ผลการบริบาลเภสัชกรรมโดยการออกเยี่ยมบ้าน ในผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้

ผู้แต่ง

  • ภาณุ วิริยานุทัย โรงพยาบาลงาว จังหวัดลำปาง
  • กฤษฎิ์ ทองบรรจบ โรงพยาบาลงาว จังหวัดลำปาง
  • ศรีประไพ อินทร์ชัยเทพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครลําปาง
  • วิชาดา มะลิ โรงพยาบาลงาว จังหวัดลำปาง
  • ชนินาถ เครือนวล โรงพยาบาลงาว จังหวัดลำปาง

คำสำคัญ:

การบริบาลเภสัชกรรม, การเยี่ยมบ้าน, ผู้ป่วยเบาหวาน, ปัญหาการใช้ยา

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นงานวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการใช้ยาและศึกษาผลการบริบาลเภสัชกรรมโดยการออกเยี่ยมบ้านต่อความรู้เรื่องโรคเบาหวาน ความร่วมมือในการใช้ยา และระดับน้ำตาลสะสมในเลือดในผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานที่มีค่าระดับฮีโมโกลบินในเซลล์เม็ดเลือดแดง (HbA1c) มากกว่า 7 mg% ที่มารับบริการในเขตเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิโซนตะวันออก อำเภองาว จำนวน 70 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 35 คน และกลุ่มควบคุม 35 คน กลุ่มทดลองได้รับการบริบาลเภสัชกรรมโดยการออกเยี่ยมบ้านจากเภสัชกร กลุ่มควบคุมได้รับการรักษาตามปกติจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ทำการเก็บข้อมูล 2 ครั้ง ในเดือนที่ 0 และ 5 เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบบันทึกการบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วย มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาคอนบราค เท่ากับ 0.76 แบบประเมินความรู้โรคเบาหวาน มีค่าความเชื่อมั่น KR-20 เท่ากับ 0.88 แบบประเมินความร่วมมือในการใช้ยาสำหรับคนไทย และเครื่องเจาะเลือด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Fisher’s exact test,  Chi-square test, Paired t-test และ Independent t-test

ผลการวิจัยพบว่าปัญหามากที่สุดคือปัญหาการใช้ยาและพฤติกรรมการใช้ยาซึ่งเกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพการรักษาของผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ ผลการศึกษาหลังการบริบาลเภสัชกรรมโดยการออกเยี่ยมบ้าน กลุ่มทดลองมีความรู้เรื่องโรคเบาหวานและความร่วมมือในการใช้ยาสูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนระดับ HbA1c และ FBS ทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

ดังนั้นการบริบาลเภสัชกรรมโดยการออกเยี่ยมบ้านเป็นอีกกระบวนการหนึ่งที่ช่วยค้นหาปัญหาการใช้ยาของผู้ป่วยได้มากขึ้น จัดการปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ช่วยให้ผู้ป่วยมีความรู้เรื่องโรคเบาหวานและความร่วมมือในการใช้ยาเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนระดับ HbA1c มีแนวโน้มดีขึ้นแต่ยังไม่ชัดเจน

References

กรรณิการ์ ยิ่งยืน, นงลักษณ์ เมธากาญจนศักดิ์. (2559). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองเพื่อควบคุมอาหารคาร์โบไฮเดรตและส่งเสริมการออกกําลังกายผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี, 30(1), 12-23.

กุสุมา กังหลี (2561). ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการใช้ยาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าวารสารพยาบาลทหารบก,19 (2), 170-182.

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. (18 มกราคม 2565). จำนวนและอัตราตายด้วย 5 โรค NCD ปี 2559-2563. กรมควบคุมโรค สำนักโรคไม่ติดต่อ. http://www.thaincd.com/2016/mission/documents-detail .php?id=14220&tid=32&gid=1-020

กมลชนก จงวิไลเกษม, และสงวน ลือเกียรติบัณฑิต. (2564). การพัฒนาแบบวัดความร่วมมือในการใช้ยาสำหรับคนไทย. วารสารเภสัชกรรมไทย, 13(1), 18-29.

จตุพร ทองอิ่ม. (2556). หลักการสำหรับเภสัชกรครอบครัวในการออกเยี่ยมบ้าน. ใน ธิดา นิงสานนท์, จตุพร ทองอิ่ม และปรีชา มนทกานติกุล (บ.ก.), คู่มือเภสัชกรและการเยี่ยมบ้าน (น. 21-37). กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์ประชาชน.

