ความรู้ เจตคติ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตัวและควบคุมโรคไข้เลือดออก ของนักศึกษาและบุคลากรในวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • ศุภลักษณ์ ธนาโรจน์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
  • ฐิตินันท์ สามลา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
  • ณัฐพร พลยุทธ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
  • พรนภัส คำมา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
  • แพรทอง คำแก้ว วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
  • มาลาศรี ทศเจริญ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
  • สิริกร จันทร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
  • อนันตญา ช่างสลัก วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

ความรู้, เจตคติ, โรคไข้เลือดออก, พฤติกรรมการป้องกันตัวและควบคุมโรค, การระบาดของโรค

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของนักศึกษาและบุคลากรในวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี และ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของนักศึกษาและบุคลากรในวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 1-4 และบุคลากรของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี จำนวน 247 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม 2567 ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2567 เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการป้องกันตัวและควบคุมโรคไข้เลือดออก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติสหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน และไคสแควร์ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ p value<.01 ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 94.74 อายุ 18-28 ปี ร้อยละ 84.62 สถานภาพโสด ร้อยละ 88.66 และกำลังศึกษาในระดับชั้นปีที่ 1-4 ร้อยละ 84.21 ความรู้การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ระดับปานกลาง ( =11.32, S.D.=2.24) ส่วนเจตคติอยู่ในระดับที่ไม่ดี ( =3.79, S.D.=0.70) และพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก อยู่ในระดับดี ( =3.29, S.D.=0.56) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ ปัจจัยนำ คือความรู้ (rs=0.426, p<.01) และเจตคติในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก (rs0.264, p<.01) ในขณะที่ปัจจัยเอื้อ คือการได้รับการอบรมเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก และปัจจัยเสริม คือประสบการณ์การป่วยของตนเองและญาติ ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางการประเมินและปรับปรุงมาตรการป้องกันโรคไข้เลือดออกให้สอดคล้องกับสภาพจริง และสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ เพื่อส่งเสริมการควบคุมและป้องกันโรคอย่างครบวงจร

Downloads

References

กรมควบคุมโรค. (2563). แนวทางการวินิจฉัยและการดูแลผู้ป่วยโรคไข้เลือดเดงกีในผู้ใหญ่ พ.ศ. 2563 (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.

กรมควบคุมโรค. (2566). สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในประเทศไทย ปี 2566. สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/brc/news.php?deptcode=brc&news=35376&news_views=3462

เกียรติศักดิ์ คำดีราช และ วิราสิริริ์ วสีวีรสิว์. (2565). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเซกา.

นันทิตา กุณราชา, สุภาพร ตรงสกุล, วรรณรัตน์ ลาวัง, และพิษณุรักษ์ กันทวี. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับ

พฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกในกลุ่มชาติพันธุ์อาข่า อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย. เชียงรายวารสาร, 9(2), 91-103.

นรลักขณ์ เอื้อกิจ และ ลัดดาวัลย์ เพ็ญศรี. (2562). การประยุกต์ใช้แนวคิด PRECEDE MODEL ในการสร้างเสริมสุขภาพ. วารสารพยาบาลศาสตร์, 12(1), 1-12.

ชิตชบา สายใจ และ รัฐพล อ้นแฉ่ง. (2558). การพัฒนาสื่อการอบรมเพื่อป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในเขต

สายไหม กรุงเทพมหานคร. Veridian E-Journal, Silpakorn University สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 8(2), 1641-1653.

พุทธิพงศ์ บุญชู. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก: ศึกษาเปรียบเทียบ

หมู่บ้านปลอดโรค กับหมู่บ้านที่มีการระบาดของโรคในตำบลน้ำผุด อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 3(3), 79-94.

พุฒิพงศ์ มากมาย และ อมรศักดิ์ โพธิ์อ่ำ. (2566). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนตำบลเมืองเก่า จังหวัดสุโขทัย. วารสารวิชาการป้องกันควบคุมโรค สคร.2 พิษณุโลก. 10(2), 108-118.

วิทยา ศรแก้ว. (2563). พฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชน อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 3(2), 13-26.

วรวิทย์ สุขอนันต์. (2561). ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อการระบาดของโรคไข้เลือดออก. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 18(3), 50-61.

สถาบันป้องกันและควบคุมโรคเขตเมือง. (2566). กลยุทธ์การป้องกันโรคไข้เลือดออกในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันป้องกันและควบคุมโรคเขตเมือง.

อลงกฎ ดอนละ. (2562). ความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมการปฏิบัติตนในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชน อำเภอสระใคร จังหวัดหนองคาย. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10, 17(1), 43-55.

สุทธิวรรณ ทองดี, เกรียงศักดิ์ ปานมั่น และชยุตม์ พลล้ำ. (2562). การศึกษาปัจจัยเสี่ยงด้านพฤติกรรมและการป้องกันโรคในประชาชนไทย. วารสารการแพทย์สาธารณสุข, 39(2), 142-159.

สุทธิวรรณ ทองดี และ คณิน เกรียงศักดิ์. (2562). การพัฒนาความรู้ทางสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคในกลุ่มเสี่ยงในชุมชนไทย. วารสารการแพทย์สาธารณสุข, 39(2), 123-134.

สุรพล สิริปิยานนท์. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อำเภอวชิรบารมี จังหวัดพิจิตร. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม, 4(8), 85-103.

อรัญญา ชัยศิริ และ อภิญญา พูลศรี. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกในชุมชนเมืองและชนบท. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 47(3), 211-220.

อรพินท์ บัญชาวัง. (2560). ศึกษาความรู้และพฤติกรรมการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชน ตำบลหนองยองอำเภอปากคาด จังหวัดบึงกาฬ. รายงานผลการวิจัย). บึงกาฬ : โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองยอง.

Best, J. W. (1977). Research in education (3rd ed.). Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Bloom, B. S. (1968). Learning for mastery. Evaluation Comment, 1(2), 1-12.

Yamane, T. (1967). Statistics: An introductory analysis (2nd ed.). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-01-31

How to Cite

ธนาโรจน์ ศ., สามลา ฐ. . . . . . . . . . ., พลยุทธ ณ. . . . . . . . . . ., คำมา พ. . . . . . . . . . . . . ., คำแก้ว แ. . . . . . . . . ., ทศเจริญ ม. . . . . . . . . . . . ., จันทร์ ส. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . ., & ช่างสลัก อ. . . . . . . . . . . (2025). ความรู้ เจตคติ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตัวและควบคุมโรคไข้เลือดออก ของนักศึกษาและบุคลากรในวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี. วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา, 5(1), e271842 . สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjphe/article/view/271842