ผลของการนำโจทย์ทางจริยธรรมและกฎหมายทางการพยาบาล ต่อทักษะการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักศึกษาพยาบาล

ผู้แต่ง

  • กิติวัฒนา ศรีวงศ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยชินวัตร
  • นัฏฐธมน มัธยะจันทร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยชินวัตร

คำสำคัญ:

ทักษะการเรียนรู้แบบนำตนเอง, โจทย์ทางจริยธรรมและกฎหมายทางการพยาบาล, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทักษะการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักศึกษาพยาบาล โดยใช้โจทย์ทางจริยธรรมและกฎหมายทางการพยาบาล ดำเนินการวิจัยระหว่าง เดือนสิงหาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2567 กลุ่มตัวอย่าง คือนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา จำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการเรียนรู้รายวิชาและโจทย์ปัญหา และ 2) แบบสอบถามทักษะการเรียนรู้แบบนำตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า 1) คะแนนเฉลี่ยทักษะการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักศึกษาพยาบาลโดยรวม ก่อนและหลังเรียนรู้ อยู่ในระดับสูง ( =3.92 S.D.=0.61, ( =4.14 S.D.=0.54) 2) คะแนนเฉลี่ยทักษะการเรียนรู้แบบนำตนเองโดยใช้โจทย์ทางจริยธรรมและกฎหมายทางการพยาบาลในภาพรวม พบว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลังเรียนรู้ ไม่แตกต่างกัน (p value>.05) เมื่อพิจารณาทักษะเป็นรายด้าน พบความแตกต่าง 3 ด้าน คือ 1) ด้านการคิดริเริ่มและมีอิสระในการเรียนรู้ 2) ด้านความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเอง และ 3) ด้านความสามารถในการใช้ทักษะการเรียนรู้และทักษะการแก้ปัญหา คะแนนเฉลี่ยหลังจัดการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงให้เห็นว่า การใช้โจทย์ทางจริยธรรมและกฎหมายทางการพยาบาล ช่วยพัฒนาทักษะการเรียนรู้แบบนำตนเองในด้านการคิดริเริ่มในการเรียนรู้ของตนเอง ความรับผิดชอบและทักษะการแก้ปัญหา ซึ่งมีผลในการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ต่อไปในอนาคต และผู้เรียนยังได้เรียนรู้การวิเคราะห์และแก้ปัญหาในการปฏิบัติการพยาบาล ซึ่งช่วยเตรียมความพร้อมในวิชาชีพการพยาบาล

Downloads

References

เกียรติกำจร กุศล และทัศน์ศรี เสมียนพร. (2558). ความสามารถในการเรียนรู้แบบชี้นำตนเองในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 8(3), 127-138.

ขจิตา มัชฌิมา, เผ่าไทย วงศ์เหลา, ธนกร สุทธิสนธ์ และสมพร เทพฉิม. (2564). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 16(1), 15-30.

ขวัญเนตร ปุญญถาวร, โอภาส เกาไศยยาภรณ์ และจารุวรรณ กฤตย์ประชา. (2567). การพัฒนารายวิชาออนไลน์ระบบเปิดสำหรับมหาชนโดยบูรณาการพอดแคสต์ร่วมกับแนวคิดการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง เรื่อง การพยาบาลผู้ป่วยใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ เพื่อส่งเสริมผลฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล. วารสารสารสนเทศและการเรียนรู้, 35(1), 99-113.

จิรัชยา เจียวก๊ก. (2566). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมความสามารถการเรียนรู้แบบนำตนเองและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาการจัดการสุขภาวะชุมชน สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาพัฒนาสังคม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 46(4), 13-25.

ชญาภรณ์ เอกธรรมสุทธิ์ และเกสร สุวิทยะศิริ. (2560). การสร้างความรู้ ผ่านทักษะการคิดแก้ปัญหา. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชนนี กรุงเทพ, 33(1), 177-183.

