การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดใบมะขามที่ได้จากการสกัดด้วยน้ำและเอทานอล

Main Article Content

ธันทิชา ชะโลธาร
สรรใจ แสงวิเชียร
ศุภะลักษณ์ ฟักคํา
กริยาภา หลายรุ่งเรือง
ปิยะนุช ทิมคร
เจมส์ พึ่งผล

บทคัดย่อ

การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดใบมะขามด้วยการสกัดด้วยน้ำ การสกัดด้วยเอทานอล 70%และเอทานอล 95% เป็นการศึกษาเพื่อนำข้อมูลมาพัฒนาตำรับน้ำมันมะขามของวิทยาลัยการแพทย์แผนไทย
อภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งมีส่วนประกอบของใบมะขามเป็นยาหลักมีสรรพคุณในการช่วยบรรเทาอาการปวดตามกล้ามเนื้อ จึงนำใบมะขามสดมาสกัดด้วยตัวทำละลายที่แตกต่างกัน นำสารสกัดทั้งหมดมาศึกษาฤทธิ์
การต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH และ FRAP รวมถึงหาปริมาณสารกลุ่มฟีนอลิกด้วยวิธี Folin-Ciocalteuการศึกษาพบว่า การสกัดใบมะขามด้วยน้ำให้สารสกัดมากที่สุด (ร้อยละ 5.857)  สารสกัดของใบมะขามที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงสุดด้วยวิธี DPPH คือ สารสกัดเอทานอล 70%ของใบมะขาม (EC50± SEM = 13.42±0.54 µg/ml) ซึ่งพบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระมากกว่าสารมาตรฐาน สารสกัดของใบมะขามที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงสุดด้วยวิธี FRAP คือ สารสกัดเอทานอล 95% (FRAP value = 203.42±0.64 mgFe2+/gextract และ TEAC value = 95.78±0.28 mgTrolox/gextract) และสารสกัดเอทานอล 70% ของใบมะขามมีปริมาณของสารฟีนอลิกรวมสูงที่สุด (136.64±3.55 mg GAE/gextract) จากการศึกษาพบว่าการสกัดใบมะขามด้วยตัวทำละลายต่าง ๆ มีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระและมีปริมาณฟีนอลิกรวม อย่างไรก็ตามควรมีการศึกษาฤทธิ์อื่น ๆ เพิ่มเติมรวมถึงการศึกษาทางคลินิกต่อไป

Article Details

How to Cite
1.
บท
นิพนธ์ต้นฉบับ