การพัฒนาโปรแกรมในการจัดอาหารเพื่อสุขภาพในบริบทของของนักศึกษาแผนกวิชาอาหารและโภชนาการ คณะวิชาคหกรรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • นิพนธ์ กุลนิตย์ ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี

คำสำคัญ:

โปรแกรมการจัดหารอาหาร, อาหารและโภชนาการ, อาหารเพื่อสุขภาพ, นักศึกษา

บทคัดย่อ

 

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลลัพธ์ของโปรแกรมในการจัดอาหารเพื่อสุขภาพต่อความรู้และทักษะของนักศึกษาแผนกวิชาอาหารและโภชนาการ คณะวิชาคหกรรม วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง คือ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดด้านโภชนาการและการจัดการเรียนการสอนด้านโภชนาการของวิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี จำนวน 20 คน และนักศึกษาแผนกวิชาอาหารและโภชนาการ จำนวน 100 คน วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบความแตกต่างคะแนนเฉลี่ยความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับอาหารและโภชนาการ ทักษะความสามารถเกี่ยวกับอาหารและโภชนาการ และพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม ด้วยสถิติ Paired t-test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ p value<.05

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับอาหารและโภชนาการ ทักษะความสามารถเกี่ยวกับอาหารและโภชนาการ และพฤติกรรมการบริโภคอาหาร สูงกว่าก่อนการเข้าร่วมโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p value<.05 แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมพัฒนาความรู้และทักษะความสามารถเกี่ยวกับอาหารและโภชนาการและพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพิ่มขึ้น วิทยาลัยควรนําโปรแกรมไปใช้ในการส่งเสริมการเรียนรู้ในนักศึกษา และควรจัดกิจกรรมให้กับนักศึกษาแผนกวิชาอาหารและโภชนาการ คณะวิชาคหกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดการเรียนรู้และทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน

References

กรมอนามัย. (2563). รายงานสถานการณ์สุขภาพประชากรไทย. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงสาธารณสุข.

กรมอนามัย. (2565). โปรแกรมคำนวณคุณค่าทางอาหาร Thai Nutri Survey (TNS). สืบค้นจาก: https://nutrition2. anamai.moph.go.th/th/thai-nutri-survey

ผลิดา หนุดหละ, ปิยะนุช จิตตนูนท์, และกาญจน์สุนภัส บาลทิพย์. (2560). ผลของโปรแกรมการเตือนตนเองด้านการบริโภคอาหารโดยใช้อินเตอร์เน็ตต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารและน้ำหนักตัวในวัยรุ่นที่มีภาวะโภชนาการเกิน. วารสารสภาการพยาบาล, 32(1), 32-46

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). ประมาณการค่าใช่จ่ายต่อความยากจนภาวะสังคมไทย ไตรมาสสาม (จุลสาร). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี. (2564). รายงานสถานการณ์สุขภาพประชาชนจังหวัดอุบลราชธานี. อุบลราชธานี: กระทรวงสาธารณสุข.

สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี. (2566). จำนวนนักศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี ปีการศึกษา 2566. สืบค้นจาก: http://www.uvc.ac.th/home/index.php/all-uvc/resource-management-department/registrar-section

ศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี. (2565). รายงานการดำเนินงานอนามัยเด็กวัยเรียนศูนย์อนามัยที่ 10 อุบลราชธานี. อุบลราชธานี: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.

Best, J.W., & Kahn, J.V. (1997). Research in Education. (8th ed). Boston: Allyn & Bacon.

Bloom, B.S. (1971). Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw–Hill.

Burke, L. E., Styn, M. A., Glanz, K., Ewing, L. J., Elci, O. U., Conroy, M. B. et al. (2009). SMART trial: A randomized clinical trial of self-monitoring in behavioral weight management-design and baseline findings. Contemporary Clinical Trials. 30(6), 540-551. https://doi.org/10.1016/j.cct.2009.07.003

Centers for Disease Control and Prevention. (2021). Overweight & Obesity. Retrieved from https://www.cdc.gov/obesity/data/adult.html

Contento, I. R. (2016). Nutrition education: Linking research, theory, and practice (3rd ed). Jones & Bartlett Learning.

Israel, B.A., Eng, E., Schulz, A.J., & Parker, E.A. (2005). Methods in community-based participatory research for health. Jossey-Bass.

Kemmis, S., & McTaggart, R. (1998). The Participation Action Research Reader (3rd ed). Geelong: Deakin University Press.

Kemmis, S., & McTaggart, R. (2005). Participatory action research: Communicative action and the public sphere. In N. K. Denzin & Y. S. Lincoln (Eds), The Sage handbook of qualitative research Sage.

Kolb, D.A. (2014). Experiential learning: Experience as the source of learning and development (2nd ed). Pearson FT Press.

Minkler, M., & Wallerstein, N. (Eds.). (2008). Community-based participatory research for health: From process to outcomes (2nd ed). Jossey-Bass.

Nestle, M. (2013). Food politics: How the food industry influences nutrition and health (3rd ed). University of California Press.

Reason, P., & Bradbury, H. (2008). The Sage handbook of action research: Participative inquiry and practice (2nd ed). Sage.

World Health Organization. (2021). Obesity and Overweight. Retrieved from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/obesity

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-08-01