การจัดการอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อภายหลังการออกกำลังกายของประชาชน อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง -

Main Article Content

Pawipasra Sethasirichote

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Study) วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีจัดการอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อภายหลังการออกกำลังกายของประชาชน อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง ทั้งวิธีใช้ยาและไม่ใช้ยา กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกมาจากประชาชนที่มาออกกำลังกายในสวนสาธารณะเขลางค์นคร สวนสาธารณะหนองกระทิง และมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตลำปาง ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มแบบใช้กรอบเวลา (time frame sampling) ได้กลุ่มตัวอย่าง 200 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นแบ่งเป็น 4 ส่วน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า วิธีการจัดการอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหลังการออกกำลังกายที่กลุ่มตัวอย่างเลือกใช้มีทั้งวิธีใช้ยาและไม่ใช้ยา ได้แก่ การทำกายบริหารหรือยืดเหยียดกล้ามเนื้อ คิดเป็นร้อยละ 90 การใช้ยานวด คิดเป็นร้อยละ 88 และการนวดคิดเป็นร้อยละ 68 ผลลัพธ์ของวิธีการทำให้ระดับความรุนแรงของอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อลดลงในระดับเล็กน้อย ปัจจัยที่ส่งเสริมให้เลือกใช้วิธีการดังกล่าวเพราะปฏิบัติได้ด้วยตัวเองและลดอาการปวดเมื่อย ผลการศึกษาสามารถนำไปพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพหลังการออกกำลังกายเพื่อป้องกันอาการปวดเมื่อยที่เกิดจากการออกกำลังกายได้ ไม่ว่าจะเป็นแนวทางในการให้ความรู้ การให้คำแนะนำเรื่องวิธีการจัดการอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อทั้งการใช้ยาและไม่ใช้ยาที่ถูกต้อง เพื่อให้เกิดความปลอดภัย ทั้งวิธีการจัดการ ผลลัพธ์และเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้


คำสำคัญ: การจัดการอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ, ภายหลังการออกกำลังกาย   

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