การศึกษาโอกาสในการพัฒนาแนวเวชปฏิบัติการรักษาอาการเลือดลมแปรปรวนในปัจฉิมวัยด้วยหัตถเวช
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโอกาสการพัฒนาแนวเวชปฏิบัติการรักษาอาการเลือดลมแปรปรวนในปัจฉิมวัยด้วยหัตถเวช โดยการศึกษาจากแนวเวชปฏิบัติการรักษาโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต นิ้วล็อก ไหล่ติด ทางการแพทย์แผนไทยและจากการถอดประสบการณ์การรักษาอาการเลือดลมแปรปรวนในปัจฉิมวัยจากอาจารย์แพทย์แผนไทยและแพทย์แผนไทยวิชาชีพที่ให้การรักษาผู้ป่วย ณ โรงพยาบาลสาธิตการแพทย์แผนไทย จำนวน 20 คน โดยการสัมภาษณ์ การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสนทนากลุ่ม (Focus group)
ผลการศึกษาพบว่าแนวเวชปฏิบัติการรักษาอาการเลือดลมแปรปรวนในกลุ่มปัจฉิมประกอบด้วยรายละเอียดดังนี้ 1.อาการบ่งชี้ของอาการเลือดลมแปรปรวนในปัจฉิมวัยได้แก่ 1.1อาการครั่นเนื้อครั่นต้ว1.2อาการเหงื่อซึมตามตัว 1.3อาการวิงเวียนศีรษะ โดยต้องมีอาการอย่างน้อย 2 ใน 3 อาการบ่งชี้ 2. สาเหตุเกิดจากความเสื่อมของร่างกายและการแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศในช่วงก่อนฝนตก3.การตรวจวินิจฉัยด้วยกรรมวิธีทางการแพทย์แผนไทย4. โอกาสการรักษาโดยเห็นผลการรักษาถึงร้อยละ 80 5.การรักษาด้วยหัตถเวช (การรักษาด้วยมือ)6.เงื่อนไขในการรักษา ได้แก่ 6.1ต้องมารับการรักษาต่อเนื่องสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เป็นระยะเวลา 2 เดือน 6.2ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์แผนไทยอย่างเคร่งครัด
อย่างไรก็ตาม การศึกษานี้เป็นเพียงการศึกษาถึงโอกาสการพัฒนาแนวเวชปฏิบัติการรักษาอาการเลือดลมแปรปรวนในปัจฉิมวัยซึ่งได้จากการถอดประสบการณ์การรักษาโรคของแพทย์แผนไทยวิชาชีพเฉพาะกลุ่มเท่านั้น ดังนั้นควรมีการศึกษาผลการนำแนวเวชปฏิบัติไปใช้กับกลุ่มผู้ป่วยปัจฉิมวัยในเชิงปริมาณที่เพิ่มขึ้นเพื่อให้แพทย์แผนไทยนำไปใช้เป็นแนวทางในการรักษาอาการเลือดลมแปรปรวนในปัจฉิมวัยต่อไป