การศึกษาระบบบริการสุขภาพ ปัญหาอุปสรรค และความคิดเห็นของประชาชนต่อโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในระยะเปลี่ยนผ่านการถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด

ผู้แต่ง

  • กุลธิดา กุลประฑีปัญญา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • เพชรรัตน์ พิบาลวงศ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สรรพสิทธิประสงค์ คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ธีระวัฒน์ วีระพันธ์ สำนักงานสาธารณอำเภอเหล่าเสือโก้ก จังหวัดอุบลราชธานี
  • ธีระพงษ์ แก้วภมร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี
  • รุ่งรัตน์ พละไกร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

ระบบบริการสุขภาพ, การถ่ายโอนภารกิจ, โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบบริการสุขภาพ ปัญหาอุปสรรค และความคิดเห็นของประชาชนต่อโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในระยะเปลี่ยนผ่านการถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาล สาธารณสุขอำเภอ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล พยาบาลวิชาชีพจำนวน 18 คน และประชาชนผู้รับบริการในอำเภอเหล่าเสือโก้กจำนวน 415 คน เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถาม และข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือด้านความตรง IOC 0.67-1.00 และค่าเที่ยงโดย Cronbach’s Alpha=0.87 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า ระบบบริการสุขภาพในระยะเปลี่ยนผ่านการถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล มีการให้บริการประชาชนใน 4 มิติทั้งการส่งเสริม ป้องกัน รักษาและฟื้นฟู ครอบคลุมเหมือนเดิม ในส่วนของพยาบาลวิชาชีพหลังการถ่ายโอนมีความสุขในการปฏิบัติงานดี แต่ยังมีความกังวลใจเกี่ยวกับความมั่นคงของตำแหน่งงาน ปัญหาและอุปสรรคที่พบคือ งบประมาณ และการจัดอัตรากำลังบุคลากรในปัจจุบันยังไม่เพียงพอเนื่องจากบุคลากรที่ไม่ถ่ายโอนจะต้องย้าย อีกทั้งระเบียบกฎหมายระหว่างกระทรวงไม่เหมือนกันจึงต้องมีการปรับตัวอย่างมาก สำหรับความคิดเห็นของประชาชนต่อโรงพยาบาล ในด้านของการป้องกันโรค การรักษาโรคเบื้องต้น การฟื้นฟูสภาพ และการให้บริการของบุคลากร ความคิดเห็นก่อนการถ่ายโอนภารกิจอยู่ในระดับมากที่สุด (x=4.52, S.D.=0.64) และหลังการถ่ายโอนภารกิจอยู่ในระดับมาก (x=4.46, S.D.=0.66) โดยด้านสถานที่ อุปกรณ์ และสิ่งอำนวยความสะดวกความคิดเห็นก่อนการถ่ายโอนภารกิจอยู่ในระดับมาก (x=4.45, S.D.=0.69) และภายหลังการถ่ายโอนภารกิจอยู่ในระดับมาก (x=4.42, S.D.=0.78)

References

กชพรรณ โรจนวิชิตพงศ์. (2559). บทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบลในการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนขนมไทยเพชรบุรีศึกษากรณีองค์การบริหารส่วนตำบลนาพันสาม. สืบค้นจาก https://rep0sit0ry.rmutr.ac.th/bitstream/handle/123456789/1002/fulltext_is_76.pdf?sequence=1&isAll0wed=y

คณะกรรมการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี เพื่อพัฒนาระบบป้องกันควบคุมโรคแห่งชาติ. (2561). แผนพัฒนาด้านการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพของประเทศ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579). (พิมพ์ครั้งที่ 2). สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

จรวยพร ศรีศศลักษณ์. (2560). สรุปบทเรียนการถ่ายโอนภารกิจด้านสาธารณสุขให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. (สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข). สืบค้นจาก https://kb.hsri.0r.th/dspace/bitstream/handle/11228/4798/ researchhealthcenter%20Jaruayp0rn.pdf?seque nce=1

ตุลยวดี หล่อตระกูล ,อนุวัต กระสังข์ และธิติวุฒิ หมั่นมี. (2564). ความพร้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการรับถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลใน อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารการบริหารนิติบุคคลและวัฒนธรรมท้องถิ่น, 17(6), 29-42.

บุญมี แก้วจันทร์ และอนุรักษ์ ศรีใจ. (2565). การพัฒนารูปแบบช่วยการตัดสินใจของบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในการถ่ายโอนไปยังสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด, เชียงรายวารสาร, 14(1), 119-135.

ปนิตา ธีรสฤษกุล, บัญชา พร้อมดิษฐ์, จันทิมา นวะมะวัฒน์. (2561). การประเมินผลการถ่ายโอนภารกิจด้านสาธารณสุขไปยังสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตสุขภาพที่ 3. วารสารศูนย์การศึกษาแพทย์ศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 35(2), 203-213.

พูลพฤกษ์ โสภารัตน์. (2564). ระบบงานทันตสาธารณสุขภายหลังการถ่ายโอนสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกรณีศึกษาสถานีอนามัยสันนาเม็ง อ.สันทราย จ.เชียงใหม่. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 14(2), 108-118.

ลือชัย ศรีเงินยวง, ประเชิญ ศิริวรรณ, สายสุดา วงศ์จินดา และสลักจิต ชื่นชม. (2556). การถ่ายโอนสถาณีอนามัยสู่ท้องถิ่น: การสังเคราะห์บทเรียนจากกรณีศึกษาพื้นที่ถ่ายโอน และข้อเสนอเชิงนโยบาย. ภาควิชาสังคมและสุขภาพ คณะสังคมศาสตร์และมนุษศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

วราภรณ์ ผ่องอ่วย, ปาณิสรา นาเลิศ และโชติ บดีรัฐ. (2565). ช่องว่างและอุปสรรคในการถ่ายโอนภารกิจ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ, 2(4). 205-220.

ศิริลักษณ์ โกวิทยานนท์. (2559). สถานการณ์ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลจังหวัดพิษณุโลกภายหลังนโยบายยกระดับสถานีอนามัยเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ, 4, 117-136.

สินศักดิ์ชนม์ อุ่นพรมมี. (2556). พัฒนาการสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพ. นนทบุรี. ธนาเพรส จำกัด.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี. (2565). รายงานผลการถ่ายโอนภารกิจของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล. สรุปรายงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานีประจำปี 2565.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนคร. (2564). คู่มือการปฏิบัติงานตามภารกิจหลัก และภารกิจสนับสนุน. สืบค้น จาก https://skk0.m0ph.g0.th/dward/d0cument_file/d_akatamnuay/training_file_name/20211230174601_733475617.pdf

Best, J.W., & Kahn, J.V. (1997). (1997). Research in Education. 7th ed. Boston: Allyn and Bacon.

Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-14