ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับการลดความแออัดในห้องฉุกเฉินตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ เขตบริการสุขภาพที่ 11

ผู้แต่ง

  • เพียงโสม สุ่มประดิษฐ์ โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี
  • วรรณชนก จันทชุม คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คำสำคัญ:

ภาวะห้องฉุกเฉินแออัด, โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ, การรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับการลดความแออัดในห้องฉุกเฉิน โดยปัจจัยคัดสรรประกอบด้วย นโยบายและระบบสนับสนุน อัตรากำลังบุคลากรทางการแพทย์ กลยุทธ์การจัดการกระบวนการไหลเวียนของผู้ป่วย การคัดแยกและการจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพภายในทีมและกับผู้ป่วยและญาติ ศึกษาในพยาบาลวิชาชีพจำนวน 111 คนที่ปฏิบัติงานในห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลระดับ ตติยภูมิ เขตบริการสุขภาพที่ 11 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน และมีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคระหว่าง .837 ถึง .979 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยคัดสรรทั้งหมดมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับการลดความแออัดในห้องฉุกเฉิน ตามการรับรู้ของพยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยอัตรากำลังบุคลากรทางการแพทย์มีความสัมพันธ์สูงสุด (r=.433) รองลงมาคือการคัดแยกและการจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ (r=.355) การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ (r=.355) นโยบายและระบบสนับสนุน (r=.354) และกลยุทธ์การจัดการกระบวนการไหลเวียนของผู้ป่วย (r=.314) ตามลำดับ ข้อค้นพบนี้ชี้ให้เห็นความจำเป็นในการดำเนินมาตรการเชิงกลยุทธ์ ได้แก่ การปรับอัตรากำลังให้สอดคล้องกับจำนวนผู้ป่วย การพัฒนาประสิทธิภาพและความถูกต้องของระบบคัดแยกผู้ป่วย การพัฒนาระบบการสื่อสาร และการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการข้อมูลผู้ป่วย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการสูงสุด

References

กรมการแพทย์. (2561). คู่มือแนวทางการจัดบริการห้องฉุกเฉินที่เหมาะสมกับระดับศักยภาพสถานพยาบาล. นนทบุรี: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.

กระทรวงสาธารณสุข. (2561). แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข) พ.ศ. 2560-2579. กระทรวงสาธารณสุข.

วีระพล พันธ์ช่วย, ทัศนีย์ สุนทร และประณีต ส่งวัฒนา. (2565). ผลของการสื่อสารแบบ AIDET ของพยาบาลวิชาชีพต่อการตอบสนองของครอบครัว ณ แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 14(3), 105-120.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2565). แนวทางปฏิบัติการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2565. สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ.

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). (2563). เกณฑ์การประเมินตนเองตามมาตรฐานการรับรองเฉพาะระบบ (Program/Disease Specific Certification). นนทบุรี : สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน).

สมฤดี แสงจันทร์. (2020). การจัดการความแออัดในห้องฉุกเฉิน: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ. วารสารพยาบาลศาสตร์, 38(2), 78-92.

American College of Emergency Physicians. (2022). Emergency department crowding: High-impact solutions. Annals of Emergency Medicine, 79(3), 261-269.

Burgess, L., Kynoch, K., & Hines, S. (2019). Implementing best practice into the emergency department triage process. International Journal of Evidence-Based Healthcare, 17(1), 27-35.

Burström, L. (2016). The impact of patient education on self-care in emergency department settings: Enhancing communication for better outcomes. International Journal of Emergency Nursing, 24(2), 120-125. https://doi.org/10.1016/j.ijnurstu.2016.03.002

Chang, A. M., Lin, A., Augustine, J., Handel, D., Howell, E., & Kim, H. J. (2018). Hospital strategies for reducing emergency department crowding: a mixed methods study. Annals of Emergency Medicine, 71(4), 497-505.

Crawford, K., Morphet, J., Jones, T., Innes, K., Griffiths, D., & Williams, A. (2018). Initiatives to reduce overcrowding and access block in Australian emergency departments: A literature review. Collegian, 25(5), 507-516.

Emergency Nurses Association. (2023). Emergency department crowding: Position statement. Journal of Emergency Nursing, 49(1), 96-99.

Erenler, A. K., Akbulut, S., Guzel, M., Cetinkaya, H., Karaca, A., Turkoz, B., et al. (2016). Reasons for overcrowding in the emergency department. The Journal of the Pakistan Medical Association, 66(5), 629-634.

Hoot, N. R., & Aronsky, D. (2020). Systematic review of emergency department crowding: Causes, effects, and solutions. Annals of Emergency Medicine, 52(2), 126-136.

Jesionowski, M., Riordan, J. P., & Quatrara, B. D. (2018). Does a provider in triage and rapid medical evaluation help with left without being seen rates and ED crowding? Journal of Emergency Nursing, 45, 38-45.

Johnson, K., & Thompson, J. (2021). Emergency department triage: A comprehensive review of current practice and challenges. International Emergency Nursing, 56, 100996.

Martinez, D. A., Kane, E. M., Jalalpour, M., Scheulen, J., Rupani, H., Toteja, R., Barbara, C., Bush, B., & Levin, S. R. (2019). An electronic dashboard to monitor patient flow at the Johns Hopkins hospital: communication of key performance indicators using the donabedian model. Journal of Medical Systems, 43(8), 1-12.

Moulton, D., Merchant, S., & Muntaner, C. (2021). Workforce challenges in overcrowded EDs: A narrative review. Journal of Emergency Nursing, 47(4), 761-770.

Van der Linden, M.C., Meester, B.E., & van der Linden, N. (2016). Emergency department crowding affects triage processes. International Emergency Nursing Journal. 29, 27-31.

World Health Organization. (2020). Patient safety: Making health care safer. Retrieved from: https://www.who.int/publications/i/item/WHO-HIS-SDS-2017.11

Yang, L., Sun, Y., Li, G., & Liu, J. (2022). Impact of interdisciplinary communication on emergency department throughput: A systematic review. International Journal of Nursing Studies, 125, 104112.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-20