ความพึงพอใจของมารดาหลังคลอดต่อการบริบาลมารดาหลังคลอดด้วยผดุงครรภ์แผนไทย ในชุมชนป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง

Main Article Content

กุสุมาลย์ น้อยผา

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนา  (Descriptive research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลการตั้งครรภ์ และประเมินระดับความพึงพอใจของมารดาหลังคลอดที่เข้าร่วมโครงการการบริบาลมารดาหลังคลอดด้วยผดุงครรภ์แผนไทยในชุมชนป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในวิจัยครั้งนี้เป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง คือ มารดาหลังคลอดที่เข้าร่วมโครงการ ใน 3 ปีงบประมาณ (พ.ศ. 2559  พ.ศ. 2560  พ.ศ. 2561) จำนวน 176 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่  ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ paired t-test ผลการวิจัยพบว่า มารดาหลังคลอดที่เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจในการให้บริการในระดับมากที่สุด ทั้ง 3 ปีงบประมาณ (พ.ศ. 2559: 4.56±0.16  พ.ศ. 2560: 4.59±0.14  และ พ.ศ. 2561: 4.66±0.12)  โดยพึงพอใจด้านการประคบสมุนไพรมากที่สุด ปัจจัยส่วนบุคคลของมารดาหลังคลอดที่ต่างกันส่งผลต่อความพึงพอใจต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 และเมื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจในด้านต่างๆ ของมารดาหลังคลอดที่เคยรับบริการบริการมารดาหลังคลอดและไม่เคยได้รับบริการมาก่อน พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่อย่างไรก็ดี พบว่ามารดาหลังคลอดที่เข้าร่วมโครงการบริบาลมารดาหลังคลอดด้วยการผดุงครรภ์แผนไทยมีจำนวนมากขึ้นทุกปี (พ.ศ. 2559: 37 คน  พ.ศ. 2560: 56 คน   และ พ.ศ. 2561: 83 คน)  ดังนั้นควรส่งเสริมให้มีบริการการบริบาลมารดาหลังคลอดด้วยผดุงครรภ์แผนไทยในชุมชนต่อไป

Article Details

How to Cite
1.
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