ผลของโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการป้องกันอาการภูมิแพ้ ของผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้

ผู้แต่ง

  • จรัสศรี ทหารไทย โรงพยาบาลพัทลุง

คำสำคัญ:

สมรรถนะแห่งตนในการดูแลตนเอง, พฤติกรรมการป้องกันอาการภูมิแพ้, โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่ม วัดผลก่อน-หลังการทดลอง เพื่อศึกษาโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการป้องกันอาการภูมิแพ้ของผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ จากโรงพยาบาลพัทลุง จำนวน 60 ราย เก็บรวมรวมข้อมูลระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึง ธันวาคม 2566 เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย โปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการดูแลตนเอง โดยใช้ 4 กลยุทธ์ในการพัฒนาสมรรถนะแห่งตน ได้แก่ 1) การส่งเสริมสภาวะการทางสรีระและอารมณ์ 2) การสังเกตจากตัวแบบ 3) การได้รับคำแนะนำ และ 4) ประสบการณ์จากการลงมือกระทำ ซึ่งผู้วิจัยพัฒนาขึ้นตามแนวคิดการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนของแบนดูรา และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันอาการภูมิแพ้ของผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยด้วยสถิติ t-test

ผลการศึกษา พบว่าก่อนและหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการดูแลตนเองผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ของกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันอาการภูมิแพ้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<.05 และคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันอาการภูมิแพ้ของกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p<.05 ดังนั้น พยาบาลประจำคลินิกหู คอ จมูก ควรนำโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนไปใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมการดูแลตนเองในผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ต่อไป

References

เกษราภรณ์ อ่อนทอง, นฤมล ธีระรังสิกุล และศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์. (2564). ผลของโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการป้องกันอาการภูมิแพ้ของเด็กวัยเรียนโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 29(2), 36-46.

จุไรรัตน์ กีบาง. (2554). ผลของโปรแกรมพัฒนาความสามารถของเด็กวัยเรียนโรคโพรงจมูกอักเสบภูมิแพ้และผู้ดูแลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของเด็กและพฤติกรรมการดูแลเด็กของผู้ดูแล. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหา บัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ฐิติมา แซ่แต้ และศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์. (2562). ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองต่อพฤติกรรมสุขภาพและสมรรถภาพปอดของเด็กวัยเรียนโรคหืด. วารสารพยาบาลตำรวจ, 11(1), 139-150.

ปารยะ อาศนะเสน. (2557). โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้. สืบค้นจาก https://www.rcot.org/2021/pdf/allergic_rhinitis31-7-2017.pdf

ทรงกลด เอี่ยมจตุรภัทร, ขจร เสรีศิริขจร, กรเกียรติ สนิทวงศ์, กรรณิการ์ รุ่งโรจน์วัฒนศิริ, กวินญรัตน์ จิตรอรุณฑ์, กังสดาล ตันจรารักษ์ และคณะ. (2565). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ในคนไทย (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2565). วารสารหู คอ จมูก และใบหน้า, 23(1), 53-312.

พิมพ์พญา สมดี. (2558). พฤติกรรมการป้องกันอาการภูมิแพ้ของเด็กวัยเรียนโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

มาลินี ทองดี, ณิชาภา เดชาปภาพิทักษ์, ธนัชพร กาฝากส้ม, อุมาพร อุดมทรัพยากุล, ชามาศ วงค์ษา และวรรณดา ไล้สวน. (2562). การศึกษาคุณภาพชีวิตและอาการทางจมูกของผู้ป่วยโรคจมูกอักเสบเรื้อรัง เปรียบเทียบก่อนและหลังการรักษา. รามาธิบดีเวชสาร, 42(2), 21-29.

สถิติโรงพยาบาลพัทลุง. (2566). เวชระเบียนผู้ป่วยโรงพยาบาลพัทลุง จังหวัดพัทลุง

สมาคมโรคภูมิแพ้โรคหืดและวิทยาภูมิคุ้มกันแห่งประเทศไทย. (2559). โรคภูมิแพ้ในเด็ก (ตอนที่1). สืบค้นจาก http://allergy.or.th/2016/resources_expert_detail

Bandura, A. (1997). Self-Efficacy: The Exercise of Control. New York: W.H. Freeman.

Bernard, R. (2000). Fundamentals of biostatistic (5th ed). Duxbery: Thaomson learning.

Chodosh, J., Morton, S.C. & Mojica, W. (2005) Meta-analysis: chronic disease self-management programs for older adults. Annals of Internal Medicine, 143(6), 427-438.

Hayden, M.L., & Womack, C.R. (2017). Caring for patient with allergic rhinitis. Journal of the American Academy of Nurse Practitioners, 19(6), 290-298.

Kuehl, B.L, Abdulnour, S., O’Dell, M., & Kyle, T.K. (2015). Understanding the role of the healthcare professional in patient self-management of allergic rhinitis. SAGE Open Medicine, 3.

Meltzer, E.O. (2016). Quality of life in adults and children with allergic rhinitis. Journal of Allergy Clinical Immunology, 103(Suppl), 45-53.

Sritipsukho, P., Satdhabudha, A., & Nanthapisal, S. (2015). Effect of allergic rhinitis and asthma on the quality of life in young Thai adolescents. Asian Pacific Journal of Allergy and Immunology, 33(3), 222-226.

Ward, L.S., Hisley, M.S., & Kennedy, M.A. (2016). Maternal-Child Nursing Care (2th ed). Philadelphia: Davis Company.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-20