คุณภาพชีวิตพระภิกษุสงฆ์ ในอำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
คำสำคัญ:
คุณภาพชีวิต, พระภิกษุสงฆ์บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิต และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับคุณภาพชีวิตของพระสงฆ์ในอำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่าง 148 รูป เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างเดือนเมษายน ถึงพฤษภาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติการทดสอบที และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่าพระภิกษุสงฆ์ส่วนใหญ่เป็นพระลูกวัด ร้อยละ 75.00 อายุเฉลี่ย 48.77 ปี จำนวน พรรษาเฉลี่ย 7.80 พรรษา ระดับการศึกษาแผนกสามัญสูงสุดประถมศึกษา ร้อยละ 24.32 ผ่านการศึกษาแผนกธรรมบาลีร้อยละ 58.78 และส่วนใหญ่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 81.08 มีภาพรวมคุณภาพชีวิตปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 80.41 คุณภาพชีวิตรายด้าน พบว่าทุกด้านอยู่ในระดับคุณภาพชีวิตปานกลาง มากที่สุด คือ ด้านสุขภาพกาย รองลงมาคือ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านจิตใจ และด้านสัมพันธภาพทางสังคม คิดเป็นร้อยละ 90.54, 79.73, 75.68 และ 70.27 ตามลำดับ นอกจากนี้ พระภิกษุสงฆ์ที่มีตำแหน่งหน้าที่ในวัด ช่วงอายุ การศึกษาแผนกสามัญ และการศึกษาแผนกธรรม/บาลีที่แตกต่างกัน มีคุณภาพชีวิตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนพระภิกษุสงฆ์ที่มีพรรษาที่แตกต่างกัน และมีโรคประจำตัว คุณภาพชีวิตไม่แตกต่างกัน จากผลการวิจัยชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ดังนั้น หน่วยงานทางด้านสาธารณสุขควรจัดให้มีแนวทางในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของพระภิกษุสงฆ์ โดยการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพให้มีการดูแลตนเอง แนวทางการออกกำลังกายที่ไม่ขัดต่อหลักพระธรรมวินัย รวมไปถึงการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อคุณภาพชีวิตที่ดี
References
กรมสุขภาพจิต. (2555). เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย. กรมสุขภาพจิต. สืบค้นจาก https://dmh.go.th/test/whoqol/
นอรีนี ตะหวา และหทัยรัตน์ ตัลยารักษ์. (2566). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับคุณภาพชีวิตของกลุ่มวัยทำงานในชุมชนเทศบาลเมืองปากพูน จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 32(1), 31-42.
พระครูรัตนกิจจาภิวัฒน์ (วิชัย คำผาด), สิทธิพรร์ สุนทร และเสาวลักษณ์ นิกรพิทยา. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพชีวิตพระสงฆ์ในเขตอำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 7(2), 16-30.
พระครูศิริโสธรคณารักษ์. (2565). บทบาทพระสงฆ์ต่อการส่งเสริมคุณภาพชีวิต. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, 6(2), 624-635.
พระครูสมุห์ชินวรวัตร ถิรภทฺโท. (2565). บทบาทพระสงฆ์: ท่ามกลางวิกฤตของสังคมไทย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทัศน์, 11(6), 151-166.
พระมหาณัฏฐานันท์ อนาลโย (กุลจรัสโภคิน) และพระมหาธณัชพงศ์ สุพฺรหฺมปญฺโญ (คิดอ่าน). (2565). รูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตการสนับสนุนทางสังคมและความคงอยู่ของพระคิลานุปัฏฐากในเขตการปกครองคณะสงฆ์ ภาค 7. วารสาร มจร.หริภุญชัยปริทรรศน์, 6(2), 1-15.
พระมหาไพจิตร อุตฺตมธมฺโม. (2565). รูปแบบการดำรงชีวิตของพระภิกษุนิกายเถรวาท. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 12(4), 192-207.
พระอติคุณ ธิติวโร, ระวิง เรืองสังข์ และอินถา ศิริวรรณ. (2565). พระปริยัติธรรมแผนกธรรมกับสภาพสังคมไทยในปัจจุบัน. นิตยสารเสียงธรรมจากมหายาน, 8(2), 24-35
ภรณ์แพร ตุ้มทอง และเกวลิน ศีลพิพัฒน์. (2566). คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุจังหวัดนนทบุรี. Journal of Roi Kaensarn Academi, 8(10), 184-197.
โรงพยาบาลขุนหาญ. (2566). โครงการคนขุนหาญ ดูแลพระสงฆ์ไทย ห่างไกลโรค 4.0 ภายใต้การขับเคลื่อนธรรมนูญสุขภาพพระสงฆ์แห่งชาติ “สงฆ์ไทยไกลโรค 4.0” เขตพื้นที่อำเภอขุนหาญ โรงพยาบาลขุนหาญ ปีงบประมาณ 2566. ศรีสะเกษ: กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลขุนหาญ.
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2562). ธรรมนูญสุขภาพพระสงค์แห่งชาติ พุทธศักราช 2560. นนทบุรี: บริษัท โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์ จำกัด.
Cohen, J. (1977). Statistical power for the behavioral sciences (2nded). New York: Academic Press.
Lemeshow, S., Hosmer, D. W., Klar, J., & Lwanga, S. K. (1990). Adequacy of sample size in health studies. Colchester: Courier International Ltd.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา (Thai Journal of Public Health and Health Education) เป็นลิขสิทธิ์ของ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี