บทบาทและภาพลักษณ์ต่อการพัฒนาด้านสาธารณสุขของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิต ระดับอำเภอ ในมุมมองของอาสาสมัครสาธารณสุข อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี

ผู้แต่ง

  • ยอดชาย สุวรรณวงษ์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี
  • ร่วม มะโนน้อม สำนักงานสาธารณสุขอำเภอหนองแค

คำสำคัญ:

บทบาทและภาพลักษณ์, การพัฒนาด้านสาธารณสุข, คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สภาพแวดล้อมการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านสาธารณสุข และศึกษาบทบาทและภาพลักษณ์ในการพัฒนาด้านสาธารณสุขของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอหนองแค ในมุมมองของอาสาสมัครสาธารณสุข ดำเนินการศึกษาระหว่างเดือนสิงหาคม – กันยายน 2564 กลุ่มตัวอย่าง คือ คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ จำนวน 11 คน เลือกแบบเจาะจง และอาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่อำเภอหนองแค จำนวน 360 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วย แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการศึกษา พบว่า 1) ด้านสภาพการณ์การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้านสาธารณสุขของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของอำเภอหนองแค คือ จุดแข็งด้านผู้นำ และบุคลากรมีความรู้ที่หลากหลาย ในขณะที่มีจุดอ่อนด้านการบริหารจัดการเชิงนโยบาย และขาดความชัดเจนด้านบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการ 2) ด้านความคิดเห็นต่อบทบาทและภาพลักษณ์ในการพัฒนาด้านสาธารณสุขของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตของอำเภอหนองแค พบว่า อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 67.50) มีอายุระหว่าง 50-59 ปี (ร้อยละ 54.71) และมีระยะเวลาในการปฏิบัติงานระหว่าง 11-20 ปี (ร้อยละ 47) อาสาสมัครสาธารณสุขส่วนใหญ่ไม่มีประสบการณ์ปฏิบัติงานร่วมกับคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (ร้อยละ78.89) และรับรู้เกี่ยวกับบทบาทของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (ร้อยละ 56.67) โดยมีความคิดเห็นต่อบทบาทและภาพลักษณ์การดำเนินงานด้านสาธารณสุขของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตอำเภอหนองแค โดยด้านบทบาทและภาพลักษณ์ที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.51, S.D. = .145) โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านผลลัพธ์การพัฒนาด้านสาธารณสุข (= 4.59, S.D. = .174) และบทบาทและภาพลักษณ์ที่เป็นจริงอยู่ในระดับปานกลาง (= 3.09, S.D. = .182) โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านผู้นำ (= 3.61, S.D. = .215)

Author Biography

ยอดชาย สุวรรณวงษ์, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี

ปริญญา/ปริญญาบัตร

สาขา/วิชาเอก

ปีที่สำเร็จการศึกษา สถาบัน

ประกาศนียบัตรสาธารณสุขศาสตร์

สาธารณสุขชุมชน

2537

วิทยาลัยการสาธารณสุขภาคใต้ จังหวัดยะลา

วิทยาศาสตร์บัณฑิต

 

สุขศึกษา

2543

สถาบันเพชรบุรีวิทยาลงกรณ์ฯ

วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต

เวชศาสตร์ชุมชน

2547

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต

การศึกษานอกระบบโรงเรียน

2558

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

References

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2562). คู่มือ อสม. หมอประจำบ้าน. สืบค้น 10 กรกฎาคม 2564, จาก: http://phc.

moph.go.th/www_hss/data_center/dyn_mod/OSM_Doctor.pdf

กรวิภา อมรประภาธีรกุล. (2553). อัตลักษณ์ภาพลักษณ์ของร้าน MOS BURGER ที่มีต่อความภักดีและพฤติกรรมการ

ซื้อของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร [สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2560). แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี

ด้านสาธารณสุข (พ.ศ.2560–2579). สืบค้น 11 กรกฎาคม 2564, จาก http://bps.moph.go.th/ new_bps

/sites/default/files/EbookMOPH20yrsPlan2017_version2.pdf

กองสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย. (2564). มท.ประชุมคณะกรรมการนโยบายพัฒนาคุณภาพชีวิต

ระดับพื้นที่ พชอ. และ พชข. ร่วมกับ สธ. กำหนดเป้าหมายดำเนินงาน ปี 2564-2565 พร้อมยกระดับการ

ขับเคลื่อน พชอ. โดย พชจ. สืบค้น 13 กรกฎาคม 2564, จาก http://newskm.moi.go.th/?p=11050

สุจิตรา แก้วสีนวล. (2556). การสื่อสารเพื่อสร้างภาพลักษณ์. สืบค้น 15 กรกฎาคม 2564, จาก: http://utcc2.utcc.

