789/.7525/01pdf?sequence=1&isAllowed=y
โรงพยาบาลโคกศรีสุพรรณ. (2561). สรุปผลการปฏิบัติงานฝ่ายเภสัชกรรมและคุ้มครองผู้บริโภค.
Carol (2020). Treatment of bee and wasp sting. Retrieved May 31, 2020 from https://www.webmd.com
/first-aid/bee-and-wasp-stings-treatment#1
Changratanakorn, C. (2021). Effectiveness of antibiotic prophylaxis in patients with centipede stings: a randomized controlled trial. Clinaical and Experimental Emargency Medicine, 8(1), 43-47.
Cheng, D. (2018). Which medications are used in the management of scorpion envenomation.
Tan, H. H., Edin, F., DABT, & Mong, R. (2013). Scorpion Stings Presenting to an Emergency Department in Singapore With Special Reference to Isometrus Maculatus. Wilderness & Environmental Medicine, 24, 42– 47.
Alavi, M. S. (2011). Secondary bacterial infection among the patients with scorpion sting in Razi
hospital, Ahvaz, Iran Jundishapur Journal of Microbiology, 4(1), 37-42.
Arnold, T. (2018). Keys to Identifying and Treating Insect Sting Reactions-Commentary. MSD Manual Professional Version.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา (Thai Journal of Public Health and Health Education) เป็นลิขสิทธิ์ของ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี