การประเมินความปลอดภัยด้านเคมีและด้านจุลินทรีย์ของอาหารที่จำหน่ายรอบรั้วโรงเรียน พื้นที่เขตแห่งหนึ่ง กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • สรินทร พัฒอำพันธ์ สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
  • วิกรม รุจยากรกุล สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
  • อนิรุธ จันทพาส สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
  • สุคนธ์ ขาวกริบ สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม

คำสำคัญ:

ความปลอดภัยในอาหาร, รอบรั้วโรงเรียน, สถานที่จำหน่ายอาหาร, กรุงเทพมหานคร

บทคัดย่อ

อาหารเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเจริญเติบโต การได้รับอาหารที่สะอาดและปลอดภัยส่งผลต่อการมีสุขภาพกาย   ที่แข็งแรง งานวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประเมินความปลอดภัยของอาหารที่วางจำหน่ายรอบรั้วโรงเรียนระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา จำนวน 6 แห่ง ในพื้นที่เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร ทั้งทางด้านเคมีและทางด้านจุลินทรีย์ ระหว่างเดือนพฤษภาคม-ธันวาคม พ.ศ. 2566 นำเสนอผลการศึกษาด้วยค่าความถี่และร้อยละ ผลการสำรวจพบการปนเปื้อนด้านเคมี 11 ตัวอย่างจาก 91 ตัวอย่าง ร้อยละ 12.09 สารเคมีที่พบการปนเปื้อน คือ บอแรกซ์และฟอร์มาลิน อาหารตัวอย่างที่พบการปนเปื้อนบอแรกซ์สูงสุดได้แก่  ลูกชิ้นหมู/เนื้อ หมูแดดเดียว และ ไส้กรอกแดง ร้อยละ 100, 100 และ 66.67 ตามลำดับ ส่วนฟอร์มาลินพบการปนเปื้อนในปลาหมึกสูงสุด ร้อยละ 75.00 และพบการปนเปื้อนด้านจุลินทรีย์ร้อยละ 78.85 โดยพบการปนเปื้อนเชื้อแบคทีเรียในภาชนะ/อุปกรณ์ สูงสุดร้อยละ 100 พบการปนเปื้อนในอาหารพร้อมรับประทานที่วางจำหน่ายสูงสุด ร้อยละ 100 เช่นเดียวกัน พบการปนเปื้อนแบคทีเรียในเครื่องดื่มและน้ำแข็งที่วางจำหน่ายสูงถึงร้อยละ 100 และ 81.25 ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าอาหารที่วางจำหน่ายรอบรั้วโรงเรียนมีการปนเปื้อนทั้งทางเคมีและทางจุลชีววิทยาอยู่ในระดับสูง หน่วยงานราชการที่ตรวจสอบควบคุมการจำหน่ายอาหารในพื้นที่ดังกล่าวได้นำผลการศึกษาไปประกอบการอบรมให้ความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหาร เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการปนเปื้อนในอาหาร

References

ณภัทร วัฒนโรจนาพร, ศรัญปรียา ศรีสินรุ่งเรือง, ธันยนนท์ เพ็ชรตระกูล, อาภัสรา สังขฤกษ์, ธนัชชา ดวงแก้ว, เทพสุดา นากดวงตา และคณะ. (2566). การปนเปื้อนของแบคทีเรียโคลิฟอร์มในอาหารพร้อมรับประทานภาชนะใส่อาหาร และวัตถุสัมผัสบริเวณโรงอาหาร และร้านค้าริมทางด้วยชุดทดสอบเบื้องต้น กรณีศึกษา:เขตพญาไทกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 9(4), 134–141.

ธัญชนก เหลือสมัย, ฤดีวลิดล จงผล, ดลลชา ชาลวันกุมภีร์ และจรวยพร สมทรัพย์. (2565). การตรวจหาแบคทีเรียโคลิฟอร์มและเอสเชอริเชีย โคไล ในเครื่องดื่มที่ไม่ได้บรรจุในภาชนะเป็นสนิมซึ่งจำหน่ายโดยรอบมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี จังหวัดกาญจนบุรี. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ครั้งที่ 14 (น. 54-61). นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

ธินกร ไฝเพชร. (2563). การตรวจสารฟอร์มาลินในอาหารทะเล บริเวณพื้นที่ตลาด อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน, 2(2), 26-36.

พระราชบัญญัติคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ พ.ศ. 2551. (2551). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 125 ตอนที่ 31 ก. หน้า 40.

มาลินี ฉินนานนท์. (2560). การวิเคราะห์หาปริมาณบอแรกซ์ในเนื้อหมูและลูกชิ้นที่จำหน่ายในจังหวัดตรัง. วารสารวิจัย มทร.กรุงเทพ, 11(1), 55-61.

เริงสิทธิ์ นามวิชัยศิริกุล. (2561). สถานการณ์นโยบายไม่กินหวานในโรงเรียน ในอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารทันตาภิบาล, 29(1), 14-25.

วิภาวัลย์ บัวศรียอด, นุสบา นามวงศ์, สว่างพงษ์ เรืองศรี, เขมจิรา กัญญะลา, นูรฮูดา สุวรรณนุรักษ์, ลัดดาวัลย์ พะวร และคณะ (2563). การตรวจหาฟอร์มาลินในน้ำแช่อาหารทะเลในตลาดจังหวัดนครราชสีมา. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 7 (น. 1016-1023). นครราชสีมา: วิทยาลัยนครราชสีมา.

ศูนย์วิทยาบริการ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (2567). อันตรายจากฟอร์มาลินในอาหาร. สืบค้นจาก http://elib.fda.moph.go.th/library/default.

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หน่วยเคลื่อนที่เพื่อความปลอดภัยด้านอาหาร. (2558). สถานการณ์ความปลอดภัยด้านอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ณ สถานที่จำหน่าย (กรุงเทพมหานคร) ผลการตรวจวิเคราะห์เบื้องต้นด้านเคมีและจุลินทรีย์ปีงบประมาณ 2557. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา 2558.

สำนักส่งเสริมและสนับสนุนอาหารปลอดภัย (สสอป.) สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2565). บอแรกซ์อันตรายต่อสุขภาพ. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

สำนักส่งเสริมและสนับสนุนอาหารปลอดภัย (สสอป.) สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2566). รายงานสถานการณ์ความปลอดภัยอาหารปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. นนทบุรี. สุภชัย ถ่ายเอกสาร.

สุดสายชล หอมทอง และอมรรัตน์ ชำนาญ. (2561). การตรวจหาแบคทีเรียโคลิฟอร์มในเครื่องดื่มสมุนไพรที่วางจำหน่ายในตลาดสดใกล้กับมหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี. สักทอง: วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สทวท.), 5(2), 11-21.

สุดสายชล หอมทอง และเบญจวรรณ ชุมพินิจ. (2563). การตรวจหาแบคทีเรียคอลีฟอร์มและ Escherichia coli ในน้ำแข็งที่จำหน่ายบริเวณใกล้กับมหาวิทยาลัยบูรพาจังหวัดชลบุรี. สักทอง : วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สทวท.), 7(1), 35-44.

Fox, M. K., Dodd, A. H., Wilson, A., & Gleason, P. M. (2009). Association between school food environment and practices and body mass index of US public school children. Journal of the American Dietetic Association, 109(2 Suppl), S108–S117.

Rhodehamel, E.J. (1992). Overview of Biological, Chemical, and Physical Hazards. In: Pierson, M.D., Corlett, D.A. (eds) HACCP. Springer, Boston, MA. https://doi.org/10.1007/978-1-4684-8818-0_3

Wansink B. (2004). Environmental factors that increase the food intake and consumption volume of unknowing consumers. Annual Review of Nutrition, 24, 455–479.

World Health Organization. (2018). Foodborne diseases. Retrieved from https://www.who.int/health-topics/foodborne-diseases#tab=tab_1

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-15