ชุติมา รักษ์บางแหลม, วรนิภา กรุงแก้ว, ดลปภัฎ ทรงเลิศ, จตุพร ตันตะโนกิจ และนภาดล สีหพันธุ์. (2566). การพัฒนาพฤติกรรมจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลผ่านการเรียนรู้ตามสภาพจริง. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 10(8), 188-201.

ถนอมศักดิ์ ศรีจันทรา. (2567). การพัฒนาการเรียนรู้แบบนำตนเองของนิสิตในรายวิชา 361 มศว เพื่อชุมชน มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. Journal of Roi Kaensarn Academi, 9(7), 1332-1342.

ธีรพัฒน์ วงศ์คุ้มสิน และเฉลิมขวัญ สิงห์วี. (2563). การจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเป็นฐาน เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง. วารสารสังคมและมนุษยศาสตร์, 46(1), 218-253.

นภัสกรณ์ วิทูรเมธา, วิรินทร์ บินโฮเซ็น, และวิลาวรรณ เทียนทอง. (2562). การพัฒนาพฤติกรรมจริยธรรมของนักศึกษา คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต. รายงานการวิจัย คณะพยาบาลศาสตร์: มหาวิทยาลัยรังสิต, สืบค้นจาก https://rsuir-library.rsu.ac.th/bitstream/123456789/1399/1/Naphasakon%20Vitoonmetha.pdf

นฤมล มูลประเสริฐ, ฐิติพร สอนจ้อย, พิยะดา อุดเสน, พัชริดา จันทร์ฉาย, พิมประพรรณ พรมเทศ และอังศวีร์ จันทะโคตร. (2566). ทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสารสุขภาพและการพยาบาล มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 2(2), 58-72.

ปิยะ ศักดิ์เจริญ. (2558). ทฤษฎีการเรียนรู้ผู้ใหญ่และแนวคิดการเรียนรู้ด้วยการชี้นำตนเอง: กระบวนการเรียนรู้เพื่อการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต. วารสารทหารบก, 16(1), 8-13.

พระพันธวัฒน์ ธมฺมวฑฺฒโน (ภูมิรัง) และวิทยา ทองดี. (2565). การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning). วารสาร มจร อุบลปริททรรศน์, 7(1), 967-976.

เพชร รองพล, มณีนุช รองพล, จีรนันท์ แก้วมา และพัทธ์รดา ยาประเสริฐ. (2566). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้กับความพร้อมในการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ, 15(2), 255-266.

ศมนนันท์ ทัศนีย์สุวรรณ, เพ็ญพิชชา ถิ่นแก้ว, ทิพมาส ชิณวงศ์, กันตพร ยอดใชย, ปราณี คำจันทร์ และจิรานันท์ กุลทนันท์. (2565). ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบเชิงรุกรายวิชาโภชนบำบัดตามการรับรู้ของนักศึกษาพยาบาล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วารสารพยาบาลกาชาดไทย, 15(1), 235-249.

ศรินยา พลสิงห์ชาญ, อุตม์ชญาน์ อินทรเรือง และคมวัฒน์ รุ่งเรือง. (2565). ผลการจัดการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้แนวคิดจิตตปัญญาบูรณาการร่วมกับการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลักที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงในตนเอง: กรณีศึกษาการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาจริยศาสตร์และกฎหมายวิชาชีพทางการพยาบาล. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(7), 3079-3094.

โศรตรีย์ แพน้อย, สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล และอติญาณ์ ศรเกษตริน. (2566). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ, 6(1), 1-14 e261282.

สภาการพยาบาล. (2562). คู่มือส่งเสริมจริยธรรมสำหรับองค์กรพยาบาล: กลไกและการปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บริษัท จุดทอง จำกัด.

สุชีรา วิบูลย์สุข และวิรงรอง สิตไทย. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักศึกษาแพทย์ คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล. เวชบันทึกศิริราช, 10(2), 83-89.

