การศึกษาความต้องการใช้บริการทางการแพทย์แผนไทยของบุคลากรในมหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี

Main Article Content

พรรณภัทร อินทฤทธิ์
วรัมพา สุวรรณรัตน์
อัญชนา เขื่อนงูเหลื่อม
จารุพักตร์ กุดรังนอก
สุนิษา ชูแสง
กมลชนก พิทยภาณุ
สากีนะ บิลอาหวา

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการใช้บริการทางการแพทย์แผนไทยของบุคลากรในมหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี จำนวน 392 คน และเปรียบเทียบความต้องการจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปรโดยใช้สถิติ Mann-Whitney U Test และ Kruskal-Wallis Test ผลการศึกษาพบว่า ความต้องการใช้บริการทางการแพทย์แผนไทยของบุคลากรในมหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านการรักษาพยาบาลมีความต้องการมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค ด้านฟื้นฟูสุขภาพ และด้านการวินิจฉัยโรค เมื่อจำแนกความต้องการตามปัจจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างช่วงอายุและรายได้ที่ต่างกันมีความต้องการใช้บริการทางการแพทย์แผนไทยทั้ง 4 ด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ระดับการศึกษาและอาชีพที่ต่างกันมีความต้องการใช้บริการทางการแพทย์แผนไทยทั้ง 4 ด้านไม่แตกต่างกัน เพศต่างกันมีความต้องการใช้บริการทางการแพทย์แผนไทยไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วนความต้องการทั่วไปในการใช้บริการสถานบริการทางการแพทย์แผนไทยทั้ง 5 ด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านค่าใช้จ่ายมีความต้องการสูงสุด รองลงมาคือ ด้านบุคลากร ด้านสถานที่ ด้านการบริการ และด้านเวลาให้บริการ จากข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าการบริการทางการแพทย์แผนไทยเป็นที่ต้องการเป็นอย่างมาก ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปเป็นแนวทางในการเปิดสถานบริการทางการแพทย์แผนไทยที่มีสภาพแวดล้อมคล้ายคลึงกับมหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรี ดังนั้นจึงควรทำการศึกษาความต้องการใช้บริการทางการแพทย์แผนไทยในบริบทสังคมอื่น เช่น แหล่งนิคมอุตาสาหกรรม สังคมเมืองหลวง สังคมชนบท เป็นต้น เพื่อนำข้อมูลความต้องการไปใช้ในการเปิดหรือพัฒนาสถานบริการทางการแพทย์แผนไทยที่มีประสิทธิภาพต่อไป


 

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