ประสิทธิผลของโปรแกรมการสอนโรงเรียนพ่อแม่จิตประภัสสรตั้งแต่นอนอยู่ในครรภ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในหญิงตั้งครรภ์แรก โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม

ผู้แต่ง

  • ประภาภรณ์ เพชรมาก โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม
  • วิชุดา ศรีวรสาร โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม

คำสำคัญ:

โปรแกรมการสอน, โรงเรียนพ่อแม่จิตประภัสสร, สื่อสังคมออนไลน์, หญิงตั้งครรภ์แรก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบศึกษากลุ่มเดียววัดก่อน-หลังการทดลอง เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของโปรแกรมการสอนโรงเรียนพ่อแม่จิตประภัสสรตั้งแต่นอนอยู่ในครรภ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในหญิงตั้งครรภ์แรกก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากหญิงตั้งครรภ์แรกอายุครรภ์น้อยกว่า 12 สัปดาห์ฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเดชอุดม จำนวน 50 คน โดยหญิงตั้งครรภ์เข้าร่วมทำกิจกรรมในโปรแกรมพร้อมสามี ทำการศึกษาวิจัยดำเนินการและเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 กันยายน 2563 ถึง 30 กันยายน 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ โปรแกรมการสอนผ่านสื่อสังคมออนไลน์ตามกิจกรรมตามหลักสูตร โรงเรียนพ่อแม่จิตประภัสสร เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบทดสอบวัดความรู้ในการปฏิบัติตัวขณะตั้งครรภ์ แบบประเมินแบบประเมินความเครียด (SPST-20) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบความแตกต่างของความรู้และความเครียดระหว่างตั้งครรภ์ก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมโดยใช้ Paired-samples t-test ผลการศึกษาคะแนนความรู้และความเครียดในระยะตั้งครรภ์ ระหว่างก่อนกับหลังการทดลองพบว่าหญิงตั้งครรภ์มีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เพิ่มขึ้น ส่วนค่าเฉลี่ยคะแนนความเครียดในระยะตั้งครรภ์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p< .05

References

กรมสุขภาพจิต. (2555). คู่มือคลายเครียดฉบับปรับปรุงใหม่. กระทรวงสาธารณสุข.

กรมควบคุมโรค. (2563). คู่มือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน กรณีการระบาดโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 ในประเทศไทย. สืบค้นจากhttps://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_other/G42_1.pdf

เฉลิมพร ถิตย์ผาด และพรรณี บัญชรหัตถกิจ. (2555). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการรับประทานอาหารในสตรีตั้งครรภ์ต่อน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ขณะตั้งครรภ์ที่คลินิกฝากครรภ์โรงพยาบาลตติยภูมิจังหวัดขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร, 27(4), 347-353

ฐิรวรรณ บัวแย้ม, ศรัญญา ตันเจริญ และนาถสุดา โชติวัฒนากุลชัย. (2564). การดูแลสุขภาพช่องปากในสตรีตั้งครรภ์ เพื่อลดภาวะเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด. เวชบันทึกศิริราช, 14(1), 35-40.

เมทิกา ใหม่หลวงกาศ และวันชนา จีนด้วง. (2562). ศึกษาโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ในการดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ โรงเรียนพ่อแม่ออนไลน์ (ANChpc.com). สืบค้นจากhttps://hpc2service.anamai.moph.go.th/kmhpc2/myfile/117.pdf.

วราพร สุภา. (2559). การมีส่วนร่วมของสามีในกระบวนการดูแลครรภ์โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 1 เชียงใหม่. สืบค้นจาก https://km.anamai.moph.go.th/th/cluster-motherandchild/download?id=76599&mid=35275&mkey=m_document&lang=th&did=25800.

สายน้ำผึ้ง รัตนงาม และทวีวัฒนา ทุนคุ้มทอง. (2561). ผลของโครงการจิตประภัสสรตั้งแต่นอนอยู่ในครรภ์วิถีพุทธของเสถียรธรรมสถาน. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศ์, 2(2), 35-44.

สุรางรัตน์ โฆษิตธนสาร วิไลลักษณ์ ปิยะวัฒนพงษ์ นงลักษณ์ แสนกิจตะ และอภัสรา มาประจักษ์. (2563). ประสิทธิผลของโปรแกรมการสอนโรงเรียนพ่อแม่ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในหญิงตั้งครรภ์แรกโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น. วารสารศูนย์อนามัยที่ 7 ขอนแก่น, 13(1), 74-87.

Lazarus, R. S. & Folkman, S. (1984). Stress Appraisal and Coping. New York, Springer Publishing Company.

World Health Organization. (2020). COVID 19 Public Health Emergency of International Concern (PHEIC) Global research and innovation forum: towards a research roadmap. Retrieved from https://www.who.int/publications/m/item/covid-19-public-health-emergency-of-international-concern-(pheic)-global-research-and-innovation-forum

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-13