คุณลักษณะส่วนบุคคลและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการดูแลผู้สูงอายุของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในตำบลบ้านเอื้อง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • จินตนา ทองสง่า นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • นพรัตน์ เสนาฮาด คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ประจักร บัวผัน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

คุณลักษณะส่วนบุคคล, การสนับสนุนจากองค์การ, การดูแลผู้สูงอายุ, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยทำนายการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการดูแลผู้สูงอายุของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในตำบลบ้านเอื้อง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม กลุ่มตัวอย่าง คืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในตำบลบ้านเอื้อง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม จำนวน 159 คน คัดเลือกด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ คือแบบสอบถามสำหรับเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ และแนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึกสำหรับเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุเชิงเส้นแบบขั้นตอน

ผลการศึกษาพบว่าภาพรวมระดับการสนับสนุนจากองค์การและระดับการดูแลผู้สูงอายุของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อยู่ในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ย 2.20 (S.D.=0.36) และ 2.27 (S.D.=0.41) ตามลำดับ และตัวแปรทั้ง 4 ตัวแปร ประกอบด้วย การสนับสนุนจากองค์การด้านบริหารจัดการ ด้านบุคลากร ด้านวัสดุอุปกรณ์ และคุณลักษณะส่วนบุคคลด้านรายได้ สามารถร่วมกันในการพยากรณ์และมีผลต่อการดูแลผู้สูงอายุของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในตำบลบ้านเอื้อง อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ได้ร้อยละ 49.1 (R2=0.491)

จากผลการวิจัยควรส่งเสริมและสนับสนุนให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านให้มีส่วนร่วมในการวางแผนการดำเนินงานและให้ความสำคัญกับการประสานงานในการดูแลผู้สูงอายุ ทั้งในระดับหมู่บ้าน ระดับชุมชน และการประสานงานกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านสามารถดูแลผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2562). คู่มือแนวทางการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ.รมอนามัย. กรุงเทพฯ: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

เฉลิมพล หนูยอด, มกราพันธุ์ จูฑรสก, และประจักร บัวผัน. (2565). คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 29(2), 30-41.

ตติยภรณ์ มงคลวัจน์, ประจักร บัวผัน, และศุมาลิณ ดีจันทร์. (2565). การสนับสนุนจากองค์การและปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีผลต่อการดำเนินงานการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 29(2), 42-52.

ทองหล่อ เดชไทย. (2549). หลักการบริหารสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สามเจริญพาณิชย์.

ภคมน สมศรี, มกราพันธุ์ จูฑะรสก และประจักร บัวผัน. (2564). คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการดูแลผู้สูงอายุของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลปอภาร อำเภอร้อยเอ็ด. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 21(3), 200-210.

มนฤดี อุดมดัน, ประจักร บัวผัน และมกราพันธุ์ จูฑะรสก. (2562). การดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 19(1), 161-171.

วราภรณ์ นันทวงศ์ และสุวิทย์ อุดมพาณิชย์. (2561). การสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน ติดเตียงขออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านอำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 11(1), 395-402.

สถิตย์ กลมวงค์, ประจักร บัวผัน, และนครินทร์ ประสิทธิ์. (2566). คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงของอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น จังหวัดบุรีรัมย์.วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 23(1),26-37.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (พ.ศ.2561-2580).กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม. (2565ก). ฐานข้อมูลอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. นครพนม: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม. (2565ข). รายงานประเมินผลการปฏิบัติงาน. นครพนม:สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครพนม.

อันธิกา วาทะ และสุวิทย์ อุดมพาณิชย์. (2562). การสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการดูแลคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลบึงเกลือ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม,16(1),166-175.

ไอลดา ภารประดิษฐ์,ประจักร บัวผัน. (2562). คุณลักษณะส่วนบุคคลและปัจจัยทางการบริหารที่มีผลต่อการดูแลผู้สูงอายุขออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอเมืองจังหวัดสกลนคร. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 13(3), 623-631.

Best, J.W. (1977). Research in education. 3rd ed. Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavior sciences. 2nd ed. Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum.

Schermerhom, J.R., Osbom, R.N., Uhl-Bien, M., & Hunt, J.G. (2011). Organizational Behavior 11th ed. New York: John Wiley & Sons.

World Health Organization. (2012). Programme on mental health: WHOQOL Measuring quality of life. Geneva: WHO.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-23