ธนกฤต มงคลชัยภักดิ์, สุธาทิพย์ พิชญ์ไพบูลย์ และ อลิศรา แสงวิรุณ (2558).ปัจจัยที่มีผลต่อความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยเบาหวาน ณ โรงพยาบาลตำรวจ, วารสารเภสัชกรรมไทย, 7(1),47-58.

ติยารัตน์ ภูติยา, สงครามชัยย์ ลีทองดีศกุล, และกุลชญา ลอยหา. (2564). การพัฒนาระบบบริบาลทางเภสัชกรรมที่บ้านสำหรับการดูแลผู้ป่วยเบาหวานที่ใช้ยาฉีดอินซูลินในเขตตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารศรีวนาลัยวิจัย, 11(1), 91-104.

นรินทรา นุตาดี, และกฤษณี สระมุณี. (2559). การประเมินผลการเยี่ยมบ้านโดยทีมสหวิชาชีพที่มีเภสัชกรร่วมทีมเพื่อจัดการปัญหาการใช้ยาในผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงของโรงพยาบาลน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. วารสารเภสัชกรรมไทย, 8(1), 206-14.

ปริญา ถมอุดทา, ชมพูนุท พัฒนจักร, อดิศักดิ์ ถมอุดทา, สุกัญญา คำผา, ศุภิญญา ภูมิวณิชกิจ, ปภัสรินทร์ จีรอำพรวัฒน์, และคณะ. (2560). ผลของการบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยต่อเนื่องในชุมชนโดยการออกเยี่ยมบ้านในเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม. ศรีนครินทร์เวชสาร, 32(3), 229-35.

ปริตตา ไชมล, สงวน ลือเกียรติบัณฑิต, และวรนุช แสงเจริญ. (2560). ผลของการให้ความรู้โดยเภสัชกรร่วมกับ การใช้ภาพถ่ายแสดงวิธีการใช้ยาสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน. วารสารเภสัชกรรมไทย, 9(2), 475-88.

ปิยะวดี ทองโปร่ง. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่สองของชุมชนแห่งหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารราชธานีนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 2(4), 9-21.

ศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางเภสัชศาสตร์ สภาเภสัชกรรม. (2560). การบริบาลเภสัชกรรม. สืบค้น 1 มีนาคม 2565. จาก https://ccpe.pharmacycouncil.org/index.php?option=seminar_detail&subpage=seminar_detail&id=1261

สิรวิชญ์ พันธนา, ประภาเพ็ญ สุวรรณ, สุรีย์จันทรโมลี และสุธรรม นันทมงคลชัย (2562) การพัฒนารูปแบบการบริบาลทางเภสัชกรรมสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ, 6(3) , 1-13.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. (2560). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน (พิมพ์ครั้งที่ 3). บริษัท ร่มเย็น มีเดีย จำกัด.

สมทรง ราชนิยม. (2559). การจัดการปัญหาการใช้ยาของผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่บ้านโดยเภสัชกรครอบครัวในเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอกระนวน. วารสารเภสัชกรรมไทย, 8(1), 169-81.

สายพิณ หัตถีรัตน์. (2556). หลักการเวชศาสตร์ครอบครัวกับการเยี่ยมบ้านสำหรับเภสัชกร. ใน ธิดา นิงสานนท์, จตุพร ทองอิ่ม และปรีชา มนทกานติกุล (บ.ก.), คู่มือเภสัชกรและการเยี่ยมบ้าน (น. 9-19). กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์ประชาชน.

อนุชา คงสมกัน, มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วย เบาหวาน ที่มารับบริการ ณ โรงพยาบาลรามาธิบดี. วารสารสุขศึกษา, 35(120), 62-73.

ฤตกร หมั่นสระเกษ, ทัศนีย์ รวิวรกุล, และ สุนีย์ ละกำปั่น. (2562). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อการ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ใช้อินซูลิน. วารสารสุขภาพและการศึกษา พยาบาล, 25(2), 87-103.

ฤทธิรงค์ บูรพันธ์, นิรมล เมืองโสม. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ของผู้ป่วย เบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลสร้างคอม จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์, 6(3), 102-9.

International Diabetes Federation. (2021). Diabetes facts & figures (10th ed.).

Krapek, K., King, K., Warren, SS., George, KG., Caputo, DA., Mihelich, K. et al. (2004). Medication adherence and associated hemoglobin A1c in type 2 diabetes. Ann Pharmacother, 38(9), 1357-62. doi: 10.1345/aph.1D612

Schectman, JM., Nadkarni, MM., & Voss, JD. (2002). The association between diabetes metabolic control and drug adherence in an Indigent population. Diabetes Care, 25(6), 1015-21. doi:10.2337/diacare.25.6.1015

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-02