บทบาทและศักยภาพของครูผู้ดูแลเด็กในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • วรรณลีรัตน์ งามเลิศ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์สถาบันพระบรมราชชนก
  • ธิติรัตน์ ราศิริ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

บทบาท, ศักยภาพ, ครูผู้ดูแลเด็ก, การส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย

บทคัดย่อ

    การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับของบทบาทและศักยภาพในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กของครูผู้ดูแลเด็ก และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริมพัฒนาการเด็กของครูผู้ดูแลเด็ก อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างคือ ครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์เด็กเล็ก อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 128 คน คัดเลือกด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนเมษายน 2567 ถึงเดือนพฤษภาคม 2567 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเชิงเส้นแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า บทบาทในการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก อยู่ในระดับมาก (X ̅=2.86, S.D.=0.32) และศักยภาพครูผู้ดูแลเด็กในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย อยู่ในระดับมาก (X ̅=4.08, S.D.=0.64) สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ตัวแปรที่มีอำนาจพยากรณ์สูงที่สุดได้แก่ บทบาทในการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก (β=0.352, p<.001) รองลงมา การรับรู้ความสามารถของตนเอง (β=0.182, p=.036) และน้อยที่สุด คือ ศักยภาพครูผู้ดูแลเด็กในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (β=0.230, p=.017) ตามลำดับ โดยร่วมกันทำนายการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ได้ร้อยละ 52.6 (R2=0.526) โดยใช้สมการพยากรณ์ คือ Y= a+b1x1+ b2x2+b3x3 ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและบุคลากรทางการศึกษาควรให้ความสำคัญในบทบาทและศักยภาพของครูผู้ดูแลเด็กในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย โดยสามารถนำผลการศึกษาที่ได้ไปส่งเสริมสนับสนุนบทบาทและศักยภาพของครูผู้ดูแลเด็ก ในด้านการรับรู้ความสามารถของตนเอง เพื่อให้ครูผู้ดูแลเด็กหรือผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กหรือผู้ดูแลเด็กในศูนย์เด็กเล็กสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิผลในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยต่อไป    

References

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2565). รายงานการใช้บริการสาธารณสุข โปรแกรม Health Data Center. สืบค้นจาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/main/index_pk.php

กระทรวงสาธารณสุข. (2566). ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพัฒนาการเด็กปฐมวัย . สืบค้นจาก https://nich.anamai.moph.go.th/th/kpr67/download?id=114374&mid=38799&mkey=m_document&lang=th&did=34139

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แนวทางการดำเนินงานโครงการสถานศึกษาน้อมนาศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั้งยืน กระทรวงศึกษาธิการ สำนักส่งเสริมกิจการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักส่งเสริมกิจการศึกษา

กมลทิพย์ นิ้มคธาวุธ และศศิลักษณ์ ขยันกิจ. (2562). บทบาทครูในการสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาของเด็กเพื่อเข้าสู่ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 13(2), 10-12.

กุสุมาลี โพธิปัสสา. (2562). สภาวการณ์ส่งเสริมพัฒนาการเด็กก่อนวัยเรียนของศูนย์พัฒนาเด็ก ตำบลโนนสูง–น้ำคำ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร, 22(2), 25-37.

ชนะชัย คงมั่น และ นิคม นาคอ้าย. (2564). ศึกษาสภาพการดำเนินงานของครู/ผู้ดูแลเด็กในการดูแลและจัดประสบการณ์ การเรียนรู้และการเล่น เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย ตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดพิษณุโลก [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา]. มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

ชลันพร สังข์สิงห์. (2563). การพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ สำหรับเด็กปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลสมอทอง อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

ชุลีกร ด่านยุทธศิลป์.(2561). แบบจำลองการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์และการประยุกต์ ใช้ในการปฏิบัติการส่งเสริม สุขภาพทางการพยาบาล. วารสารพยาบาลสงขลา นครินทร์, 38(2), 132-141.

ณัฐกุล ภูกลาง. (2561). การพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปใน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ณัฐปภัสญ์ นวลสีทอง. (2560). ผลการเล่านิทานเสริมกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความสามารถทางภาษาของเด็กปฐมวัย. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 35(2), 140-147.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2553). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไออินเตอร์ มีเดีย.

