รูปแบบการปฏิบัติงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ภายใต้แนวคิด สบช.โมเดล

ผู้แต่ง

  • รัชชานนท์ วันทาแก่น วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ธีรพล หล่อประดิษฐ์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
  • ยุทธนา แยบคาย วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

การเฝ้าระวังโรค, การป้องกันโรค, การควบคุมโรค, โรคพิษสุนัขบ้า

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงผสมผสานแบบขั้นตอนเชิงสำรวจครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและประเมินรูปแบบการปฏิบัติงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ภายใต้แนวคิด สบช. โมเดล แบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ 1) การสร้างรูปแบบการปฏิบัติงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ภายใต้แนวคิด สบช.โมเดล ด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 36 คน ซึ่งได้จากการคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเอกพันธ์ เครื่องมือการวิจัย คือแนวทางการระดมสมอง ผู้วิจัย ผู้ช่วยวิจัย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการระดมความคิด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลด้วยการตรวจสอบแบบสามเส้าด้านผู้วิจัย และ 2) การประเมินรูปแบบการปฏิบัติงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ภายใต้แนวคิด สบช.โมเดล ด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 27 คน ซึ่งได้จากการคัดเลือกโดยวิธีเฉพาะเจาะจง เครื่องมือการวิจัย คือแบบประเมิน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา

ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการปฏิบัติงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ภายใต้แนวคิด สบช.โมเดล ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ การเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้าของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน การป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผลการประเมินคุณภาพของรูปแบบ พบว่า ด้านความเหมาะสม ความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ และความถูกต้องครอบคลุมอยู่ในระดับมาก (X=3.92, S.D.=0.80)

References

กรมประชาสัมพันธ์. (2566). สคร.9 เตือน หากถูกสุนัขกัด!! รีบล้างแผลให้สะอาด และฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้ครบทุกเข็ม. สืบค้นจาก https://www.prd.go.th/th/content/category/detail/id/9/iid/224832

กรมปศุสัตว์, กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, กรมควบคุมโรค, และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2566). บันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือการพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครที่ปฏิบัติงานด้านโรคพิษสุนัขบ้า ภายใต้โครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า ตามพระปณิธานศาสตราจารย์ ดร. สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี. กรุงเทพมหานคร: กรมปศุสัตว์.

กองระบาดวิทยา. (2566). กรมควบคุมโรค แนะประชาชนหากถูกสุนัขกัดให้รีบไปฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าให้ครบทุกเข็ม เผยปีนี้พบผู้เสียชีวิตแล้ว 3 ราย. สืบค้นจากhttps://ddc.moph.go.th/doe/news.php?news=34654&deptcode=doe&news_views=67

ชิรวัฒน์ นิจเนตร. (2560). การวิจัยพัฒนารูปแบบทางสังคมศาสตร์และการศึกษา. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี. 4(2), 71-102.

ชุลีกร คงบุญ. (2566). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อมาตรฐานสมรรถนะของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดนครพนม. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ, 4(1), 139-149

ธีรวัฒน์ วลัยเสถียร, บุญทนากร พรมภักดี, จุลจิลา หินจำปา, คณยศ ชัยอาจ, และกิตติศักดิ์ สีสด. (2563). รูปแบบการพัฒนาพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า แบบบูรณาการการมีส่วนร่วมของชุมชนกับโมเดลเชิงตรรกะตามนโยบายคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับพื้นที่ (พชพ.): องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองพล อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น, 27(3), 111-132

ธีระพงษ์ ตัณฑวิเชียร. (2565). โรคพิษสุนัขบ้า และการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า. สืบค้นจาก https://www.idthai.org/Contents/Views/?d=!8!11!!104!

นิยม ศิริ. (2564). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความสุขในการทำงานป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดน่าน. วารสารสหวิชาการเพื่อสุขภาพ, 3(2), 18-31

เบญญาดา กระจ่างแจ้ง, และปิยะ จำรัส. (2561). ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จของการนำกลยุทธ์ One health ไปปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาโรคพิษสุนัขบ้า (Rabies free zone) ตำบลเขาสามสิบ อำเภอเขาฉกรรจ์ จังหวัดสระแก้ว [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

พระราชบัญญัติสถาบันพระบรมราชชนก พ.ศ. 2562. (5 เมษายน 2562). ราชกิจจานุเบกษา, 136(43 ก), หน้า 40-65.

