ประสิทธิผลการพัฒนาทักษะการสื่อสาร ISBAR ในการส่งมอบข้อมูลผู้ป่วยฉุกเฉิน ของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์

ผู้แต่ง

  • ดวงกมล หน่อแก้ว วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • นุชจรินทร์ แก่นบุปผา วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • นัจรินทร์ ผิวผ่อง วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • พนาไพร โฉมงาม วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • กันยารัตน์ ชิราวุฒิ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • สุคนธ์ทิพย์ บัวแดง วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • กรกช เพทาย วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

การส่งมอบข้อมูลผู้ป่วยฉุกเฉิน, ทักษะการสื่อสาร ISBAR, ปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่มวัดก่อนและหลังทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลการพัฒนาความรู้และทักษะการสื่อสาร ISBAR กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ประจำปีการศึกษา 2566 จำนวน 38 คน เครื่องมือที่ใช้ทดลอง คือ รูปแบบการพัฒนาทักษะการสื่อสาร ISBAR ในการส่งมอบข้อมูลผู้ป่วยฉุกเฉิน ประกอบด้วยการสอนความรู้ การฝึกทักษะส่งมอบข้อมูลผู้ป่วยฉุกเฉินในสถานการณ์เสมือนจริง และการสะท้อนคิดหลังการพัฒนา เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบวัดความรู้และแบบประเมินทักษะ ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัยด้วยค่าดัชนีความตรง ได้ค่า CVI 0.96-1.00 ค่าความเชื่อมั่นแบบวัดความรู้ ได้ค่า KR-20=0.71 แบบประมินทักษะ ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา  ครอนบาค 0.74 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าทดสอบ Paired sample t-test ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 78.90 อายุเฉลี่ย 19.98 ปี ความรู้การสื่อสาร ISBAR ในการส่งมอบข้อมูลผู้ป่วยฉุกเฉินเปรียบเทียบก่อนและหลังการพัฒนา พบว่าหลังการพัฒนามีค่าเฉลี่ยความรู้เพิ่มขึ้นจาก 9.53 (S.D.±1.55) เป็น 11.10 (S.D.±1.45) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=3.68, p<.05) ทักษะการสื่อสาร ISBAR ในการส่งมอบข้อมูลผู้ป่วยฉุกเฉินเปรียบเทียบทักษะก่อนและหลังการพัฒนา พบว่าหลังการพัฒนามีค่าเฉลี่ยทักษะเพิ่มขึ้นจาก 3.71 (S.D.±.34) เป็น 4.66 (S.D.±.25) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=13.00, p<.001) รูปแบบการพัฒนาทักษะการสื่อสาร ISBAR ในการส่งมอบข้อมูลผู้ป่วยฉุกเฉินช่วยให้นักศึกษามีความรู้และทักษะการสื่อสาร ISBAR เพิ่มขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ สถาบันการศึกษาสามารถนำผลวิจัยไปใช้พัฒนานักศึกษาเพื่อให้การส่งมอบข้อมูลมีความถูกต้อง ส่งผลต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย

References

จุไรรัตน์ ดวงจันทร์. (2563). การสื่อสารเพื่อส่งต่อข้อมูลทางการพยาบาลด้วยเทคนิคเอสบาร์. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม, 21(41), 91-103.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์กรมหาชน). (2561). เป้าหมายความปลอดภัยของผู้ป่วยของประเทศไทย พ.ศ. 2561. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: เฟมัส แอนด์ ซัคเซ็สฟูล.

Bramhall, E. (2014). Effective communication skills in nursing practice. Nursing Standard, 29(14), 3-59.

Chen, M., Yin, j., Jia, R., Zhang, H., Yan, R. & Zhang, Y. (2020). Impact of ISBAR communication training on interpersonal communication and teamwork of residents in general practice standardized training. Technium Social Science Journal, 11, 76-83.

Cudjoe, K.G. (2016). Add identity to SBAR. Nursing made Incredibly Easy, 14(1), 1-6.

Hendra, Mudatsir & Wardanl, E. (2021). The Improvement of knowledge and attitude of nurses through SBAR communication training. International Journal of Scientific & Technology Research, 10(6), 110-116.

Hill, E., Gordon, M., & Gurbutt, D. (2023). Developing health professional students’ handover skills through a virtual, interprofessional handover workshop. Journal of Interprofessional Education & Practice, 33, 1-9.

Guasconi, M., et al. (2022). Handover methods between local emergency medical services and accident and emergency: is there a gold standard? A scoping review. Acta Biomed, 93(4), 1-11.

Kostiuk, S. (2015). Can learning the ISBARR framework help to address nursing students’ received anxiety and confidence levels associated with handover reports? Journal of Nursing Education, 54(10), 583-587.

Li, X., Zhao, J. & Fu, S. (2022). SBAR standard and mind map combined communication mode used in emergency department or reduce the value of handover defects and adverse events. Journal of Healthcare Engineering, 8475322.

Shahid, S. & Thomas, S. (2018). Situation, background, assessment, recommendation (SBAR) communication tool for handoff in health care- a narrative review. BMC, 4(7), 1-9.

Stewart, K.R., & Hand, K.A. (2017). SBAR, communication, and patient safety: An integrated literature review. MEDSURG Nursing, 26(5), 297-304.

Sukesih, S. & Faridah, U. (2020). SBAR communication (situation, background, assessment, recommendation) on attitude and nursing behavior in improving patient safety. Journal of Kesehatan Masyarakat, 16(2), 163-168.

The joint commission. (2017). Inadequate hand-off communication. Sentinel Event Alert, 58(12), 1-6.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-04-08