ทิพย์ภารัตน์ ไชยชนะแสง. (2561). การมีส่วนร่วมของครอบครัวในการกระตุ้นและส่งเสริมพัฒนาการเด็ก ที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 41(1), 95-104.

ธนิดา จิตรทศ. (2563). ผลการศึกษาความต้องการและแนวทางการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย โรงเรียนเปรมประชาวัฒนา จังหวัดนนทบุรี. แผนกปฐมวัย : โรงเรียนเปรมประชาวัฒนา จังหวัดนนทบุรี.

วิจิตร จันดาบุตร. (2561). การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เทศบาลตำบลสีวิเชียร จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยทางการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 13(1), 208-219.

วิไลลักษณ์ หมดมลทิน. (2563). การพัฒนาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์บนพื้นฐานการสร้างเสริมสุขภาพ. วารสารการแพทย์และสาธารณสุขเขต 4, 10(1), 70-82.

สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน. (2565). “ปัญหาการจัดการศึกษาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น”. สำนักงานผู้ตรวจการ แผ่นดิน. สืบค้นจาก https://www.ombudsman.go.th/new/ปัญหาการจัดการศึกษาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น/

สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเชียงใหม่. (2561). แผนพัฒนาเด็กและเยาวชน จังหวัดเชียงใหม่ ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2560-2564. เอกสารวิชาการ เล่มที่ 2/2561. สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเชียงใหม่.

สำนักงานเลขาธิการ สภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ. (2562). มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ. สืบค้นจาก https://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER17/DRAWER002/GENERAL/DATA0002/00002274.PDF

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561 –2580. สืบค้นจาก https://drive.google.com/file/d/1XSBMp8OCsauJqECOB-XZLB91-cRrNsEV/view

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่. (2566). รายงานการใช้บริการสาธารณสุข โปรแกรม Health Data Center. สืบค้นจาก https://cmi.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=pformatedformat1php&cat_id=1ed90bc32310b503b7ca9b32af425ae5&id=2238b7879f442749bd1804032119e824

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเชียงดาว. (2566). สรุปผลงานประจำปีงบประมาณ 2566. รูปเล่มสรุปผลการดำเนินงานสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเชียงดาว.

สุกัลยา โพธาราม. (2567). ผลของโปรแกรมส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยต่อความรู้และพฤติกรรมส่งเสริมพัฒนาการ เด็กปฐมวัยของผู้ดูแลเด็กในเขตเทศบาลเมือง จังหวัดยโสธร. วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา 4(2): e268278–e268278.

สุปรีดา อดุลยานนท์. (2562). สสส. จับมือภาคีเครือข่าย พัฒนาศูนย์เด็กเล็กแบบก้าวกระโดด นำร่อง 273 แห่ง. สืบค้นจาก https://hilight.kapook.com/view/192705

อรุณี หรดาล. (2560). พัฒนาการด้านร่างกายของเด็กปฐมวัย: แนวทางการส่งเสริมและพัฒนา. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ. 10(1), 100-112.

Albert Bandura. (1997). Self-efficacy: The exercise of control. Page 22. New York: W.H. Freeman.

Gardner, Howard. (1993). Multiple intelligences: The theory in practice. New York: Basic Books, Harper Collins.

Pender, N.J., Murdaugh, C.L. & Parsons, M.A. (2011). Health Promotion in Nursing Practice. 6th Edition, Pearson, Boston.

Shonkoff, J. & D. Phillips. (2017). From Neurons to Neighborhoods: The Science of Early Childhood Development. Washington, D.C.: National Academy Press, 2000.; United Nations Children’s Fund, Early Moments Matter, New York: UNICEF.

UNICEF. (2020a). อนาคตเด็กประชากรโลก. สืบค้นจาก https://www.thelancet.com/action/showPdf?pii=S0140-6736%2819%2932540-1.

UNICEF. (2020b). การพัฒนาเด็กปฐมวัย | UNICEF Thailand. สืบค้นจาก https://www.unicef.org/thailand/th/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0

UNICEF et al. (2016). Advancing Early Childhood Development: From Science to Scale. Executive Summary, The Lancet, 2016. Retrieved from https://www.thelancet.com/pb-assets/Lancet/stories/series/ecd/Lancet_ECD_Executive_Summary.pdf.

World Health Organization. (2017). Early childhood health [Internet]. [cited 2017 June 30]. Retrieved from https://www.who.int/activities/promoting-healthy-growth-and-developmen

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-24