การศึกษาสถานการณ์ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด ในผู้สูงอายุจังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ชัยสิทธิ์ เรืองโรจน์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

โรคหัวใจและหลอดเลือด , ผู้สูงอายุ , โรคไม่ติดต่อ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อพัฒนาแนวทางการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้สูงอายุโดยแบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้สูงอายุจังหวัดอุบลราชธานี จากข้อมูลของ Health Data Center ของจังหวัดอุบลราชธานี โดยวัตถุประสงค์มุ่งอธิบายสถานการณ์ และระดับของความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด และระยะที่ 2 พัฒนาแนวทางการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดสำหรับผู้สูงอายุที่อาศัยในจังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างจำนวน 217,697 คน โดยมีเกณฑ์ในการเลือกกลุ่มตัวอย่าง คือ การตรวจสุขภาพประกอบด้วย 1.1) ประวัติระดับความดันโลหิตสูงตัวบน 1.2) ค่าไขมันในเลือด 1.3) ประวัติการสูบบุหรี่ 1.4) ประวัติการวินิจฉัยโรคเบาหวาน 2) แบบเก็บข้อมูลตามองค์ประกอบการประเมินระดับความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด (CVD risk score) และ 3) สนทนากลุ่ม (Focus group) พัฒนาแนวทางการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสำหรับผู้สูงอายุ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ ร้อยละ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

            ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่อายุ 60-69 ปี (ร้อยละ 81.6)  มีอายุเฉลี่ย 65.87 ปี มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์ร้อยละ 43.4 มีประวัติเป็นโรคเบาหวานร้อยละ 66.4 ประเมินภาวะอ้วนลงพุงพบผู้ชายอ้วนลงพุงร้อยละ 7 และร้อยละ 35.9 ในผู้หญิง ความดันโลหิตตัวบนอยู่ในช่วง 120-139 mmHg มากที่สุดร้อยละ 93.2 และมีผู้สูงอายุเพียง 3,350 คนที่ได้รับการตรวจระดับไขมันในเลือด ซึ่งส่วนใหญ่มีระดับไขมันในเลือด 160-199 mg/dl (ร้อยละ 77.7) เมื่อประเมินระดับความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด พบความเสี่ยงน้อยกว่าร้อยละ 10 จำนวน 201,403 คน (ร้อยละ 92.5) รองลงมาคือความเสี่ยงร้อยละ 10 ถึงน้อยกว่า 20 และความเสี่ยงร้อยละ 20 ถึงน้อยกว่าร้อยละ 30 ตามลำดับ (ร้อยละ 6.2, 1.0 ตามลำดับ)  เพศชายร้อยละ 95.7 มีความเสี่ยงน้อยกว่าร้อยละ 10 และเพศหญิงร้อยละ 91.7  มีความเสี่ยงน้อยกว่าร้อยละ 10 เมื่อนำข้อมูลสถานการณ์ระดับความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดวางแผนโดยการสนทนากลุ่มกับเชี่ยวชาญในแต่ละดับ ทำให้ได้ข้อมูลที่จะนำไปสู่การพัฒนาแนวทางป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดสำหรับผู้สูงอายุ โดยผู้เชี่ยวชาญทุกระดับมีความเห็นตรงกันว่าควรมีการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health Literacy) ให้ผู้สูงอายุและญาติผู้ดูแล โดยจัดทำเป็นคู่มือ “แนวทางการป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสำหรับผู้สูงอายุ” เพื่อเป็นแนวทางการวางแผนการดูแลผู้สูงอายุในจังหวัดอุบลราชธานี

References

พิมพ์พิสาข์ จอมศรี, สุนทรี สุรัตน์, วิชยา เห็นแก้ว, มัลลิกา มาตระกูล, อนงค์ สุนทรานนท์. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจกับระดับความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและความรอบรู้ทางสุขภาพในผู้สูงอายุ. วารสารพยาบาลทหารบก. 22 (3), 387-395.

วิชัย เทียนถาวร. (2556). ระบบเฝ้าระวัง ควบคุม ป้องกัน โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงในประเทศไทย: นโยบายสู่การปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 3 ปรับปรุง). ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด

วิชัย เอกพลากร บรรณาธิการ. (2559). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. (2557). แนวทางเวชปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วย โรคหัวใจขาดเลือดในประเทศไทยฉบับปรับปรุงปรุง 2557. ศรีเมือง การพิมพ์.

สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2559). การดําเนินการตามแผนพัฒนาระบบบริการ สุขภาพ (Service Plan) สาขาโรคหัวใจแนวทางการสร้างเครือข่ายการดูแลผู้ป่วย กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน. โอ-วิทย์ (ประเทศไทย)

สํานักนโยบายและยุทธศาสตร์ สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2559). สรุปสถิติที่สําคัญ พ.ศ.2559. สํานักนโยบายและยุทธศาสตร์

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี. (2564). รายงานสรุปข้อมูลตรวจราชการประจำปี 2564. จังหวัดอุบลราชธานี

Cheng, Y. L., Shu, J. H., Hsu, H. C., Liang, Y., Chou, R. H., Hsu, P. F., ... & Chan, W. L. (2018). High health literacy is associated with less obesity and lower Framingham risk score: Sub-study of the VGH-HEALTHCARE trial. PloS one. 13(3), e0194813.

Kingkaew, N., & Antadech, T. (2019). Cardiovascular risk factors and 10-year CV risk scores in adults aged 30-70 years old in Amnat Charoen Province, Thailand. Asia-Pacific Journal of Science and Technology. 24(04), 1-10.

Noale, M., Limongi, F., Maggi, S. J. F., & Population, C. D. R. i. a. E. (2020). Epidemiology of cardiovascular diseases in the elderly. 29-38.

Nutbeam D. (2000). Health literacy as a public health goal: a challenge for contemporary health education and community strategies into the 21st century. Health Promotion International. 15(3), 259 - 67.

Nutbeam D. (2008). The evolving concept of health literacy. Soc Sci Med. 67(12), 2072 - 8.

Strategy and planning division of Office. (2021). Health Data center. Retrieved from https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index.php

The ministry of public health. (2022). Annual report 2020. Retrieved from Nonthaburi

The ministry of public health. (2022). Health data center 2020. Retrieved from Bangkok: The ministry of public health.

Rodgers, J. L., Jones, J., Bolleddu, S. I., Vanthenapalli, S., Rodgers, L. E., Shah, K., & Panguluri, S. K. (2019). Cardiovascular risks associated with gender and aging. Journal of cardiovascular development and disease. 6(2), 19.

World Health Organization. (‎2007)‎. Prevention of cardiovascular disease: pocket guidelines for assessment and management of cardiovascular risk: (‎WHO/ISH cardiovascular risk prediction charts for the South-East Asia Region)‎. World Health Organization.

World Health Organization. (2013). Global action plan for the prevention and control of noncommunicable diseases 2013-2020. World Health Organization.

World Health Organization. (2019). World health statistics 2019: monitoring health for the SDGs, sustainable development goals. World Health Organization.

World Health Organization. (2020). HEARTS technical package for cardiovascular disease management in primary health care: risk based CVD management. World Health Organization.

World Health Organization. (2022). Noncommunicable diseases: Mortality. Retrieved from https://www.who.int/data/gho/data/themes/topics/topic-details/GHO/ncd-mortality

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-09