การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลลำพูน

ผู้แต่ง

  • ศรีวรรณ เรืองวัฒนา กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลลำพูน จังหวัดลำพูน
  • อรทัย ธรรมป๊อก กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลลำพูน จังหวัดลำพูน
  • พรธนา แก้วคำปา กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลลำพูน จังหวัดลำพูน
  • แสงอรุณ สุขสำราญ คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี แพร่

คำสำคัญ:

รูปแบบการพยาบาล, ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด, การพยาบาลแบบมุ่งเป้า 1 ชั่วโมง

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ พัฒนารูปแบบ และประเมินผลลัพธ์ของการใช้รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลลำพูน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในกลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลลำพูน ในระดับผู้บริหาร จำนวน 12 คน ระดับปฏิบัติการ จำนวน 142 คน และข้อมูลเวชระเบียนผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด จำแนกเป็นก่อนใช้รูปแบบ ระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2567 จำนวน 106 ราย และหลังใช้รูปแบบ ระหว่างเดือนมิถุนายน-สิงหาคม 2567 จำนวน 135 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบประเมินความรู้ แบบสังเกตการปฏิบัติตามแนวทางของรูปแบบ แบบบันทึกข้อมูลการติดเชื้อในกระแสเลือดจากเวชระเบียน แบบประเมินความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ค่าสถิติ Paired Samples t-test และ Fisher exact probability test

ผลการศึกษาสถานการณ์การพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดพบว่า การพยาบาลไม่เป็นแนวทางเดียวกัน การบันทึกข้อมูลผู้ป่วยไม่ครบถ้วน ประเมิน NEWS Score ไม่ถูกต้อง ไม่มีการค้นหาตำแหน่งติดเชื้อในผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงครบทุกราย รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ประกอบด้วยกิจกรรมการพยาบาลผู้ป่วยระยะแรกรับ ระยะดูแลต่อเนื่อง ระยะก่อนจำหน่าย และหลังใช้รูปแบบพยาบาลวิชาชีพมีความรู้เพิ่มสูงขึ้น สามารถปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาล ถูกต้องเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 85.99 เป็นร้อยละ 98.11 เกิดผลลัพธ์ที่ดีในการพยาบาลดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดแบบมุ่งเป้าอย่างรวดเร็วใน 1 ชั่วโมง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<.05) และพยาบาลวิชาชีพมีความพึงพอใจต่อรูปแบบอยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅=4.31, S.D.=0.36) สรุปรูปแบบที่พัฒนาขึ้นนี้ ช่วยพัฒนาความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาล และบรรลุเป้าหมายการพยาบาลดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดแบบมุ่งเป้าอย่างรวดเร็วใน 1 ชั่วโมง

Downloads

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2566). KPI 3 อัตราตายผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรง แผนการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

ธิติสุดา ชื่นใจ. (2564). การจัดการเพื่อได้รับยาปฏิชีวนะในผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดที่หน่วยตรวจฉุกเฉิน: การวิเคราะห์สถานการณ์. วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พิชญพันธุ์ จันทระ, สมพร ศรีทันดร, ฐิตินันท์ วัฒนะชัย, ณัฐพล ยุวนิช และกิตติศักดิ์ หมั่นเขตรกิจ. (2565). ผลการปฏิบัติตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดแบบมุ่งเป้าอย่างรวดเร็วใน 1 ชั่วโมงของพยาบาลวิชาชีพในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดชนิดรุนแรงที่เข้ารับการรักษาที่หน่วยงานอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า, 5(3), 68-82.

โรงพยาบาลลำพูน. (2567). ข้อมูลหน่วยเวชระเบียนและสถิติ โรงพยาบาลลำพูน ปี 2567. (เอกสารอัดสำเนา).

วิมลรัตน์ เสนาะเสียง. (2566). การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด (SEPSIS) โรงพยาบาลสมเด็จ. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 8(3), 661-667.

วันวิสาข์ สุวรรณ. (2566). ผลของการพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด หอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี. รายงานการวิจัย โรงพยาบาลวังสามหมอ จังหวัดอุดรธานี.

สมาคมเวชบำบัดวิกฤตแห่งประเทศไทย. (2558). แนวปฏิบัติของสมาคมเวชบำบัดวิกฤตแห่งประเทศไทย ปี 2558. กรุงเทพฯ: สมาคมเวชบำบัดวิกฤตแห่งประเทศไทย.

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). (2561). มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับที่ 4. กรุงเทพฯ: สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน).

อังคณา เกียรติมานะโรจน์. (2564). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลวาปีปทุม. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม, 5(9), 27-43.

อุไรวรรณ วิลัยรัตน์. (2561). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดหอผู้ป่วยในโรงพยาบาล ปทุมราชวงศา. วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการพยาบาล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Evans, L., Rhodes, A., Alhazzani, W., Antonelli, M., Coopersmith, C. M., French, C., et al. (2021). Surviving sepsis campaign: International guidelines for management of sepsis and septic shock 2021. Critical Care Medicine, 49(11), 1063-1143.

Garcia, R. A., Spitzer, E. D., Kranz, B., & Barnes, S. (2018). A national survey of interventions and practices in the prevention of blood culture contamination and associated adverse health care events. American Journal of Infection Control, 46(5), 571-576.

Hajj, J., Blaine, N., Salavaci, J., & Jacoby, D. (2018). The centrality of sepsis: A review on incidence, mortality, and cost of care. Healthcare, 6(3), 90.

Levy, M. M., Evans, L. E., & Rhodes, A. (2018). The surviving sepsis campaign bundle: 2018 update. Critical Care Medicine, 46(6), 997-1000.

Kemmis, S. & McTaggart, R. (1998). The action research planer. (3rded.). Victoria: Deakin University.

Proctor B. (2010). Training for the supervision alliance attitude, skills and intention In Fundamental Themes in Clinical Supervision. London: Routledge.

Society of Critical Care Medicine. (2021). Surviving sepsis campaign guidelines 2021. Retrieved from: https://sccm.org/Clinical-Resources/Guidelines/Guidelines/Surviving-Sepsis-Guidelines-2021

World Health Organization. (2022). WHO calls for global action on sepsis - cause of 1 in 5 deaths worldwide. Retrieved from: https://www.who.int/news/item/08-09-2022-who-calls-for-global-action-on-sepsis---cause-of-1-in-5-deaths-worldwide.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-29

How to Cite

เรืองวัฒนา ศ. ., ธรรมป๊อก อ. ., แก้วคำปา พ. ., & สุขสำราญ แ. . (2025). การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลลำพูน. วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา, 5(1), e271754 . สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjphe/article/view/271754