ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรป้องกันโควิด 19 ของประชาชนในอำเภอเมือง จังหวัดกระบี่

Main Article Content

กุสุมาลย์ น้อยผา
ปัชชาพร ราวียา
วิทวัส หมาดอี
พิมพ์วิภา เกิดสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรป้องกันโควิด 19 2) ระดับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรป้องกันโควิด 19 และ 3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรป้องกันโควิด 19 ของประชาชนในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ กลุ่มตัวอย่างคือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ ที่มีอายุระหว่าง 20-59 ปี จำนวน 414 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน


ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยการใช้สมุนไพรป้องกันโควิด 19 ประกอบด้วยปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน ปัจจัยนำ ได้แก่ ความรู้ ทัศนคติ และการรับรู้ประโยชน์ ปัจจัยเอื้อ ได้แก่ ช่องทางการได้มาซึ่งสมุนไพร ค่าใช้จ่ายหรือราคาที่ได้มาซึ่งสมุนไพร รูปแบบสมุนไพร และปัจจัยเสริม ได้แก่ การเปิดรับข้อมูลข่าวสารจากสื่อบุคคล สื่อเฉพาะกิจ สื่อมวลชน ระดับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรป้องกันโควิด 19 อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 85.02 โดยกลุ่มตัวอย่างมีการดื่มหรือรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของขิงเพื่อเสริมภูมิคุ้มกันและป้องกันโรคโควิด 19 มากที่สุด ร้อยละ 97.83 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรป้องกันโควิด 19 ได้แก่  เพศ อายุ รายได้ ความรู้ ทัศนคติ การรับรู้ประโยชน์ รูปแบบสมุนไพร ค่าใช้จ่ายหรือราคาในการได้มาซึ่งสมุนไพร การเปิดรับข้อมูลข่าวสารจากสื่อบุคคล สื่อเฉพาะกิจและสื่อมวลชน ดังนั้น โดยสรุปการให้ข้อมูลเพื่อให้ประชาชนรับรู้ประโยชน์และวิธีการใช้สมุนไพรที่ถูกต้องจึงมีความสำคัญ เพื่อให้เกิดพฤติกรรมการป้องกันโควิด 19 และนำมาสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดี

Article Details

How to Cite
1.
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