สุนทรี เจียรวิทยกิจ และสุภามาศ ผาติประจักษ์. (2566). ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในบทเรียนออนไลน์และความพึงพอใจในการเรียนรู้แบบผสมผสานกับการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักศึกษาพยาบาลปริญญาตรีในรายวิชาพยาธิสรีรวิทยาทางการพยาบาล. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางการพยาบาล, 29(1), 117-132.

สุรีย์ จินเรือง, วิภาศิริ นราพงษ์ และปวีณภัทร นิธิตันติวัฒน์. (2561). การศึกษาที่มุ่งผลลัพธ์สาขาพยาบาลศาสตร์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 29(2), 207-216.

อรัญญา เชาวลิต และทัศนีย์ นะแส. (2559). จริยธรรมในการสอนหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 36(3), 261-270.

อัศวเดช สละอวยพร, นฤมล จันทร์สุข และมณี ดีประสิทธิ์. (2565). การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมที่พึงประสงค์ของนักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 2 โดยการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองผ่านโปรแกรมแอปพลิเคชันไลน์. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล. 28(1), 1-13.

Baker, P.D. (1987). Moral competency: An essential element in the socialization of professional nurses. Family & Community Health: The Journal of Health Promotion & Maintenance, 10(1), 8–14. https://doi.org/10.1097/00003727-198705000-00004.

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences (2nd ed). New Jersey: Erlbaum.

Field, L. (1989). An Investigation into the structure, validity, and reliability of Guglielmino’s Self-Directed Learning readiness scale. Adult Education Quarterly, 39(3), 125-139. https://doi.org/10.1177/0001848189039003001.

Garrison, D.R. (1997). Self-directed learning: Toward a comprehensive model. Adult Education Quarterly, 48(1), 18–33. https://doi.org/10.1177/074171369704800103.

Guglielmino, L.M., & Long, H.B. (2008). Why self-directed learning. Retrieved from https://www.taosinstitute.net/files/Content/5693976/Scott_International_Journal_of_Self Directed_Learning_2008.pdf.

Hu, L., Li, S., & Zhou, L. (2024). Effect of Tronclass combined with team-based learning on nursing students’ self-directed learning and academic performance: a pretest-posttest study. BMC Medical Education, 24(752), 1-7. https://doi.org/10.1186/s12909-024-05741-3.

Hwang, Y., & Oh, J. (2021). The Relationship between Self-Directed Learning and Problem-Solving Ability: The Mediating Role of Academic Self-Efficacy and Self-Regulated Learning among Nursing Students. International Journal of Environmental Research and Public Health, 18(1738), 1-9. https://doi.org/10.3390/ijerph18041738.

Knowles, M.S. (1992). Applying Principles of Adult Learning in Conference Presentations. Adult Learning, 4(1), 11-14. https://doi.org/10.1177/104515959200400105.

Sadeghi, N., Janatolamakn, M., Rezaeian, S., Rashi, M., & Khatony A. (2024). Exploring self-directed learning readiness and related factors: the role of time management skills in nursing students. BMC Medical Education, 24(1088), 1-11. https://doi.org/10.1186/s12909-024-06083-w.

Spear, G.E., & Mocker, D.W. (1984). The Organizing Circumstance: Environmental Determinants in Self-Directed Learning. Adult Education Quarterly, 35(1), 1-10. https://doi.org/10.1177/0001848184035001001

Wong, F.M.F., Tang, A.C.Y., & Cheng, W.L.S. (2021). Factors associated with self-directed learning among undergraduate nursing students: A systematic review. Nursing Education Today, 104, 1-21. https://doi.org/10.1016/j.nedt.2021.104998.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-27

How to Cite

ศรีวงศ์ ก. ., & มัธยะจันทร์ น. . (2025). ผลของการนำโจทย์ทางจริยธรรมและกฎหมายทางการพยาบาล ต่อทักษะการเรียนรู้แบบนำตนเองของนักศึกษาพยาบาล. วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา, 5(1), e273312. สืบค้น จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjphe/article/view/273312