พุทธิไกร ประมวล, และบังอร เหล่าเสถียรกิจ. (2566). การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานเฝ้าระวังและป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโดยชุมชนมีส่วนร่วม จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 16(1), 90-106.

ยุทธนา แยบคาย, และปราโมทย์ วงศ์สวัสดิ์. (2563). การปฏิบัติงานตามบทบาทที่สำคัญของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 31(2), 269-279.

ยุทธนา แยบคาย, และปราโมทย์ วงศ์สวัสดิ์. (2566). รูปแบบการพัฒนาผลการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. วารสารแพทย์นาวี, 50(3), 651-668.

ยุทธพงษ์ ครชาตรี. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าของเจ้าของสุนัข ตำบลเขาวิเศษ อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง. สืบค้นจาก https://www.thaiscience.info/Journals/Article/TSUJ/10996868.pdf

ยุพดี ตรีชาลา, สุมัทนา กลางคาร, และจารุวรรณ วิโรจน์ (2565). การศึกษาสมรรถนะการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.). วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี, 20(2), 41-55

วิชัย เทียนถาวร. (2566). แนวคิด สบช.โมเดล. นนทบุรี: สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข.

วิชาญ บุญกิติกร. (2566). แนวทางการผลักดันการสร้างพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้าผ่านกลไกคณะกรรมการโรคติดต่อระดับจังหวัด. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2556). เผยสุนัขกัดคนปีละไม่ต่ำกว่าล้าน ครึ่งหนึ่งเมินฉีดวัคซีน. สืบค้นจาก https://www.thaihealth.or.th/?p=277975

สุเพียร สมนา. (2564). การวิจัยและประเมินผลแนวทางการดําเนินงาน และเฝาระวังโรคพิษสุนัขบาแบบมีสวนรวม อําเภอหนองฮี จังหวัดรอยเอ็ด. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ, 2(2), 183-195.

สุวิทย์ โรจนศักดิ์โสธร. (2565). การพัฒนาเครือข่ายการดำเนินงานและเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี, 20(2), 9-23.

เสาวพักตร์ ฮิ้นจ้อย, สหภาพ พูลเกษร, สมคิด คงอยู่, ธีรศักดิ์ ชักนำ, ปณิตา คุ้มผล และประวิทย์ ชุมเกษียร. (2561). บทสรุปทางระบาดวิทยาในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

หทัยกาญจน์ ยางศรี, สงครามชัย ลีทองดี และจมาภรณ์ ใจภักดี. (2560). รูปแบบการดำเนินงานและการเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้าในชุมชนเพื่อให้เป็นเขตพื้นที่ปลอดโรค อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 12(2), 86-95.

อรพิรุฬห์ ยุรชัย, อรปวีณ์ สการะเศรณี, และรัตนาภรณ์ สองแก้ว. (2565). คู่มือการสร้างและประเมินพื้นที่ปลอดโรคพิษสุนัขบ้า. กรุงเทพมหานคร: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

Best, J. W. (1977). Research in education (3rd ed). Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.

Madaus, G. F, Scriven, M.S., & Stufflebeam, D. L. (1983). Evaluation models: viewpoints on educational and human services evaluation (8th ed). Boston, MA: Kluwer-Nijhoff.

Miles, M. B., & Huberman, A. M. (1994. Qualitative data analysis: an expanded sourcebook (2nd ed). Thousand Oaks, CA: SAGE.

World Health Organization. (2018). WHO expert consultation on rabies, third report. Geneva, Switzerland: World Health Organization.

World Health Organization, Food and Agriculture Organization of the United Nations, & World Organization for Animal Health. (2018). Zero by 30: the global strategic plan to end human deaths from dog-mediated rabies by 2030. Geneva, Switzerland: World Health Organization.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-01