ผลการประยุกต์ใช้เทคนิค KYT เพื่อความปลอดภัยในการยกเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากเตียงนอนลงสู่รถเข็นของผู้ดูแลในศูนย์การดูแลผู้สูงอายุแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี
คำสำคัญ:
เทคนิค KYT, ความปลอดภัย, การยกเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากเตียงนอนลงสู่รถเข็นบทคัดย่อ
การยกเคลื่อนย้ายด้วยแรงกายและท่าทางที่ไม่เหมาะสมซ้ำ ๆ ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อหลังส่วนล่างของคนทำงาน การประยุกต์ใช้เทคนิค KYT จะช่วยทำให้ลดอุบัติเหตุจากการทำงานช่วยเพิ่มจิตสำนึกในด้านความปลอดภัยซึ่งเป็นคาดการณ์ว่าจะมีอันตรายใดแฝงอยู่ในงานที่ต้องปฏิบัติและหาวิธีการควบคุมป้องกันอันตราย การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง กลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความปลอดภัยในการยกเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากเตียงนอนลงสู่รถเข็นก่อนและหลังการประยุกต์ใช้เทคนิค KYT ในกลุ่มตัวอย่างที่ปฏิบัติงานในศูนย์การดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งได้จากการสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 12 คน ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2566 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยเครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือกิจกรรมการฝึกหยั่งรู้อันตราย หรือ Kiken Yoshi Training (KYT) แบบจุดเดียว เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบประเมินความปลอดภัยในการยกเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากเตียงนอนลงสู่รถเข็นที่เป็นฉบับมาตรฐาน จำนวน 18 ท่า และแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ที่มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.81 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน Wilcoxon Sign Rank Test
ผลการวิจัยพบว่าภายหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างสามารถปฏิบัติท่าทางความปลอดภัยในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากเตียงนอนลงสู่รถเข็นทั้ง 18 ท่าทางได้ถูกต้องมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p value<.05) ดังนั้น การประยุกต์ใช้เทคนิค KYT สามารถช่วยให้ผู้ดูแลมีท่าทางในการยกเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากเตียงนอนลงสู่รถเข็นได้ถูกต้อง ส่งผลให้ลดอันตรายและความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บบริเวณหลังส่วนล่างจากการยกเคลื่อนย้ายผู้ป่วยได้
References
กรมควบคุมโรค. (2560). คู่มือแนวทางการจัดบริการอาชีวอนามัยให้กับแรงงานในชุมชนด้านการยศาสตร์ สำหรับเจ้าหน้าที่หน่วยบริการสุขภาพปฐมภูมิ. กลุ่มอาชีวอนามัย สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
จันจิราภรณ์ วิชัย และสุนิสา ชายเกลี้ยง. (2557). การประเมินความเสี่ยงทางการยศาสตร์ในพนักงานที่มีการยก เคลื่อนย้ายวัสดุ. วารสารวิจัย มข, 19(5), 708-719.
ปัญจ์ปพัชร บุญพร้อม, นาถนัดดา มรกตศรีวรรณ, ญาณิศา พึ่งเกตุ และสิทธิพันธุ์ ไชยนันทน์. (2564). การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้เชิงปฏิบัติการในกิจกรรมอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุในชุมชนเขตบางกอกใหญ่
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2554). หลักความปลอดภัยในการทำงาน (พิมพ์ครั้งที่ 11). โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สำนักงานประกันสังคม. (2561). สถานการณ์การประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน ปี 2556-2560. กลุ่มงานกำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน.
สุนันทา ถาวร. (2559). ผลของกิจกรรมการฝึกหยั่งรู้อันตรายแบบปากเปล่า (Oral KYT) ต่อพฤติกรรมความปลอดภัย ในพนักงานฝ่ายผลิตของโรงงานแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
Huang Z, Nagata A, Kanai-Pak M, Maeda J, Kitajima Y, Nakamura M, et al. (2014). Self-Help Training System for Nursing Students to Learn Patient Transfer Skills in IEEE Transactions on Learning Technologies, 7(4), 319-332.
Levy SB, Rosemary KS, David HW, Sherry LB. (2011). Recognizing and preventing occupational and environmental disease and injury. Oxford University Press, New York.
Sato Y, Okamoto S, Kayaba K, Nobuhara H, Soeda K. (2017). Effectiveness of role-play in hazard prediction training for nursing students: A randomized controlled trial. Journal of Nursing Education and Practice, 8(1), 1-7.
Theilmeier T., et al. (2010). Work-related musculoskeletal disorders in the healthcare sector. Scandinavian Journal of Work, Environment & Health, 36(4), 273-284.
Vinstrup J, Jakobsen MD, Madeleine P et al. (2020). Physical exposure during patient transfer and risk of back injury & low-back pain: prospective cohort study. BMC Musculoskelet Disord 21, 715.
Yahyaei K, Yazdi K, Kolagari S, Rahmani H. (2019). Effect of Patient Transfer Training on Low Back Pain in Pre-hospital Emergency Medical Services Personnel. Journal of Clinical and Basic Research, 3(4), 31-36.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา (Thai Journal of Public Health and Health Education) เป็นลิขสิทธิ์ของ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี