ระดับการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมเมื่อรักษาด้วยการนวดแบบราชสำนักเพียงอย่างเดียวและประคบสมุนไพรร่วมด้วย

Main Article Content

Vadhana Jayathavaj
http://orcid.org/0000-0002-3547-667X

บทคัดย่อ

โรคข้อเข่าเสื่อมก่อให้เกิดปัญหาการเคลื่อนไหวในชีวิติประจำวัน  การศึกษาแบบกึ่งทดลองทำการเปรียบเทียบระดับการเคลื่อนไหวการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมระหว่างการนวดแบบราชสำนักเพียงอย่างเดียวกับเมื่อร่วมกับการประคบสมุนไพรอาจให้ผลการรักษาที่แตกต่างกัน  จึงทำการทดลองกับกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปที่มีอาการข้อเข่าเสื่อม อาสาสมัครเป็นผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมของโรงพยาบาลอำเภอแห่งหนึ่ง การทดลองจัดอาสาสมัครเป็น  2 กลุ่ม กลุ่มละ 15 คน รวม  30 คน 3 ครั้ง เป็นระยะเวลา 3 สัปดาห์ต่อเนื่องกัน ผลการศึกษา พบว่า การเปรียบเทียบระดับการเคลื่อนไหวก่อนและหลังการรักษาแต่ละครั้งของทั้งสองกลุ่มอาสาสมัคร คือ ตรวจขาโก่ง พับเข่าแตะหัวตะคาก วัดส้นเท้าชิดก้นย้อย วัดเส้นรอบวงขา (ใต้) ลูกสะบ้า 5 ซม. วัดเส้นรอบวงขา (เหนือ) ลูกสะบ้า 5 ซม. การเคลื่อนไหว (นอนคว่ำ) เหยียดตรง การเคลื่อนไหว (นอนคว่ำ) งอเข่า การวัดมุมข้อ (นอนหงาย) เหยียดตรง และ การวัดมุมข้อ (นอนหงาย) งอเข่าโดยการทดสอบด้วย paired sample t test กำหนดระดับความมีนัยสำคัญที่ p < 0.05 degrees of freedom = 14 พบว่า แตกต่างกันทุกรายการ  ยกเว้นการนวดราชสำนัก ก่อนและหลังการนวด การตรวจเข่าโก่ง และ การวัดมุมข้อ (นอนหงาย) เหยียดตรง ไม่พบความแตกต่าง การนวดราชสำนักร่วมกับการประคบทำให้ลดการบวมของใต้ลูกสะบ้าและเหนือลูกสะบ้าลงได้มากกว่า ทำให้สามารถมีมุมข้อ (นอนหงาย) เหยียดตรงได้มากกว่า

Article Details

How to Cite
1.
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ
Author Biography

Vadhana Jayathavaj, Faculty of Public Health and Enviromental, Pathumthani University

Head of Thai Traditional Medicine

College of Oriental Medicine