ผลการปรึกษาออนไลน์รูปแบบวิดีโอคอลตามแนวคิดเกสตัลท์ต่อการกล้าแสดงออกที่เหมาะสมของนักศึกษาในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
คำสำคัญ:
การปรึกษาออนไลน์, การปรึกษาตามแนวคิดเกสตัลท์, การกล้าแสดงออกที่เหมาะสมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองเพื่อเพื่อศึกษาผลการปรึกษาออนไลน์รูปแบบวิดีโอคอลตามแนวคิดเกสตัลท์ต่อการกล้าแสดงออกที่เหมาะสมของนักศึกษาในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี สถาบันพระบรมราชนก ทั้ง 5 หลักสูตร ที่มีคะแนนการกล้าแสดงออกที่เหมาะสมในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพในระดับปานกลางถึงน้อยที่สุดจากเกณฑ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นและมีความสมัครใจในการเข้าร่วมการวิจัย จำนวน 20 คน ทำการสุ่มเข้ากลุ่มแบ่งเป็นนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แแบบวัดการกล้าแสดงออกที่เหมาะสมในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ จำนวน 27 ข้อ มาตรวัด 4 ระดับที่มีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ .813 2) โปรแกรมการปรึกษาออนไลน์รูปแบบวิดีโอคอลตามแนวคิดเกสตัลท์ จำนวน 8 ครั้ง สำหรับกลุ่มทดลอง โดยใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำสองทางและทดสอบความแตกต่างด้วยวิธีบอน เฟอร์โรนี ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษากลุ่มทดลอง มีคะแนนการกล้าแสดงออกที่เหมาะสมในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพในระยะเวลาหลังการทดลองและระยะติดตามผลการทดลองสูงกว่าระยะเวลาก่อนการทดลอง และ 2) นักศึกษากลุ่มทดลองมีคะแนนการกล้าแสดงออกที่เหมาะสมในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพในระยะเวลาหลังการทดลองและระยะติดตามผลการทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม ดังนั้นการปรึกษาออนไลน์รูปแบบวิดีโอคอลตามแนวคิดเกสตัลท์จะช่วยพัฒนาการกล้าแสดงออกที่เหมาะสม และเพิ่มการตระหนักรู้รวมถึงมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อเพื่อนร่วมงาน เพื่อเตรียมพร้อมกลายเป็นบุคคลากรทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพ
References
ณัฐวุฒิ สรพิพัฒน์เจริญ, วรากร ทรัพย์วิระปกรณ์ และ อนงค์ วิเศษสุวรรณ. (2559). การปรับตัวของนิสิตที่รับการปรึกษาออนไลน์ตามแนวทฤษฎีการปรึกษาแบบเน้นทางออก. วารสารวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา, 13(1), 79-93.
เนตรนภา กาบมณี, วัจนา สุคนธวัฒน์, สุชาติ ค้าทางชล และสกาวเดือน มงคลสุคนธรัก. (2560). พฤติกรรมกล้าแสดงออกตามคุณลักษณะวิชาชีพพยาบาลและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(2), 161-172.
พงษ์พันธ์ พงษโสภา และวิไลลักษณ์ พงษโสภา. (2556). ทฤษฎีและเทคนิคการให้บริการปรึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภาสกร คุ้มศิริ. (2563). แนวทางการให้บริการปรึกษาเชิงจิตวิทยาผ่านเทคโนโลยี.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 15(1), 31-43.
รุจา แก้วเมืองฝาง และอัญญา ปลดเปลื้อง. (2562). ผลของโปรแกรมโยคะต่อความเครียดของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ที่ฝึกปฏิบัติทำคลอดเป็นครั้งแรก. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(2), 642-657.
วัชรี ทรัพย์มี. (2556). ทฤษฎีให้บริการปรึกษา (7). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Alberti, R. & Emmons, M. (2017). Your perfect right: Assertiveness and equality in your life and relationships: new harbinger publications.
Amos, P. M., Bedu-Addo, P. & Antwi, T. (2020). Experiences of Online Counseling Among Undergraduates in Some Ghanaian Universities. SAGE Open, 10(3). 1-11.
Bahreyni, M., Mohammadi, Baghmallaei, M., Zare, M. A. & Shahamat, S. (2005). Effect of assertiveness training on self-esteem on nursing student. Armaghan Danesh, 10(37). 89-96.
Begley, C. M. & Glacken, M. (2004). Irish nursing students' changing levels of assertiveness during their pre-registration programme. Nurse Education Today, 24(7), 501-510.
Byaruhanga, J., Wiggers, J., Paul, C. L., Byrnes, E., Mitchell, A., Lecathelinais, C. & Tzelepis, F. (2020). Acceptability of real-time video counselling compared to other behavioral interventions for smoking cessation in rural and remote areas. Drug and Alcohol Dependence, 217. 108296. https://doi.org/10.1016/j.drugalcdep.2020.108296
Corey, G. (2012). Theory and practice of counseling and psychotherapy: Nelson Education.
Ela, N., Edi, P., Sigit, S. & Nailul, F. (2023,). Application of Assertive Training to Improve Self-esteem of Adolescent. Proceedings of the International Seminar on Delivering Transpersonal Guidance and Counselling Services in School. ASSEHR 743, 122–131.
Javadi larijani, F., Mojtabaie, M., Moghaddasi, M. & Hatami, M. (2023). Effectiveness of gestalt therapy, behavioral activation and placebo on symptoms of anxiety in women suffering multiple sclerosis: A randomized controlled trial. International Journal of Travel Medicine and Global Health, 11(1), 227-233.
Lin, Y. R., Shiah, I. S., Chang, Y. C., Lai, T. J., Wang, K. Y. & Chou, K. R. (2004). Evaluation of an assertiveness training program on nursing and medical students’ assertiveness, self-esteem, and interpersonal communication satisfaction. Nurse Education Today, 24(8), 656-665.
Liu, J. & Gao, L. (2021). Analysis of topics and characteristics of user reviews on different online psychological counseling methods. International Journal of Medical Informatics, 147. 104367. https://doi.org/10.1016/j.ijmedinf.2020.104367
Maloney, M. E. & Moore, P. (2020). From aggressive to assertive. International Journal of Women's Dermatology, 6(1), 46-49.
Moghimian, M., Amini, R. & Kashani, F. (2016). Effect of Gestalt therapy on assertiveness of nursing students. Journal of Holistic Nursing and Midwifery, 26(1), 72-79.
Omura, M., Levett‐Jones, T. & Stone, T. E. (2019). Evaluating the impact of an assertiveness communication training programme for Japanese nursing students: A quasi-experimental study. Nursing open, 6(2), 463-472.
Richards, D. & Viganó, N. (2013). Online counseling: a narrative and critical review of the literature. Journal of Clinical Psychology, 69(9), 994-1011.
Woodard, S. L. (1995). Counseling Disruptive Black Elementary School Boys. Journal of Multicultural Counseling & Development, 23(1), 21-28.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา (Thai Journal of Public Health and Health Education) เป็นลิขสิทธิ์ของ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี