ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความเชื่อและการปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ ของผู้สำเร็จการศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี

ผู้แต่ง

  • ปานทิพย์ ปูรณานนท์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ปิยะรัตน์ หยกสุริยันต์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • กุลิสรา ขุนพินิจ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • กรกนก บุญประถัมภ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

การรับรู้ความเชื่อ, การปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการรับรู้ความเชื่อและการปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความเชื่อกับการปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ และ 3) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการปฏิบัติการพยาบาลของผู้สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี กลุ่มตัวอย่างคือผู้สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี ตั้งแต่ปีการศึกษา 2554-2563 จำนวน 193 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ระหว่างวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 ถึงวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ แบบสอบถามการรับรู้ความเชื่อในการปฏิบัติการพยาบาลด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์ แบบสอบถามการปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ และแบบสอบถามปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ ความเชื่อมั่นของเครื่องมือ Alpha Cronbach’s coefficient เท่ากับ 0.88 0.93 และ 0.91 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความเชื่อและการปฏิบัติโดยใช้ Pearson’s correlation

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 85.50 มีอายุระหว่าง 24-28 ปี ร้อยละ 55.44 เป็นระดับผู้ปฏิบัติงาน ร้อยละ 98.20 ทำงานในหน่วยงานภาครัฐ ร้อยละ 76.30 โดยกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 100 ได้รับความรู้เกี่ยวกับการวิจัย และมีประสบการณ์ทำวิจัยจากการเรียนที่วิทยาลัยเท่านั้น ร้อยละ 51.29 มีประสบการณ์ในการปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์เพิ่มเติมภายหลังสำเร็จการศึกษา การรับรู้ความเชื่อในการปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ภาพรวมมีทัศนคติในทางบวก ร้อยละ 63.73 มีการปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 58.03 มีปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 48.19 และพบว่าการรับรู้ความเชื่อในการปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01

References

กิตติยารัตน์ ต้นสุวรรณ์, นันทวัน สุวรรณรูป และนันทิยา วัฒายุ. (2562). การรับรู้อุปสรรคการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ ทัศนคติและประสบการณ์การวิจัยต่อการปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครราชสีมา, 25(2), 25-40.

ธีรารักษ์ นำภานนท์, วิลาวัณย์ พิเชียรเสถียร และอุษณีย์ จินตะเวช. (2558). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการปฏิบัติตามหลักฐานเชิงประจักษ์ของพยาบาลกุมารเวชศาสตร์ในเขตภาคเหนือ. พยาบาลสาร, 42 S, 49-60.

นุสรา ประเสริฐศรี, มณีรัตน์ จิรัปปภา, และอภิรดี เจริญนุกูล. (2559). ผลของโปรแกรมการสอนตามแนวคิดการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ต่อสมรรถนะการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์ในนักศึกษาพยาบาล. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา, 17(3), 145-155.

บุญศรี พรหมมาพันธุ์. (2561). เทคนิคการแปลผลการวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการใช้สหสัมพันธ์และการถดถอยในการวิจัย. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ., 11(1), 32-45.

ปานทิพย์ ปูรณานนท์ และทัศนีย์ เกริกกุลธร. (2554a). ความสามารถและทัศนคติในการปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ของนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลศาสตร์, 29(1), 45-52.

ปานทิพย์ ปูรณานนท์ และทัศนีย์ เกริกกุลธร. (2554b). ปัจจัยทำนายสมรรถนะของนักศึกษาพยาบาลในการปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์. วารสารพยาบาลศาสตร์, 29(2)S1, 47-55.

ลัดดาวัลย์ พุทธรักษา, รัชนีภรณ์ ทรัพย์กรานนท์ และประนอม โอทกานนท์. (2559). ปัจจัยสู่ความสำเร็จในการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ทางการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา,24(3), 94-103.

วิภาวรรณ นำศรีเจริญกุล. (2563). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิตประจักษ์หลักฐานสำหรับนักศึกษาพยาบาล. [วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สภาการพยาบาล. (2562). ประกาศสภาการพยาบาลเรื่อง มาตรฐานการพยาบาล พ.ศ. 2562.

สุพรรณี กัณหดิลก, ตรีชฎา ปุ่นสำเริง และศิริวรรณ ผูกพัน. (2563). การบูรณาการการสอนภาคปฏิบัติด้วยการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ทางการพยาบาลที่มีต่อทักษะการสืบค้นวรรณกรรม ทักษะการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์และทักษะการปฏิบัติการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์สำหรับนักศึกษาพยาบาล. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 13(2), 10-28.

อรนุช วรรณกูล. (2561). การพัฒนาแนวปฏิบัติการหย่าเครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยวิกฤติศัลยกรรมโรงพยาบาลพัทลุง. กระบี่เวชสาร, 1(2), 1-12.

อุเทน ปัญโญ. (2555). ระเบียบวิธีวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 11). เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนอร์ทเชียงใหม่

Davidson, J. E., & Brown, C. (2014). Evaluation of nurse engagement in evidence-based practice. AACN Advanced Critical Care, 25(1), 43-55.

Estrada, M. (2009). Exploring perceptions of a learning organization by RNs and relationship to EBP beliefs and implementation in the acute care setting. Worldviews on Evidence-Based Nursing, 6(4), 200-209.

Fuller, B. (2013). Evidence-based instructional strategies: Facilitating linguistically diverse Nursing student learning. Nurse Educator, 38(3), 118-121.

Funk, S.G., Champagne, M.T., Wiese, R.A., & Tornquist, E.M. (1991). Barriers to using research findings in practice: The clinician’s perspective. Applied Nursing Research, 4(2), 90-95.

Melnyk, B.M., Fineout- Overholt, E., & Mays M.Z. (2008). The evidence-based practice beliefs and implementation scales: psychometric properties of two new instruments. Worldviews on Evidence-Based Nursing, 5(4), 208–216.

Melnyk, B.M., Fineout-Overholt, E., Stillwell, S.B., & Williamson, K.M. (2010). Evidence-Based practice: step by step: the seven steps of evidence-based practice. AJN The American Journal of Nursing, 110(1), 51-53.

Naeem, S.B., Bhatti, R., & Ishfaq, K. (2017). Nurses' attitude and belief toward evidence‐based nursing practices in tertiary care hospitals of Multan, Pakistan. ISRA Medical Journal, 9, 101-105.

Schaffer, M.A., Sandau, K.E., & Diedrick, L. (2013). Evidence-based practice models for organizational change: overview and practical applications. Journal of Advanced Nursing, 69(5), 1197-1209.

Tilson, J.K., Kaplan, S.L., Harris, J.L., Hutchinson, A., Ilic, D., Niederman, R., Zwolsman, S.E. (2011). Sicily's statement on classification and development of evidence-based Practice learning assessment tools. BMC Medical Education, 11:78.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-11-28