ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนผ่านแอปพลิเคชันไลน์ต่อความสำเร็จในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาในมารดาวัยรุ่นครรภ์แรกคลอดปกติ โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • อาทิตยา บุญธรรม หอผู้ป่วยหลังคลอด โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช
  • ขวัญจิตร สงวนโรจน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
  • ทัศณีย์ หนูนารถ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก

คำสำคัญ:

สมรรถนะแห่งตน, การเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา, มารดาวัยรุ่น, แอปพลิเคชันไลน์

บทคัดย่อ

การเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาเป็นหนึ่งในวิธีการส่งเสริมสุขภาพที่สำคัญสำหรับมารดาและทารก อย่างไรก็ตาม พบว่าอัตราการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียวในมารดาวัยรุ่นยังคงอยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะในมารดาครรภ์แรกที่คลอดปกติ การศึกษาวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบอัตราการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียวในมารดาวัยรุ่นครรภ์แรกที่คลอดปกติ ระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนผ่านแอปพลิเคชันไลน์และกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาวัยรุ่นครรภ์แรกคลอดปกติ ที่โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช ในระหว่างเดือนตุลาคม ถึงเดือนธันวาคม 2567 จำนวน 48 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 24 คน และกลุ่มควบคุม 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย คือ โปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนผ่านไลน์แอปพลิเคชันต่อความสำเร็จในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาในมารดาวัยรุ่นครรภ์แรกคลอดปกติ แบบสอบถามการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาและแบบบันทึกการติดตามทางโทรศัพท์ร่วมกับแอปพลิเคชันไลน์ นำไปตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน คำนวณหาค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 1 ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มควบคุมมีอายุเฉลี่ย 17 ปี (S.D.=1.56) และกลุ่มทดลองมีค่าอายุเฉลี่ย 16.5 ปี (S.D.=0.73) กลุ่มควบคุมมีมารดาร้อยละ 66.67 ที่ไม่มีปัญหาการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา ในขณะที่กลุ่มทดลอง ร้อยละ 70.83 ที่ไม่มีปัญหาการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา มารดาวัยรุ่นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีอัตราการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียว แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (p=.004) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนผ่านแอปพลิเคชันไลน์สามารถเพิ่มอัตราการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาในมารดาวัยรุ่นครรภ์แรกคลอดปกติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น โปรแกรมนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาในกลุ่มมารดาวัยรุ่นได้อย่างมีประสิทธิผล

Downloads

References

กรมอนามัย. (2562). แนวทางการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์กรมอนามัย.

กรมอนามัย. (2566). รายงานสถานการณ์การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์กรมอนามัย.

บรรจง พลไชย และณัติยา พรหมสาขา ณ สกลนคร. (2561). การศึกษาแนวทางการส่งเสริมสุขภาพในกลุ่มวัยรุ่น. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

โบว์ชมพู บุตรแสงดี, กรรณิการ์ กันธะรักษา, และ จันทรรัตน์ เจริญสันติ. (2014). ผลของการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนต่อ

ความสำเร็จในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียวของมารดาที่ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง. พยาบาลสารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 40(3), 1-10.

ศุทธินี รุจิระพงค์. (2562). ผลของโปรแกรมติดตามส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาผ่าน

Facebook ต่อความสำเร็จในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาอย่างเดียวนาน 12 สัปดาห์ของมารดาทำงานนอกบ้าน. วารสารการพยาบาล การสาธารณสุขและการศึกษา, 20(2), 69-81.

สมิธ พิทูรพงศ์ และธรรญธร ปัญญโสภณ. (2561). แนวทางการส่งเสริมการเลี้ยงบุตรด้วยนมแม่ในกลุ่มวัยรุ่น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุนิสา สาระวงศ์. (2565). ผลของการสนับสนุนจากครอบครัวผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในมารดาวัยรุ่น. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 37(2), 45-59.

เสาวลักษณ์ ค้าของ และมยุรี นิรัตธราดร. (2560). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของมารดาวัยรุ่นในชุมชน. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 47(1), 31-43.

Bandura, A. (1989). Social foundations of thought and action: A social cognitive theory. Prentice-Hall.

Bandura, A. (1997). Self-efficacy: The exercise of control. W.H. Freeman.

Bandura, A. (2001). Social cognitive theory: An agentic perspective. Annual Review of Psychology, 52(1), 1-26. https://doi.org/10.1146/annurev.psych.52.1.1

House, J. S. (1981). Work stress and social support. Addison-Wesley.

Krol, K. M., & Grossmann, T. (2018). Psychological effects of parenting on adolescents: An overview. Current Opinion in Psychology, 20, 55-60. https://doi.org/10.1016/j.copsyc.2018.09.001

Lowdermilk, D. L., Perry, S. E., Cashion, M. C., & Alden, K. R. (2019). Maternity and women's health care (12th ed.). Elsevier.

UNICEF. (2021). Breastfeeding recommendations. Retrieved from https://www.unicef.org

World Health Organization. (2021a). Guideline: Implementing maternal health care interventions. WHO Press.

World Health Organization. (2021b). Guidelines on infant feeding. Retrieved from https://www.who.int

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-03

How to Cite

บุญธรรม อ. ., สงวนโรจน์ ข. ., & หนูนารถ ท. . (2025). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนผ่านแอปพลิเคชันไลน์ต่อความสำเร็จในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาในมารดาวัยรุ่นครรภ์แรกคลอดปกติ โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา, 5(1), e272172. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjphe/article/view/272172