กลยุทธ์การเสริมสร้างสมรรถนะด้านวิชาการและความก้าวหน้าในสายวิชาชีพ สำหรับบุคลากร สังกัดสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
กลยุทธ์, การเสริมสร้างสมรรถนะ, สมรรถนะด้านวิชาการ, ความก้าวหน้าในสายวิชาชีพบทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากลยุทธ์การเสริมสร้างสมรรถนะด้านวิชาการและความก้าวหน้าในสายวิชาชีพสำหรับบุคลากร สังกัดสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองอุบลราชธานี (สสอ.) ดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาบริบท (R1) 2) พัฒนากลยุทธ์ (D1) 3) ทดลองกลยุทธ์ (R2) 4) นำกลยุทธไปใช้ ประเมินผล ถอดบทเรียนและปรับปรุงกลยุทธ์ (D2) กลุ่มตัวอย่าง 1) การศึกษาบริบทฯ เป็นข้าราชการสาธารณสุข สังกัด สสอ. จำนวน 97 คน 2) การพัฒนากลยุทธ์ 2.1 กลุ่มตัวอย่างในการสร้างกลยุทธ์ฯ เป็นผู้บริหาร ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านวิชาการและการวิจัย และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 19 คน 2.2 ผู้เชี่ยวชาญประเมินกลยุทธ์ จำนวน 17 คน 3) การทดลองกลยุทธ์ การนำกลยุทธไปใช้ ประเมินผล ถอดบทเรียนและปรับปรุงกลยุทธ์ กลุ่มตัวอย่าง 50 คน เป็นข้าราชการ สสอ.เมืองอุบลราชธานี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) กลยุทธ์ฯ 2) แบบทดสอบความรู้ฯ 3) แบบประเมินความเหมาะสมและเป็นไปได้ของ กลยุทธ์ 4) แบบสอบถามสมรรถนะฯ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา Paired Sample t-test และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า กลยุทธ์การเสริมสร้างสมรรถนะด้านวิชาการและความก้าวหน้าในสายวิชาชีพของบุคลากรสาธารณสุข สังกัด สสอ. ประกอบด้วย 6 กลยุทธ์ คือ (1) ด้านการวิจัย นวัตกรรม และหลักฐานเชิงประจักษ์ (2) ความรู้ทางวิชาการและวิชาชีพ (3) การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล (4) ด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (5) การพัฒนาผลงานทางวิชาการและการเผยแพร่ (6) ด้านการพัฒนาวิชาชีพและการจัดทำเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ กลยุทธ์ฯ มีความเหมาะสมและเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅=4.57, S.D.=0.23) 4) ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินการวิจัย และสมรรถนะด้านวิชาการและความก้าวหน้าในสายวิชาชีพ สูงกว่าก่อนการพัฒนากลยุทธ์ฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.001) ความพึงพอใจต่อกลยุทธ์ฯโดยรวมอยู่ในระดับมาก (X ̅=4.48, S.D.=0.32) ควรนำกลยุทธ์ไปเสริมสร้างสมรรถนะด้านวิชาการและความก้าวหน้าในสายวิชาชีพสำหรับบุคลากรสาธารณสุขต่อไป
References
กระทรวงสาธารณสุข, สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ (2559). ยุทธศาสตร์บุคลากรเป็นเลิศ (People Excellence). นนทบุรี : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
จันทร์ทา มั่งคำมี. (2562). การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรสำนักยุทธศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภายใต้แนวทางการบริหารจัดกาพภาครัฐแนวใหม่. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
จีระเกียรติ ประสานธนกุล. (2565). การพัฒนากลยุทธ์ในการส่งเสริมสมรรถนะของบุคลากรในองค์กรสาธารณสุข. วารสารวิชาการสาธารณสุขตาก, 5(1), 10-20.
ชมพูนุช สุภาพวานิช, นภัสสร ใจดี, อรทัย หงษ์ยิ้ม, & ธนิตา สุขกมล. (2565). การพัฒนาสมรรถนะการทำงานของบุคลากรสาธารณสุขในมุมมองผู้บริหารของเขตสุขภาพ 1-12. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 53(65), 158-153.
นพวรรณ ธีระพันธ์เจริญ. (2559). การพัฒนาศักยภาพการวิจัย R2R ของบุคลากรสาธารณสุขในจังหวัด พระนครศรีอยุธยา. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(2) , 205-214.
บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2555). การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย:คุณสมบัติการวัดเชิง. จิตวิทยา.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปิยวรรณ บุญเพ็ญ, ยุทธนา ไชยจูกุล และดุษฎี โยเหลา. (2561). สมรรถนะวิจัยและตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับการทำวิจัยให้ประสบความสำเร็จ : กรณีศึกษา. วารสารเกษมบัณฑิต, 19 (1),12-20.
มานพ ด่านจุลละทรัพย์ และ ปิยธิดา พลาธิการ. (2563). การศึกษาแนวทางการพัฒนาบุคลากรสาธารณสุขเพื่อส่งเสริมความก้าวหน้าในสายวิชาชีพ: กรณีศึกษาจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารการพัฒนาสุขภาพและอนามัย, 10(1), 23-35.
ยุวดี ศิริยทรัพย์. (2560). การวางแผนทรัพยากรมนุษย์, Human resource planning. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
แรกขวัญ สระวาสี และสงกรานต์ กัญญมาสา (2562). ผลของการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยต่อการพัฒนาสมรรถนะผู้ปฏิบัติงานด้านภารกิจสนับสนุนการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 28(3), 500-508.
วิโรจน์ เซมรัมย์, วรางคณา จันทร์คง และ สมโภช รติโอฬาร. (2561). การวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยของบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร, 21(2), 102-108.
ศุภวิทย์ ภาษิต, & นิรันดร์ ญาณี โชคสมงาม. (2564). KM Knowledge Management. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิช ในเครือบริษัท วิช กรุ๊ป (ไทยแลนด์) จำกัด.
สุพัตรา จิตต์ถาวร, สินีนาฏ ขันทะนาม และ นิรมล ชูคัมภีร์. (2562). ผลกระทบของการพัฒนาศักยภาพการทำงานต่อความก้าวหน้าในอาชีพของบุคลากรสาธารณสุขในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 49(2), 45-60.
สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2567). แนวทางการพัฒนาบุคลากรภาครัฐ พ.ศ. 2566-2570 มติคณะ รัฐมนตรี วันที่ 12 มีนาคม 2567. นนทบุรี : สํานักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.
สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองอุบลราชธานี. (2567). รายงานการสำรวจข้อมูลผลงานวิชาการของบุคลากรสังกัดสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองอุบลราชธานี. อุบลราชธานี: สสอ.เมืองอุบลราชธานี.
อุไร ทรัพย์เมือง และ ศิริชัย อินทร์บัว. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความก้าวหน้าในสายอาชีพของบุคลากรสาธารณสุขในเขตภาคอีสาน. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 13(2), 112-120.
Bloom, B. S., Hastings, J. T., & Madaus, G. F. (1971). Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw-Hill Book Company.
Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16(3), 297-334.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Kuder, G. F., & Richardson, M. W. (1937). The theory of the estimation of test reliability. Psychometrika,2(3), 151-160.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา (Thai Journal of Public Health and Health Education) เป็นลิขสิทธิ์ของ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี