ผลการนวดและประคบเต้านมเพื่อกระตุ้นการไหลของน้ำนมในมารดาหลังคลอดโรงพยาบาลภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

อมรินทร์ ชะเนติยัง

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการนวดและประคบเต้านมเพื่อกระตุ้นการไหลของน้ำนมในมารดาหลังคลอดโรงพยาบาลภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง 60 รายแบ่งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ตามเกณฑ์การคัดเข้าร่วมงานวิจัยได้แก่ คลอดปกติ อยู่ระหว่างพักฟื้น 3 วัน หัวนมปกติ และไม่แพ้หรือมีอาการแทรกซ้อนจากการใช้สมุนไพร กลุ่มทดลองได้ใช้โปรแกรมนวดและประคบเต้านมใน 6, 12, 18, 30 ชั่วโมงหลังคลอด แต่ละกลุ่มได้รับการควบคุมความถี่ที่ลูกดูดนมและปริมาณน้ำที่มารดาดื่ม รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม จำนวนครั้งที่ลูกดูดนม และแบบประเมินการไหลของน้ำนม 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและ Independent Sample T-test ผลการศึกษาพบว่า ร้อยละ 65 ของกลุ่มทดลองมีน้ำนมเริ่มไหลภายใน 6 ชั่วโมงหลังคลอด ในขณะที่กลุ่มควบคุมมีเพียงร้อยละ 10 ค่าเฉลี่ยคะแนนระดับการไหลของน้ำนมในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ P-value < 0.001 ทุก 6, 12, 18, 30 ชั่วโมงหลังคลอด ดังนั้นจึงควรสนับสนุนให้มีการจัดโปรแกรมนวดและประคบเต้านมสำหรับมารดาหลังคลอดเพื่อกระตุ้นการไหลของน้ำนม และขยายเครือข่ายสู่สถานบริการทางสุขภาพอื่นต่อไป

Article Details

How to Cite
1.
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