.ac.th/localuser/brandthaicenter/Article%20etc/การสื่อสารเพื่อการสร้างภาพลักษณ์%20-%20

สุจิตรา%20แก้วสีนวล.pdf

จำเนียร จวงตระกูล. (2561). ปัญหาการกำหนดกลุ่มตัวอย่างและวิธีการสุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงคุณภาพ.วารสาร

บริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 1(2), 1-21.

ทวนธง ครุฑจ้อน. (2554). การปรับภาพลักษณ์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย: กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วน

ท้องถิ่นที่มีการบริหารที่เป็นเลิศ. สืบค้น 18 กรกฎาคม 2564, จาก: http://www.conference.phuket.

psu.ac.th/ proceedings/PSU_OPEN_WEEK_2011/data/FIS/FIS05_paper.pdf

เบญจา ยอดดำเนิน-แอ็ตติกจ์. (2552). การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ : การจัดการข้อมูลการตีความและการหา

ความหมาย. นครปฐม : สำนักพิมพ์ประชากรและสังคม สถาบันวิจัยประชากรและสังคมมหาวิทยาลัยมหิดล.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2550). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบ

การศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

พิชญ์ณิฐา พรรณศิลป์, สัญญา เคณาภูมิ, และเสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร. (2558). บทบาทของผู้บริหารท้องถิ่นใน

ศตวรรษที่ 21. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร., 3(2): หน้า 146-61.

มนัสชนก สุรชัยกุลวัฒนา. (2557). รูปแบบการสื่อสารเพื่อการสร้างภาพลักษณ์ของผู้นำท้องถิ่นในจังหวัดนครปฐม.

วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, 4(1), 36-46.

แววดี เหมวรานนท์. (2563). การประเมินผลการดำเนินงานคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ

จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา, 6(1): หน้า

-57.

ศิริชัย กาญจนวาส และดิเรก ศรีสุโข. (2559). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ:

โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมยศ ศรีจารนัย. (2561). ศึกษาเรื่องบทบาทของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอต่อการพัฒนา

คุณภาพชีวิตและลดความเหลื่อมล้ำของประชาชนในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 4 [หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักร

รุ่นที่ 60]. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร.

สมาน คงสมบูรณ์ และยอดชาย สุวรรณวงษ์. (2564). การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ ของคณะกรรมการ

พัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ ในจังหวัดสระบุรี.วารสารวิชาการสาธารณสุข, 30(1), 115-128.

สุระจิต สุตะพันธ์, วรนาถ พรหมศวร, จุฬารัตน์ ห้าวหาญ, ภาวินี เสาะสืบ, และชลดา กิ่งมาลา. (2563). การปฏิบัติ

ตามบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ: จากแนวคิดสู่การปฏิบัติเพื่อสุขภาวะ

ชุมชน. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 10 (2), 254-273.

สำนักงานบริหารยุทธศาสตร์สุขภาพดีวิถีชีวิตไทย. (2561). คู่มือประกอบการพิจารณาระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่า

ด้วยการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่ พ.ศ. 2561 หลักการ กรอบเนื้อหาและเจตนารมณ์. กรุงเทพมหานคร:

สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์.

สำนักงานเขตสุขภาพที่ 8. (2562). ถอดรหัส พชอ. กับ 5 ปัจจัยสู่ความสำเร็จ. สืบค้น 13 กรกฎาคม 2564, จาก: https://r

way.moph.go.th/r8wayadmin/page/uploads_file/20191225110034.pdf

เอกชัย บุญยาทิศฐาน. (2553). คู่มือวิเคราะห์ SWOT อย่างมืออาชีพ. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.

D.D. Van Fleet with R.W. Griffin and others, (2006). “The Journal of Management’s First 30 Years,”

Journal of Management, 32 (4), 477-506.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational

and Psychological Measurement, 30(3), page 607-610.

Likert Rensis. (1967).“The Method of Constructing and Attitude Scale”. In Reading in Fishbeic, M

(Ed.), Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley & Son.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-30