ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการให้บริการฟันเทียมพระราชทานของผู้ป่วยโรงพยาบาลบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • วนิดา ประเสริฐศรี กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลบุรีรัมย์

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่มีอิทธิพล, การมีประสิทธิภาพ, ฟันเทียมพระราชทาน, ผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคฟัน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบของการใส่ฟันเทียมพระราชทานและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการให้บริการฟันเทียมพระราชทานของผู้ป่วยโรงพยาบาลบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยที่เข้าร่วมโครงการฟันเทียมพระราชทานปีงบประมาณ 2566 จำนวน 83 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนกันยายนถึงตุลาคม 2567 สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า T-Test และ F-test เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาเพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 72.3 เป็นผู้ป่วยที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีอายุเฉลี่ย 63 ปีของผู้ตอบแบบสอบถามที่มารับบริการ ส่วนใหญ่ใส่ฟันเทียมทั้งปาก ร้อยละ 53.0และ ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการมาใช้บริการฟันเทียม โดยภาพรวมในทุกด้าน จัดอยู่ในระดับ มากที่สุด (x ̅=4.53) โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลมากเป็นลำดับที่ 1 ได้แก่ ด้านฟันเทียมพระราชทาน จัดอยู่ในระดับที่มีคุณภาพดีเยี่ยมจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้มีการมาใช้บริการมากที่สุด และเมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นด้านเพศ และอาชีพ พบว่า มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันใน 4 ด้าน ยกเว้นด้านความรู้สึกของผู้ป่วยหลังการใส่ฟันเทียม ที่มีความคิดเห็นแตกต่างกันโดยนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 โดยด้านเพศมีค่าอยู่ที่ .015 และด้านอาชีพอยู่ที่ .018 ตามลำดับ

Downloads

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2567). โครงการฟันเทียมพระราชทานและการส่งเสริมสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ. สืบค้นจาก https://ppdental.anamai.moph.go.th/elderly/denture_select_65.php.

กัญญวัลย์ ศรีสวัสดิ์พงษ์. (2567). การทำฟันเทียมทั้งปากในผู้ป่วยสันเหงือกแบน : รายงานผู้ป่วย. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 21(1), 52-64.

ณฤดี ลิ้มปวงทิพย์. (2562). คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้ที่ใช้ฟันเทียมทั้งปากและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์, 69(4), 369-378.

ดนัย ยอดสุวรรณ. (2560). ฟันเทียมทั้งปาก 1. พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: บริษัท สุวีริยาสาส์น จำกัด.

บุษกร ธีรนุลักษณ์. (2561). การติดตามผลการใส่ฟันเทียมทั้งปากของผู้สูงอายุในโครงการฟันเทียมพระราชทานโรงพยาบาลพุทธมณฑลจังหวัดนครปฐม: 3-5 ปี ภายหลังการรักษา. วารสารแพทย์ เขต 4-5, 37(1), 22-32.

พรนภา พรชื่นชูวงศ์ และศศิอร วิทยาโกมล. (2566). อัตราการอยู่รอดของรากฟันเทียมในผู้สูงอายุในโครงการรากฟันเทียมพระราชทานเฉลิมพระเกียรติฯ โรงพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี. วารสารแพทย์ เขต 4-5, 42(1), 15-26.

พิมพ์วิภา เศรษฐวรพันธุ์, ทรงชัย ฐิตโสมกุล และไพฑูรย์ ดาวสดใส. (2557). คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุที่ใส่ฟันเทียมทั้งปากและความสัมพันธ์กับคุณภาพฟันเทียมและประสิทธิภาพการบดเคี้ยวที่ประเมินด้วยดัชนี OHIP-EDENT ในรูปภาษาไทย. วิทยาสารทันตแพทยศาสตร์, 64(1), 27-46.

ภัสรา รัตนะ. (2565). การพัฒนาระบบบริการทันตกรรมใส่ฟันเทียมที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลใกล้บ้านภายใต้รูปแบบ Huaiyot Model. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 31(2), 282-288.

วิภารัตน์ ยวดยิ่ง. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพฟันเทียมประสิทธิภาพการบดเคี้ยวและคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากกับความสุขในการใช้ฟันเทียมของผู้สูงอายุที่ใส่ฟันเทียมทั้งปาก. วารสารวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพ, 6(2), 58-75.

Adulyanon, S, & Sheiham, A. (1997). Oral Impacts on Daily Performances. Measuring oral health and quality of life. Slade GD, editor: Chapel Hill: University of North Carolina, 151-160.

Bacher co. (2004). Complete denture prosthodontic the state of art. The Journal of Prosthetic Dentistry, 92(4), 309-315.

Bassetti RG, Mericske-Stern R, Enkling N. (2016). Are there differences in the changes in oral health-related quality of life (OHRQoL)depending on the type (rigidity) of prosthetic treatment. Journal Quintessence International, 47, 749-757.

Boven, G.C., Raghoebar, G.M., Vissink, A., & Meijer, H.J. (2015). Improving masticatory performance, bite force, nutritional state and patient’s satisfaction with implant overdentures: a systematic review of the literature. Journal of Oral Rehabilitation, 42(3), 220-233.

El Maroush MA, Benhamida SA, Elgendy AA, Elsaltani MH. (2019). Residual ridge resorption, the effect on prosthodontics management of edentulous patient: an article review. Int J Sci Res Manag, 7(9),260-7.

Levin, B. (1984). Impressions for Complete Dentures. Chicago: Quintessence Publishing Co. Ltd.

Misch, C.E. (2007). Contemporary Implant Dentistry (3rd ed). St. Louis: Mosby.

Naorungroj, S. (2015). Oral Health-Related Quality of Life in the Elderly: A Review and Future Challenges in Thailand. Siriraj Medical Journal, 67(5), 248-253. Retrieved from https://he02.tci-thaijo.org/index.php/sirirajmedj/article/view/55227.

Phuengchuen, P., Tumrasvin, W., & Limpuangthip, N. (2023). Hygiene behavior of complete denture wearers and distribution of plaque on their denture’s tissue surface within three-month after denture delivery. RSU International Research Conference, 243-249. Retrieved from http://doi.org./10.14458/RSU.res.2023.52.

Tallgren, A. (2003). The continuing reduction of the residual alveolar ridges in complete denture wearers a mixed. Longitudinal study covering 25 years. The Journal of Prosthetic Dentistry, 89(5), 427-435.

Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-02-18

How to Cite

ประเสริฐศรี ว. (2025). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการให้บริการฟันเทียมพระราชทานของผู้ป่วยโรงพยาบาลบุรีรัมย์. วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา, 5(1), e271554. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjphe/article/view/271554